HACK#1 การตั้งค่า Preference

การปรับเปลี่ยนค่า (customize) เพื่อใช้ในการสืบค้นใน Google

จากนี้ไปคุณสมบัติ Preference ใน Google จะทำให้คุณสามารถที่จะกำหนดการสืบค้นได้อย่างง่ายๆและได้ผล ดังนี้

การตั้งค่าภาษา(Language)
คุณ สามารถเลือกภาษาที่ต้องการได้ ซึ่งจะมีผลทำให้ข้อมูลใน Web Page เปลี่ยนตามไปตามภาษาที่คุณเลือก นับตั้งแต่ภาษา African จนกระทั่งถึงภาษา Welsh พร้อมด้วยลูกเล่นอย่างอื่นอีกมาก แต่จงระวังว่าอย่านำไปสับสนกับภาษาที่ใช้ในการสืบค้น เพราะภาษาสำหรับการสืบค้นคือภาษาที่ Google ใช้สำหรับการจัดทำอินเด็กซ์ คุณสามารถเลือกการแสดงผลให้อยู่ในภาษาใดๆก็ได้ เช่น ภาษาจีนกับญี่ปุ่น ภาษาจีนกับฝรั่งเศส หรืออาจเป็นเยอรมันกับสเปน แล้วแต่ความต้องการของคุณ ดังตัวอย่างในภาพ 1-1

ภาพ 1-1 Web Page หน้าที่เแสดงเครื่องมือเกี่ยวกับภาษา

การตั้งค่า Filter
SafeSearch ของ Google ทำให้คุณมีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่ไม่ต้องการ หรือเป็นส่วนที่เนื้อหาไม่เหมาะสมได้ แต่ถ้าคุณไม่กำหนดเอาไว้ ตัวเลือกเริ่มต้นคือไม่ใช้ SafeSearch ถ้าคุณใช้ค่ากำหนดของ Filter ในระดับกลาง (moderate filtering) SafeSearch จะกรองเฉพาะภาพให้เท่านั้น แต่ไม่กรองเนื้อหา ส่วนการเลือกค่ากำหนดในระดับสูง (Strict Filtering) จะกรองทั้งเนื้อหาและภาพ

การกำหนดจำนวนของผลลัพธ์
ปกติ Google จะแสดงผลลัพธ์ 10 รายการต่อหนึ่งหน้าเท่านั้น คุณสามารถดูหน้าต่อไปได้โดยคลิกที่หมายเลขหน้าภายใน Web Link “Result Page : 1 2 3” ซึ่งอยู่ด้านล่างของแต่ละหน้า หรือคลิกที่ ปุ่ม “Next” ก็ได้
นอก จากนี้ยังสามารถที่จะระบุจำนวนรายการผลลัพธ์ของการค้นหาที่ต้องการในหนึ่ง หน้าได้ด้วย (เช่น 20, 30, 50 หรือ 100 รายการต่อหน้า เป็นต้น) ทั้งยังสามารถที่จะเลือกให้ผลลัพธ์ปรากฎในหน้าต่าง Browser (browser window) เดิม หรือจะให้เปิดหน้าต่าง Browser อันใหม่ขึ้นมาแสดงผลแทนก็ได้

ค่ากำหนดสำหรับการสืบค้นเพื่อการทำวิจัย
วิธี ที่ดีที่สุดสำหรับการสืบค้นเพื่อการทำวิจัยก็คือกำหนดให้มีจำนวนผลลัพธ์มาก ที่สุดในหนึ่งหน้า เพราะงานลักษณะนี้มักจะเป็นการสืบค้นบทความซึ่งเป็นตัวหนังสือซะเป็นส่วน ใหญ่ ดังนั้นการโหลดผลลัพธ์เป็นสิบหรือเป็นร้อยรายการก็ใช้เวลาไม่แตกต่างกันนัก ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีหน่วยความจำสูงๆ ควรให้แสดงผลด้วยการเปิดหน้าต่าง Browser ขึ้นหน้าใหม่อีกอัน จะทำให้คุณได้หน้าจอที่แสดงผลแยกต่างหาก โดยไม่ปะปนกับหน้าจอที่คุณกำลังทำงานค้างอยู่ ซึ่งช่วยลดสับสนให้คุณได้
หาก คุณจะงดการใช้ Filter หรือลดระดับค่ากำหนดของ Filter ให้อยู่ในระดับกลางได้ก็อาจจะเป็นการดีกว่า เพราะการกรองเนื้อหาหรือข้อมูลต่างด้วยคอมพิวเตอร์นั้นมักไม่สมบูรณ์แบบนัก และในบางครั้งอาจถึงกับทำให้คุณพลาดข้อมูลที่ดีๆไปเลยก็ได้โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งในกรณีที่คุณกำลังสืบค้นหาคำบางคำที่อาจจะถูก Filter ดักเอาไว้ได้โดยง่าย เช่นคำว่า “breast cancer” เป็นต้น

หากคุณไม่มี ความจำเป็นจะต้องแสดงผลลัพธ์ด้วยภาษาเดียวอยู่ตลอดเวลาแล้วละก็ ขอแนะนำว่าไม่ควรตั้งค่ากำหนดสำหรับภาษา (language preference setting) สำหรับการสืบค้นที่เป็นงานวิจัยเอาไว้ แต่ควรเลือกเปลี่ยนภาษาด้วยการใช้ Google Language Tool แทนเมื่อต้องการจะดีกว่า
จากการที่ Google มีทั้งการสืบค้นอย่างง่าย (basic search) การสืบค้นขั้นสูง (advanced search) และการสืบค้นแบบกำหนดค่า preference ได้เพียงเท่านี้คุณก็จะมีเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการค้นหาสิ่งที่ต้องการ ไว้พรั่งพร้อมแล้ว

  • Tip ถ้าคุณไม่ยอมรับให้มีการใช้คุ๊กกี้ (cookie – ไฟล์ขนาดเล็กที่เก็บข้อมูลการใช้งานอินเตอร์เน็ต ที่สร้างโดยเซิร์ฟเวอร์ แล้วเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ) ในเครื่องของคุณ การกำหนดค่า Preference ใน Google ก็จะไม่ได้ผลเท่าใดนัก
    เพราะคุณจะต้องกลับมากำหนด ค่าใหม่ทุกครั้งที่คุณเปิดใช้ Browser และหากคุณไม่สามารถใช้งานคุ๊กกี้ได้ แต่ทว่าต้องการกำหนด Preference เหมือนเดิมทุกครั้ง ให้เลือกใช้แบบฟอร์มการสืบค้นสำหรับตัวคุณเอง (customized search form) แทนจะดีกว่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘