สูตรการมองหาหุ้นน้ำดีแบบ C-A-N-S-L-I-M

เอาบทความของคุณ วิบูลย์ พึงประเสริฐ เป็นวิธีการและแนวทางการลงทุนของวิลเลี่ยม โอนิล โดยผมตัดเอาเฉพาะใจความในส่วนวิธีการลงทุนมาเก็บไว้
แนวคิดที่สำคัญในการลงทุนคือ “มองหาหุ้นที่โตเร็วที่มีศักยภาพในการที่ราคาจะพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง” นั้นคือ ซื้อหุ้นเมื่อบริษัทแข็งแกร่ง ขายออกเมื่อบริษัทอ่อนแอลงเขาแนะนำนักลงทุนให้ใช้แนวทาง 7 ประการในการลงทุน โดยมีตัวย่อ C-A-N-S-L-I-M ดังนี้


C = ผลกำไรไตรมาสก่อน (Current quarterly earnings) มองหาบริษัทที่เพิ่งประกาศผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 40-500%
A = กำไรต่อปีเพิ่มขึ้น (Annual earnings increases) มองหาบริษัทที่มีความเติบโตติดต่อกัน 5 ปี โดยมีอัตราเติบโตที่ไม่ต่ำกว่า 25% ต่อปี ถ้าหุ้นมีลักษณะอย่างนี้เราไม่จำเป็นต้องสนใจ P/E Ratio ซึ่งช่วงของ P/E อาจจะอยู่ที่ 20 ขึ้นไป
N = สินค้าใหม่ ทีมบริหารใหม่ จุดสูงสุดใหม่ (New products, new management, new highs) หุ้นที่ดีมักจะมีเรื่องราวใหม่ๆ อยู่เบื้องหลังมัน เช่น สินค้าใหม่ที่น่าสนใจ หรือ ผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดจุดสูงสุดใหม่
S = อุปสงค์ และ อุปทาน (Supply and demand) หากหุ้นที่มีขนาดเล็กมีปริมาณการซื้อขายสูงๆ จะทำให้โอกาสที่ราคาหุ้นจะถูกขับเคลื่อนสูงขึ้นได้
L = ผู้นำ และ ผู้ตาม (Leaders and laggards) เลือกลงทุนในหุ้นที่มีความเข้มแข็งในอันดับต้นของหมวดนั้นๆ สัก 2-3 บริษัท หุ้นเหล่านี้มักจะปรับตัวดีกว่าหุ้นอื่นๆ ในหมวดเดียวกันในอัตรา 80-90% ภายใน 12 เดือน อยู่ให้ห่างหุ้นที่ปรับตัวแย่ลงในระยะ 7 เดือน
I = ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนสถาบัน (Institutional sponsorship) หาให้ได้ว่าหุ้นตัวใดที่นักลงทุนสถาบันนิยมซื้อ หากเป็นหุ้นที่มีผลตอบแทนดีและนักลงทุนสถาบันยังมีอยู่น้อย เราอาจจะนำมาเป็นหุ้นที่เราจะเข้าซื้อ
M = ทิศทางของตลาด (Market direction) ตรวจสอบตลาดทุกวันเพื่อหาสัญญาณของการปรับตัวลง และให้ระวังการเข้าซื้อในขณะนั้น เขาแนะนำให้ทำการขายหุ้นตัดขาดทุนเมื่อหุ้นนั้นตกลงต่ำกว่า 7-8% จากราคาที่ซื้อมาโดยไม่ต้องมีคำถาม และให้ขายหุ้นที่ขึ้นไม่ถึง 20% ภายใน 13 สัปดาห์ ให้ถือหุ้นที่ขึ้นเกิน 20% ภายใน 4-5 สัปดาห์ หุ้นพวกนี้มักจะเป็นหุ้นที่ทำกำไรมากที่สุด ในกรณีที่หุ้นที่ซื้อมาและมีการปรับตัวขึ้น 25% อย่างรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าอาจจะมีข่าวดีทำให้นักลงทุนในตลาดแห่กันเข้าเก็บหุ้นอย่างเร่งร้อน เราควรรีบทำกำไรเช่นเดียวกัน

ผลจากการทดลองเอาวิธีการ C-A-N-S-L-I-M มาทดลองเลือกหุ้น ผมได้หุ้นมาจำนวนหนึ่ง แต่ข้อจำกัดยังคงเป็นที่การประเมินโดยเฉพาะ ผู้นำ และ ผู้ตาม (L) เพราะบางบริษัทขนาดเล็กๆ การหาข้อมูลขององค์กรแบบละเอียดลึกซึ้งนั้นทำได้ยาก นอกจากจะได้เข้าไปสัมผัสกับผู้นำหรือเข้าไปพูดคุยกับพนักงานภายในองค์กร จากการประเมิน ผมพบว่าข้อดีนั้นคือการผสานความมั่นใจว่าเราจะเฟ้นหาหุ้นที่มีพื้นฐานดี ในด้านองค์กร สินค้า ผลประกอบการ และราคาที่สอดคล้องกับสภาพของตลาด ซึ่งจะสะท้อนได้ถึงการกำหนดจังหวะการเข้าซื้อที่จะทำให้เราเพิ่ม MOS ได้มากขึ้น

การหาหุ้นที่ดีได้พบเปรียบเสมือนการเจอกับเพชรเม็ดงามในท้องทะเลทราย ซึ่งแน่นอนว่ากว่าจะหาเจอคุณต้องพยายามแล้วพยายามอีก เพื่อทำให้ได้ครอบครองสิ่งมีค่าซึ่งจะเราไปสู่อิสระภาพทางการเงิน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘