การวิเคราะห์เชิงตัวเลข

หลังจากหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา เราได้คุยหรือดูกันในเรื่องของการประเมินวิเคราะห์บริษัทเชิงคุณภาพหรือ Qualitative Analysis กันมาแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องของพื้นฐานของตัวบริษัทเอง ว่ามีสินค้า ผลิตภัณฑ์ และ/หรือ บริการอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อใครบ้าง มีลูกค้าเป็นกลุ่มไหน การตลาดเป็นอย่างไร มีการดำเนินกิจการอย่างไร มีการบริหารจัดการที่ดี มีความสามารถ โปร่งใสเพียงใด ต่อไปนี้จะมาดูกันทางด้าน Quantitative Analysis กันบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของตัวเลข โดยจะเน้นหนักไปในเรื่องของตัวเลขทางการเงินครับ

หมายเหตุ
ผมอยากจะให้หมายเหตุไว้ ณ ที่นี้สักนิดหนึ่งว่า การวิเคราะห์ทางด้านตัวเลขเหล่านี้ สามารถที่จะนำไปประยุกต์ในการวิเคราะห์ในด้านพื้นฐานของบริษัทด้วยก็ได้ เพียงแต่เรามุ่งเป้าหมายไปที่ตัวเลขส่วนที่ไม่ใช่การเงินเช่น จำนวนลูกค้าที่เพิ่่มมากขึ้น การขยายตัวขอบจำนวนสาขา จำนวนของส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง การขยายตัวของตลาดโดยรวม หรือการเปลี่ยนแปลงของดัชนีใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินธุรกิจ หรือสิ่งที่แทบจะจับต้องไม่ได้เช่นความนิยมในสินค้า ยี่ห้อ ความชอบ โดยการแปลงเป็นตัวเลขก่อนแล้วจึงทำการวิเคราะห์ เป็นต้น

สำหรับบางคนแล้ว การเรียนรู้ทางด้านตัวเลข ทางด้านบัญชีอาจจะไม่ใช่เรื่องน่าสนใจ น่าอภิรมย์นัก แต่กับงานทางด้านการลงทุนแล้ว การที่สามารถเข้าใจงบการเงินต่างๆ ของบริษัทจดทะเบียน เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในการที่จะสามาารถรู้ได้ว่า บริษัทใดเข้าข่ายที่จะเป็นบริษัทที่ดีได้ และในทางกลับกันก็คือสามารถบอกพวกเรานักลงทุนได้ว่าบริษัทใดที่เราควรจะหลีก เลี่ยงในการลงไว้ก่อน (ไม่ใช่ ลงทุนด้วยไปก่อน นะครับ ประเดี๋ยวจะแย่) บางที การวิเคราะห์เชิงตัวเลขแบบนี้ สามารถทำได้กระทั่งถึง (ความน่าจะเป็นของ) ระดับธรรมดาภิบาล ว่าบริษัทนี้มีความโปร่งใสอยู่ในระดับใด เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘