การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

บ้าน คือวิมานของเรา เป็นดังว่านี้แหละครับ คนเราจะต้องมีที่อยู่อาศัย มีบ้านหรือคอนโด อะไรก็ได้ล่ะครับไว้พักอาศัยหลับนอน ไม่ว่าจะกับครอบครัวหรือว่าอยู่เพียงลำพังคนเดียว และโดยทั่วไปแล้ว ราคาของบ้านและที่ดินก็มักจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป (อาจจะเป็นเพราะว่า จำนวนประชากรมากขึ้น หรือเกิดการย้ายถิ่นฐานจากบริเวณวงกว้าง เพื่อเข้ามาอยู่ในบริเวณที่จำกัด) แต่ถ้าเราจะซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร ก็จะต้องนึกถึงสิ่งต่างๆ บางเรื่องต่อไปนี้ไว้ในใจเช่นกัน

ตัวอย่างหนึ่งก็คือ แม้ว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์โดยมากแล้ว จะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ก็เป็นไปได้ที่ราคาจะลดลงเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ลงทุนได้ซื้ออสังหาริมทรัพย์เข้ามาในราคาที่สูงเกิน จริง หรือว่าเป็นช่วงของฟองสบู่ และการที่มีที่ดินมากกว่าที่จำเป็นต้องอยู่อาศัย ผู้ลงทุนก็จะต้องจ่ายเงินภาษีด้วย และถ้าให้คนอื่นเช่า ก็จะต้องคอยดูแลผู้เช่า คอยเก็บค่าเช่าตลอดจนซ่อมแซมตัวบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นๆ และท้ายที่สุดก็คืออสังหาริมทรัพย์มีสภาพคล่องที่ต่ำมาก และไม่สามารถแบ่งขายเป็นส่วนๆ เล็กๆ ได้ (เช่น ซื้ออพาร์ทเมนต์มาให้เช่า แต่ว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงิน ก็ไม่สามารถจะแบ่งขายอพาร์ตเม้นท์ออกไป สองห้อง ได้ เป็นต้น)

การฝากเงินในบัญชีเงินฝากธนาคาร

อย่างที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า การฝากเงินในบัญชีเงินฝาก จะเป็นสิ่งที่ได้ผลตอบแทนต่ำมาก แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงที่ต่ำมากคือตัวเงินต้นก็น่าจะสามารถคงอยู่ได้ การฝากเงินไว้ถือว่าเป็นการเก็บเงินไว้เผื่อยามฉุกเฉินมากกว่า แต่ไม่ใช่วิธีการลงทุนที่ดี เพราะบางที (อย่างในปัจจุบันนี้ ปี 2552-2554) ผลตอบแทนที่ได้ก็ยังแพ้่อัตราเงินเฟ้อด้วยซ้ำไป

โดยสรุปแล้ว แม้ว่าการลงทุนในหุ้นอาจจะต้องการการดูแลจากผู้ลงทุน และมีงานที่ผู้ลงทุนจะต้องศึกษา ทำความเข้าใจ และตัดสินใจ และมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในอีกหลายๆ ด้าน แต่นักลงทุนก็ต้องไม่ลืมว่า การลงทุนในหุ้นเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงมาก และในตอนต่อไป เราจะสามารถคำนวณได้ว่า ในระยะยาวแล้ว อัตราผลตอบแทนที่มากกว่าเพียงเล็กน้อยในแต่ละปี สามารถสร้างเป็นเงินก้อนจำนวนใหญ่มากให้กับนักลงทุนได้เลยทีเดียว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘