การวิเคราะห์เชิงตัวเลข 8

- กำไรขั้นต้น
ปกติแล้ว เราจะไม่เห็นตัวเลขนี้ในงบกำไรขาดทุนหรอก แต่ก็สามารถคำนวณเอาเองได้ไม่ยาก แค่เอารายได้ (Revenue) ลบด้วยรายจ่ายจากต้นทุนสินค้าและบริการ (Cost of good sold) กำไรขั้นต้นนี้จะบอกให้เรารู้ถึงกำไรที่ได้ หรือส่วนต่างจากการทำกิจการของบริษัท ซึ่งสามารถคำนวณเป็น อัตรากำไรขั้นต้น (ในรูปร้อยละ) อีกด้วย ซึ่งยิ่งมาก ยิ่งดี ตัวอย่างเช่น บริษัทจ่ายค่าต้นทุนซื้อปูนมาขายเป็นเงิน 9 ล้านบาท และขายได้เป็นเงิน 12 ล้านบาท จะได้กำไรขั้นต้น 3 ล้านบาท และคิดเป็นอัตรากำไรขั้นต้น 33% เป็นต้น อัตรากำไรขั้นต้นนี้ เป็นสิ่งที่บอกความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจด้วย ถ้าธุรกิจมีการแข่งขันสูง และ/หรือ กิจการนั้นไม่มีความแตกต่างที่ลูกค้าคิดเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการ อัตรากำไรขั้นต้นจะไม่สูงนัก บางบริษัทที่มีอัตรากำไรขั้นต้นเพียง 10-15% นับว่าอันตรายมาก เนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินเปลี่ยนแปลงไป ราคาวัตถุดิบเปลี่ยนไป และไม่สามารถผลักภาระไปให้ลูกค้าได้ทันที ก็อาจจะพลิกจากกำไรเป็นขาดทุนได้ เรื่องนี้มีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่บ่อยๆ ครับ

- รายได้หรือกำไรจากการดำเนินงาน
บางคนบอกว่านี่คือตัวเลขที่สำคัญที่สุดที่จะบอกความสามารถจริงๆ ของบริษัท รายได้จากการดำเนินกิจการสามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งคือกำไรจากการดำเนิน กิจการ คำนวณได้จากส่วนต่างของรายได้ (Revenue) ลบด้วยต้นทุนสินค้าและบริการ (Cost Of Good Sold), และค่าใช้จ่ายทุกอย่าง (ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร, ค่าเสื่อมราคา, ค่าตัดจำหน่าย, รายจ่ายในการปรับโครงสร้าง, และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ) รายได้จากการดำเนินงานนี้เป็นตัวชี้วัดกำไรและความสามารถในการทำกำไร (หรือในทางตรงกันข้าม คือการขาดทุน) ของบริษัทในการดำเนินกิจการหลักของบริษัท การได้บางทีเราจะเรียกรายได้จากการดำเนินงานนี้ว่า รายได้/กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (EBIT - Earning Before Interest and Taxes) เนื่องจากว่ารายจ่ายพวกดอกเบี้ยจ่ายและภาษี ไม่ใช่รายการที่เกิดจากการดำเนินงาน รายได้ที่เป็น EBIT นี้ เป็นตัวเลขที่ชัดเจนว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้เท่าไรถ้าสมมติว่าบริษัทไม่ มีดอกเบี้ยจ่าย (คือโดยประมาณว่าไม่มีหนี้สินระยะยาว) และไม่ต้องเสียภาษี การแยกตัวเลขภาษีออกไปก่อนก็เนื่องจากว่า บริษัทแต่ละชนิด ที่มีรายได้/กำไรต่างๆ กัน หรือได้รับการยกเว้น/ส่งเสริมกิจการจากภาครัฐต่างๆ กัน จะมีภาระภาษีต่างกัน การแยกออกไปก็ทำให้นักลงทุนสามารถพิจารณาความสามารถในการทำกำไรของบริษัทได้ ในอีกรูปแบบหนึ่ง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘