การวิเคราะห์เชิงตัวเลข 34

ตัวเลขอัตราส่วนสภาพคล่องต่างๆ (Liquidity Ratios)

โดยสรุปสั้นๆ ได้ใจความอย่างรวดเร็วก็คือ สภาพคล่องของบริษัทหมายถึงความสามารถในการทำตามสัญญาการใช้เงินในระยะสั้น ได้ และเป็นตัวหลักในการวัดสุขภาพทางการเงินของบริษัท สภาพคล่องสามารถวัดได้ด้วยอัตราส่วนหลายอย่างดังนี้

- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio)
ตัวเลขอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่องนี้ เป็นตัวเลขอัตราส่วนสภาพคล่องที่เป็นพื้นฐานที่สุด เป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นด้วยสินทรัพย์ระยะ สั้น ตัวเลขระดับ 1 เป็นตัวเลขที่ยอมรับได้ และถ้าต่ำกว่า 1 แสดงว่ามีปัญหาแล้วล่ะ
อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน

- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio หรือ Acid Test Ratio)
เป็นตัวเลขการทดสอบที่โหดกว่าอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนธรรมดา โดยเป็นตัวเลขที่เกิดจากการคำนวณที่ได้ตัดเอาสินค้าคงคลังและรายจ่ายล่วง หน้าซึ่งยากในการจะแปลงเป็นเงินสดออกไป ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่ามากกว่า 1 ก็น่าจะแสดงว่าบริษัทน่าจะไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ยิ่งมีค่าสูงมากขึ้น ยิ่งมีสภาพคล่องสูงขึ้นและบริษัทแบบนี้จะสามารถอยู่รอดได้ในช่วงขาลงของ วัฏจักรธุรกิจ
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (เงินสด + ลูกหนี้การค้า + หลักทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้เร็ว) / หนี้สินหมุนเวียน

- อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio)
ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่เพื่อนๆ อาจจะไม่ค่อยได้เคยเห็นเท่าไร ถือว่าเป็นตัวเลขที่อนุรักษ์นิยมที่สุดตัวหนึ่งของทั้งหมด เป็นอัตราส่วนที่วัดความสามารถทางเงินสดและการลงทุนอื่นของบริษัทที่สามารถ จะเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ เพื่อที่จะนำไปใช้จ่ายหนี้ระยะสั้น และเหมือนกันกับ อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) ก็คือ ยิ่งมีค่าสูง ยิ่งหมายถึงว่าบริษัทมีสถานะการเงินดีขึ้นครับ คือจะไม่ขาดเงินไปจ่ายหนี้คนอื่น แล้วโดนชาวบ้านเขาว่าเอาว่าเบี้ยวครับ
อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio) = (เงินสด + หลักทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้เร็ว) / หนี้สินหมุนเวียน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘