การวิเคราะห์เชิงตัวเลข 32

แล้วเราใช้ตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินอย่างไร

บางทีเราจะเห็นตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินเหล่านี้มาแล้วเช่น P/E, ROE, ROA, P/BV เป็นต้น แต่ในบทความช่วงนี้ผมจะเล่าให้ฟังแบบเน้นเรื่องของเนื้อหาเฉพาะตัวเลขที่ สำคัญที่เราจะต้องดู ตัวเลขพวกนี้บางตัวจะมีประโยชน์เลยด้วยตัวของมันเอง แต่อีกหลายๆ ตัวที่เหลืออาจจะแทบไม่มีประโยชน์หรือใช้ตีความอะไรไม่ได้เลยถ้าไม่ได้ดู ส่วนอื่นประกอบ โดยปกติแล้วอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ จะมีประโยชน์มากที่สุดเมื่อเราได้จับมันไปเปรียบเทียบกับอัตราส่วนอื่นๆ ที่เหมือนกัน

ปกติแล้วเราจะใช้ตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินในสองวิธีคือ เปรียบเทียบกับของบริษัทเองในช่วงเวลาที่ต่างกัน (เช่นดูย้อนหลังไป 5 ปี) หรือเมื่อเปรียบเทียบกับของบริษัทอื่น การเปรียบเทียบกับตัวเลขของบริษัทเองทำให้เรารู้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ บริษัทว่าดีขึ้นหรือแย่ลง (เช่นตัวเลข net profit margin ว่าเมื่อ 5, 4, 3, 2 และเมื่อปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มดีขึ้น คงที่ หรือแย่ลง) ถ้าตัวเลขเดียวกันของบริษัทมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แสดงว่าบริษัทน่าจะมีการปรับปรุงการทำงานไปในทางที่ดีขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าตัวเลขมีแนวโน้มที่แย่ลง ก็อาจจะแสดงว่าบริษัทมีแนวโน้มการทำงานที่แย่ลงหรือว่ามีปัญหาบางอย่างที่ ไม่สามารถแก้ไขได้ (อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาที่ผ่านมา)

อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือนักลงทุนควรจะเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงินของ บริษัทที่ตัวเองสนใจ กับบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตัวเลขทางการเงินของบริษัทหนึ่งอาจจะดูดีขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา (เช่น 3 ปีหลัง) แต่เราก็ต้องดูไปอีกว่า เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นล่ะ ตัวเลขเหล่านี้ดีกว่าคนอื่นหรือไม่ ถ้ากลับกลายเป็นว่าแย่กว่าบริษัทอื่น ความหมายก็อาจจะเป็นเพราะว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันสู้บริษัทอื่น ไม่ได้ เป็นต้น

นักลงทุนอาจจะเปรียบเทียบตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินจำนวนหลายๆ ตัว โดยสิ่งที่สำคัญที่จะต้องดูเป็นพิเศษคือตัวเลขที่เกี่ยวกับ ประสิทธิภาพ (efficiency), สภาพคล่อง (liquidity), การเพิ่มพลังของเงิน (leverage - ใช้เงินคนอื่นมาร่วมทำงานกับเงินของเราด้วย), และอัตรากำไรต่างๆ เมื่อผมพูดถึงตัวเลขแต่ละตัว ก็จะอธิบายไปด้วยพร้อมๆ กันว่ามันแสดงถึงอะไร หรือว่า เรากำลังวัดอะไรอยู่ และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นหมายความถึงอะไรได้บ้างนะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘