การวิเคราะห์เชิงตัวเลข 31

การตีความหมายของตัวเลขต่างๆ ทางการเงิน

ในข้อเขียนต่างๆ ข้างบนที่ผ่านมา หรือแม้แต่เพื่อนๆ นักลงทุนได้ไปอ่านมาจากที่ใดก็ตาม เราได้คุยกันไปแล้วถึงงบการเงินที่สำคัญๆ จำนวน 3 งบ (คืองบกำไรขาดทุน, งบดุล, และงบกระแสเงินสด) เราได้ดูกันแล้วว่า งบกำไรขาดทุนนั้นเป็นอย่างไร ตัวเลขต่างๆ ในงบกำไรขาดทุนมีผลอย่างไรกับการทำกำไรหรือการขาดทุนของบริษัท และตัวเลขต้องเป็นอย่างไร บริษัทจึงได้กำไร ในงบดุล เราได้ดูกันในเรื่องของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น และได้รู้ว่าตัวเลขแต่ละตัวในงบดุลนั้นจะอยู่ตรงไหน (การที่รู้จักชื่อ แต่ไม่รู้ที่อยู่ ก็เหมือนกับการที่รู้จักหน้าตาหญิงสาว หรือชายหนุ่มก็ตามที แต่ไม่รู้ว่าเจ้าตัวอยู่ไหน ทำอะไรเป็นอย่างไร คงใช้การอะไรไม่ได้มาก) และสุดท้ายสำหรับในเรื่องของงบกระแสเงินสด เราได้ดูไปแล้วว่าบริษัทใช้เงินสดไป หรือได้มา จากกิจกรรมสำคัญจำนวนสามอย่างคือ กิจกรรมการดำเนินงาน กิจกรรมการจัดหาเงิน และกิจกรรมการลงทุน อย่างไร

ปัญหาก็คือ เมื่อเรามีความรู้เหล่านี้แล้ว ในฐานะนักลงทุน เราจะใช้งานมันอย่างไร?

ในตอนต่อๆ ไปนี้เราจะนำความรู้ที่เราได้อ่านมาแล้วในตอนที่ผ่านๆ มาทำการวิเคราะห์ทางการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน (Financial Statement Analysis) นี้โดยส่วนมากก็คือการดูเพื่อการอธิบายความสัมพันธ์กันระหว่างตัวเลขต่างๆ ในงบการเงิน ซึ่งส่วนมากจะโดยการดูที่อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ต่างๆ วัตถุประสงค์หลักของการวิเคราะห์นี้คือจะช่วยเราแปลความหมายของตัวเลขต่างๆ และทำให้เรามองภาพของความสามารถและสถานะทางการเงินของบริษัทได้ชัดเจน

แต่ก่อนที่เราจะเริ่มเข้าไปดูตัวเลขกันจริงๆ ผมอยากจะบอกเพื่อนๆ ไว้ก่อนว่า ตัวเลขสัดส่วนทางการเงินต่างๆ ที่เราจะดูกันจะเป็นตัวเลขของบริษัทที่ "ไม่ใช่" บริษัทที่ดำเนินงานทางการเงิน โดยที่สำหรับบริษัทที่ดำเนินงานทางการเงิน (ธนาคาร, บริษัทประกัน, บริษัทที่ดำเนินงานด้านสินเชื่อ) จะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง ทำให้ตัวเลขต่างๆ ผิดแผกไปจากนี้มาก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘