บทที่ 2 บริการพิเศษของ Google และคอลเล็กชันต่างๆ (Hack 29-35)

Google เป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็น Search Engine ที่ใช้กันแพร่หลายตัวหนึ่ง ทว่าจริงๆแล้ว Google มีอะไรมากไปกว่านั้นอยู่พอควรทีเดียว เพราะในสองสามปีที่ผ่านมานี้ Google ได้เพิ่มความสามารถต่างๆเข้าไปแบบเงียบๆ ที่จะทำให้เราสามารถสืบค้นข้อมูลที่เก็บเอาไว้ในหลากหลายรูปแบบที่ต่างกันออกไปได้
  • Tip: ข้อมูล ที่เก็บไว้ในแต่ละรูปแบบนั้น ต่างมีเอกลักษณ์ในรูปแบบของตน รายละเอียดในเรื่องนี้จะกล่าวไว้ในกฎการแฮ็ก ที่ว่าด้วยรูปแบบเฉพาะแต่ละอย่างต่อไป
สิ่งที่ Google มีในปัจจุบัน
Google (http://www.google.com) ประกอบไปด้วยเว็บเพจมากกว่า 3 พันล้านหน้า นอกเหนือจากเว็บเพจที่เป็น HTML แล้ว ยังได้จัดทำอินเด็กซ์ไฟล์ที่เป็น PDF, Postscript, Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft Powerpoint และ รูปแบบที่เป็น Rich Text Format (RTF) นอกจากนี้ยังมีซินแท็กซ์พิเศษที่จะช่วยหาข้อมูลเฉพาะด้านแบบอื่นๆ เช่น ข้อมูลหุ้น หรือเลขหมายโทรศัพท์ แต่เราจะเก็บส่วนนี้ไว้พูดถึงในภายหลัง
Google Directory (Hack #29)
Google Directory (http://directory.google.com/) คืออินเด็กซ์ที่ขึ้นอยู่กับ The Open Directory Project (http://www.dmoz.org) และด้วยเหตุที่มันจัดทำอินเด็กซ์ของเว็บไซต์ (ไม่ใช่เว็บเพจ) มันจึงมีขนาดเล็กกว่าอินเด็กซ์ที่สืบค้นได้ในระดับเว็บเพจ และเหมาะกับการสืบค้นข้อมูลทั่วๆไปมากกว่า ในส่วนนี้ Google ได้ใช้อัลกอริธึมทั่วไปที่นิยมในการจัดลำดับผลการสืบค้น ซึ่งวิธีการนี้เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมมากจะถูกจัดให้อยู่ในลำดับต้นๆมากกว่า เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมน้อยกว่า
Google Groups (Hack #30)
Usenet จัดว่าเป็นเครือข่ายสากลที่มีการอภิปรายในระดับกลุ่ม (discussion group) แต่ Google Groups (http://groups.google.com) ก็ได้ทำการจัดเก็บข้อมูลการอภิปรายใน usenet ย้อนหลังไปถึง 20 ปีในบางเรื่อง เพื่อให้บริการสืบค้นจากข้อความที่ได้จัดเก็บเอาไว้ทั้งหมดกว่า 700 ล้านข้อความ
Google Images (Hack #31)
Google Images (http://images.google.com) บริการสืบค้นภาพต่างๆ ที่ได้สำรวจเก็บเอาไว้จากทั่วเครือข่ายเป็นจำนวนถึงกว่า 330 ล้านภาพ โดยที่ภาพเหล่านี้มีหลากหลายขนาด ตั้งแต่เป็นไอคอนเล็กๆ ไปจนถึงขนาดที่เป็นวอลเปเปอร์เลยทีเดียว
Google News (Hack #32)
Google News (http://news.google.com/) ยังอยู่ในขั้นทดลองใช้อยู่ในขณะที่เราเขียนหนังสือเล่มนี้ โดยจะตรวจสอบแหล่งข่าวถึง 4,000 แหล่ง และปรับปรุงฐานข้อมูลตลอดเวลา สำหรับ Google News จะมีความแตกต่างจากบริการของ Search Engine อื่นๆอยู่บ้าง เพราะมันจะจัดกลุ่มหัวข้อข่าว (headline) ที่เหมือนๆกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน
Google Catalogs (Hack #33)
เมื่อคุณคิดถึง Google คุณ คงจะไม่ได้คิดถึงการสืบค้นจากแคตาล็อก ที่พิมพ์ส่งให้ลูกค้าเป็นเล่มๆ แต่คุณสามารถทำการสืบค้นสิ่งที่เป็นลักษณะเดียวกันนี้ได้จากที่นี่ เพราะ Google Catalogs ได้เก็บรวบรวมข้อมูลแคตาล็อกเอาไว้ในรูปแบบดิจิตอล และแยกแยะออกเป็นหลายหมวดหมู่ และถ้าหากว่าคุณไม่พบแคตาล็อกเล่มโปรดของคุณอยู่ที่นี่ คุณก็สามารถที่จะส่งชื่อมาให้ Google พิจารณาได้เช่นกัน
Froogle (Hack #34)
บริการใหม่ของ Google เปรียบเสมือนกับ Shopping Online Search Engine ซึ่งเป็นบริการที่ดีสำหรับการช้อปปิ้งแบบออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่คุณชอบสืบค้นด้วยคีย์เวิร์ดเพียงไม่กี่คำ หากคุณเป็นคนทันสมัยและต้องการช้อปปิ้งแบบออนไลน์ คุณควรแวะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ Froogle (http://froogle.google.com/) ดูสักนิด สำหรับคำว่า Froogle นั้นเป็นคำผสมร่วมกันของคำว่า “Google” และ “Frugal” ซึ่งโดยหน้าที่แล้วมีการจัดทำอินเด็กซ์การสืบค้นสำหรับการช้อปปิ้งเป็นหลัก หน้าตาจะดูคล้ายกับ Google Directory โดยเน้นที่การให้คุณได้แหล่งช้อปปิ้งออนไลน์ที่มีสินค้าที่คุณต้องการ สำหรับบริการนี้เปิดตัวไปเมื่อเดือนธันวาคม 2545 แต่ขณะที่เราเขียนหนังสือเล่มนี้เว็บไซต์ยังอยู่ในขั้นทดลองใช้อยู่
Google Labs (Hack #35)
บริการนี้จะไม่บอกว่าคุณจะค้นพบอะไรใน Google Labs (http://labs.google.com/) แต่เว็บไซต์นี้เป็นที่ๆคุณจะนำผลงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ของคุณมาลงไว้ และปล่อยให้สาธารณะชนทดลองใช้งานดู ในขณะที่เขียนหนังสือเล่มนี้ เราได้พบกับบริการการสืบค้น Google ผ่านทางโทรศัพท์ (google via phone) การค้นหาอภิธานศัพท์ (grossary search) การใช้งาน Google ด้วยคีย์บอร์ด (google keyboard shortcut) และการสืบค้นที่จะให้คุณสร้างกลุ่มของคำที่คล้ายกันจากผลการสืบค้นได้ เป็นต้น
Google Answers
Engine ของ Google นั้นเป็นเรื่องของอัลกอริธึมทางการเขียนโปรแกรมที่สามารถ แต่ Google Answers (http://answers.google.com/) จะเป็นเรื่องของคนที่มีความรู้เรื่องนั้นมาตอบให้โดยจะได้รับค่าตอบแทนเป็น เรื่องๆไป บริการ Google Answers จะเป็นการตอบคำถามด้วยค่าจ้างที่ผู้ถามกำหนดมาให้ หากการทดลองนี้ดำเนินไปได้ด้วยดี บริการนี้จะขยายตัวใหญ่ขึ้นและเป็นที่น่าสนใจมากในเร็วๆนี้เลยทีเดียว
บริการค้นหาตาม Topic พิเศษที่ต้องการ (Topic-Specific Search)
บริการ Topic-Specific Search ของ Google (http://www.google.com/advanced-search) จะให้ข้อมูลเจาะลึกใน Topic เรื่องต่างๆ เช่น
บริการข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์หน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกา เช่น เว็บไซต์ UncleSam ( http://www.google.com/unclesam ) เป็นต้น
บริการเกี่ยวกับข้อมูลของระบบปฏิบัติการต่างๆ เช่น เว็บไซต์ Linux ( http://www.google.com/linux ) , BSD Linux ( http://www.google.com/bsd ) Apple Machintosh ( http://www.google.com/mac ) และ ข้อมูลเกี่ยวกับ Microsoft ( http://www.google.com/microsoft.html )
บริการเกี่ยวกับข้อมูลมหาวิทยาลัยต่างๆ (ในสหรัฐอเมริกา) ตั้งแต่อักษร A ถึง Z ( http://www.google.com/options/universities.html ) เช่น
เว็บไซต์ของ A bilene Christian University เป็นต้น
Google ในอนาคตจะใช่ Google Shopping หรือไม่?
Google เป็นบริษัทเอกชนที่ยังไม่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ (Private Company) ดังนั้นเราจึงไม่อาจทราบสถานะทางการเงินที่แท้จริงของบริษัท แต่ก็มีข่าวลือว่าบริษัทเริ่มมีรายได้ที่ดีแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้เป็นบริษัทออนไลน์อย่างเต็มตัวหรืออีคอมเมิร์ชเต็มรูปแบบ ก็ตามที
Google มีวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์ในการดำเนินเว็บไซต์ของตน ดังนั้นจึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่การเข้ามาสู่ตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ของ Google จะมีผู้ไม่เห็นด้วยไม่แพ้กับการริเริ่มนวกรรมด้านอื่นๆของ Google ดังที่ผ่านมา ดังนั้นแทนที่จะสร้างหน้าออนไลน์แคตาล็อก (online catalog) เช่นเดียวกับ Search Engine ตัวอื่นๆ Google กลับใช้เทคโนโลยีการสืบค้นของตนเพื่อการเป็น Search Engine ที่ดีเยี่ยมสำหรับการค้นหาผลิตภัณฑ์จากแคตาล็อกที่พิมพ์เป็นเล่มๆแทน และในบางกรณีแล้ว แคตาล็อกแบบดั้งเดิมเช่นนี้ก็ยังมีประสิทธิภาพดีกว่าแคตาล็อกแบบออนไลน์ซะ ด้วยซ้ำไป เพราะ แคตาล็อกที่เป็นแผ่นกระดาษนั้นอ่านได้ง่ายกว่า และเป็นสิ่งที่คุณคุ้นเคยกว่าหากคุณมีตู้ไปรษณีย์จริงๆ แต่ถ้าคุณมีการเชื่อมต่อแบบความเร็วสูงกับอินเทอร์เน็ตอยู่ก่อนแล้วล่ะก็ คุณก็สามารถที่จะเปิดหน้าแคตาล็อกนี้ไปมาอย่างรวดเร็วได้ และ Google ก็ได้เก็บรวบรวมข้อมูลมากเพียงพอที่คุณจะค้นหาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายได้อย่าง ง่ายดายด้วยเช่นกัน
แม้ ว่า Google จะเสนอบริการการสืบค้นที่หลากหลาย แต่ใส่เรื่องนี้ก็เป็นจุดสำคัญเช่นเดียวกัน เหตุก็เพราะ Google ได้ริเริ่มวิธีการสืบค้นแบบที่เน้นนวัตกรรมใหม่ๆเป็นหลัก ต่อไปภายภาคหน้า Google อาจตัดสินใจที่จะจับมือกับ Search Engine อื่นสำหรับบริการออนไลน์ที่พวกเขากำลังให้บริการอยู่ก็เป็นได้ แต่ก็อาจจะมีวิธีเสนอบริการที่แปลกแหวกแนวของตนอยู่ด้วย การได้เห็นวิธีการนำเสนอบริการช้อปปิ้งออนไลน์ของ Google ด้วย Google Catalogs อาจทำให้คุณมองเห็นอนาคตของ Google ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็เป็นได้
Google ในทศวรรษที่ 2010
เมื่อ พูดถึงเรื่องอนาคต คุณก็ได้เห็นมาบ้างแล้วถึงสิ่งที่ Google กำลังทดลองอยู่ใน Google Labs เพราะถือได้ว่า Google Labs เป็นพื้นฐานสำหรับวิศวกรรมของ Google ที่จะลองใช้ความคิดและเทคโนโลยีใหม่ๆของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้นมันยังเป็นเรื่องยากที่สุดเรื่องหนึ่งที่จะนำมาเขียนใน หนังสือเล่มนี้ เพราะเป็นไปได้ว่าสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะที่เราเขียนอยู่นี้อาจเปลี่ยนแปลงไป แล้วเมื่อคุณได้หนังสือเล่มนี้มาถืออยู่ในมือ
สิ่ง สำคัญก็คือ ขอให้คุณใส่ใจในสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นหลัก ลองดูที่คุณสมบัติการสืบค้นด้วยเสียงพูดดูก็ได้ ว่าคุณสามารถจะได้รับผลการสืบค้นจำนวนมากเพียงใดจากการใช้ Google Sets ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจถูกนำมารวมเข้ากับคำสั่งค้นหาหรือซินแท็กซ์พิเศษอื่นๆใน ภายหลังก็เป็นได้ และหากบังเอิญคุณมีวิธีการที่น่าสนใจที่จะใช้งานมันได้เดี๋ยวนี้ละก็ นับว่าคุณได้ก้าวล้ำหน้าในเกมแห่ง Search Engine แล้ว
Google ได้นำเสนอบริการสืบค้นที่หลากหลาย และจะยังเสนอสิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ ในระหว่างนี้ขอให้คุณได้อ่านบทแนะนำเกี่ยวกับ Google เสียก่อนว่า Google มีบริการอะไรให้คุณบ้าง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘