การอ่านงบการเงินเบื้องต้น 1

การอ่านงบการเงินเบื้องต้น 1

หลุม หลบภัยในตลาดหุ้นที่ผันผวน เดาทางได้ยาก แบบในขณะนี้คงจะหนีไม่พ้นหุ้นที่มีพื้นฐานทางธุรกิจที่ดี หุ้นประเภทนี้มีของดีคุ้มตัว ราคาจะไม่วิ่งลงไปแบบติดดินแน่นอน เพราะเหตุผลง่ายๆ 2 ประการคือ หนึ่งตราบใดที่ผลประกอบการยังดีโตต่อเนื่อง ราคาหุ้นย่อมกลับมาได้อีกครั้ง(ถ้า fundflow) เข้ามาอีก 



สอง หุ้นดีย่อมมีน้ำใจจ่ายปันผลงาม ปันผลดีย่อมคุ้มราคา ความต้องการจะครอบครองหุ้นที่มีปันผลชนะเงินเฟ้อ ยังไงก็มีสูง เศรษฐีและกองทุน ย่อมสนใจและรับซื้อหุ้นประเภทนี้ไว้ได้ตลอด





ด้วย เหตุผลที่กล่าวมาสองข้อ ผมเลยนึกว่าควรที่จะเขียนถึงเทคนิคการวิเคราะห์พื้นฐานของหุ้น ให้เพื่อนๆได้เรียนรู้กัน โดยผมขอเริ่มจากการเรียนรู้พื้นฐานของบริษัท จากการอ่านงบการเงิน เพื่อบ่งบอกถึงสถานะภาพและการเติบโตของกิจการ พื้นฐานที่ดีมีกำไรเติบโต ย่อมสะท้อนผ่านไปยังราคาหุ้น ที่สำคัญมันคือ สิ่งที่ระบุคุณภาพของแนวโน้ม(Trend) ของราคาเป็นอย่างดี แน่นอนว่าราคาหุ้นในตลาดเกิดจาก Demand และ Supply ของนักลงทุน แต่เราต้องไม่ลืมแนวคิดพื้นฐานที่ว่า คนส่วนใหญ่(ที่ไม่โลภจนตาบอด)ต้องการลงทุนในบริษัทที่มีผลประกอบการดีและ เติบโต


ดัง นั้นการเข้าใจและสามารถจำแนกบริษัทที่มีพื้นฐานของบริษัทที่ดี ย่อมเปรียบเสมือนการมองเห็นหลุมหลบภัยในยามสงคราม แม้เพื่อนหลายคนที่ติดตามอ่านบล็อคผมจะเป็นขาซิ่งที่ชอบเก็งกำไร แต่เชื่อผมเถอะว่า เราไม่สามารถเก็งกำไรในหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงได้ทั้งหมด คุณย่อมไม่ต้องการนำกำไรที่หามาได้ทั้งปีไปเสี่ยงตลอดเวลา เพราะเมื่อใดที่คุณพลาดนั้นหมายถึง การสูญเสีย



ทำไมต้องอ่านงบการเงิน
งบ การเงินคือ แผนที่การเงินที่บอกว่ากิจการที่จะลงทุนมีผลประกอบการไปได้ดีไหม เติบโตเท่าใด มีพื้นฐานทางการเงินดีไหม  ผมจะขออธิบายและเน้นเฉพาะส่วนสำคัญที่ช่วยให้ตัดสินใจในการเลือกหุ้นเพื่อ ลงทุน คล้ายกับการใช้รถยนต์นะครับ ขับเป็นแต่ไม่จำเป็นต้องไปซ่อมมันเป็น บางอย่างที่ยุ่งยากเกินไปก็อาจจะผ่านไป (ถ้าจำเป็นสำหรับท่านก็ควรศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตแบบเจาะลึกรายละเอียดต่อ ไป) 


เป้า หมายของการอ่านงบการเงินคือการต้องการเลือกหุ้นที่มีพื้นฐานของกิจการที่ แข็งแกร่งทั้งด้านผลประกอบการและฐานะทางการเงินเพื่อลงทุนระยะยาว โดยมุ่งเน้นที่จะได้ผลตอบแทนจากมูลค่าที่ซ่อนอยู่ของหุ้นตัวนั้น ทั้งในรูปแบบส่วนต่างของราคาและเงินปันผล หลายกิจการที่เป็นบริษัทขนาดเล็กแต่ผลประกอบการดีเลิศเแข็งแกร่งนั้น แต่ยังขาดสภาพคล่อง ยังไม่เป็นที่รู้จักดังนั้นรายงานและบทวิเคราะห์อาจจะยังไม่มี การรู้งบการเงินทำให้เราสามารถหาเพชรในตมที่ซ่อนอยู่ได้เจอก่อน แน่นอนว่าผลตอบแทนและต้นทุนก็จะถูกว่าผู้อื่น

การวิเคราะห์งบการเงิน

การ วิเคราะห์งบการเงินก็คือการแกะรายละเอียดและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจาก บัญชีงบประมาณ เพื่อวิเคราะห์ถึงสถานะภาพและผลประกอบการของบริษัท โดยงบการเงินประกอบไปด้วยส่วนหลักที่จะพิจารณาพิเศษ ได้แก่ งบดุล,งบกำไรขาดทุน,งบกระแสเงินสด,  หมายเหตุประกอบงบการเงิน เป็นต้น


การ วิเคราะห์งบการเงิน เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ในรูปแบบการเปรียบเทียบทั้งแบบระหว่างปีงบประมาณ และแบบระหว่างงบรายไตรมาส เพื่อหาความสัมพันธ์ และรูปแบบการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการสังเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสัญญาณพิเศษในการบ่งบอกถึงการเจริญเติบโต ของกิจการในอนาคต


งบดุล
งบดุล คืองบการเงินที่บอกถึงฐานะและความมั่นคงของกิจการบริษัท บ่งบอกทั้งส่วนของหนี้สิน ,ทรัพย์สิน, โครงสร้างทางการเงิน รวมไปถึงผลประกอบการของบริษัท ในส่วนของงบดุลนี้สามารถบ่งบอกรายละเอียดต่างได้มากมาย ได้แก่
ตัวอย่างงบดุล ของไตรมาสที่ 3 ปี 2553 (บางส่วน)


1. สินทรัพย์ของบริษัท
แนว คิดคือ ผมชอบบริษัทที่มีทรัพย์สินมากๆ เพื่อที่จะได้เป็นหลักประกันว่ากรณีที่เกิดการล้มละลาย จะได้มีทรัพย์สินมาจ่ายคืนให้กับผู้ถือหุ้นได้ 
- สินทรัพย์ทั้งหมด ที่บริษัทมี ตัวนี้จะใช้เป็นฐานการพิจารณา เปรียบเทียบกับตัวเลขต่างๆ รวมถึงดูการเติบโตของสินทรัพย์ในปีต่างๆด้วย

2. สภาพคล่องทางการเงิน
บ่งบอกสภาพคล่องทางการเงินของบริษัท การมีสภาพคล่องดี ก็จะเป็นผลดีในแง่การนำเงินไปใช้จ่ายในกิจกรรมต่างๆระยะสั้นโดยไม่ต้องทำการ กู้หรือก่อหนี้เพิ่มเติม บริษัทที่สภาพคล่องต่ำก็จะมีโอกาสที่จะต้องกู้เพิ่ม หรือมีการขายสินทรัพย์ ลดความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้

2.1 อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน(Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน /หนี้สินหมุนเวียน
- อัตราส่วนนี้ใช้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าได้ค่าที่มากยิ่งแสดงถึงสินทรัพย์หมุนเวียนที่ดีกว่าหนี้ แปลว่าสภาพคล่องระยะสั้นย่อมดีไปด้วย 


2.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว 
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio) = (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ) /หนี้สินหมุนเวียน
- อัตราส่วนนี้คือการวัดความสามารถของการเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินสด โดยหักภาระของสิ่งที่แปลงเป็นเงินสดยากออกก่อนนั้นคือสินค้าคงเหลือ 



3. หนี้สิน
หนี้สิน ในส่วนของที่บริษัทเป็นลูกหนี้คือส่วนสำคัญในการพิจารณา เพราะบางครั้งเราสามารถจับสัญญาณบางอย่างจากการสร้างหนี้ของบริษัทได้ เช่นการขาดสภาพคล่องต้องก่อนหนี้เพื่อ นำมาจ่ายปันผล, การสร้างหนี้โดยผิดปกติจากบริษัทลูก ที่ส่งผลภาระผูกพันธ์มายังบริษัทแม่ เป็นต้น นอกจากนี้การมีหนี้มากย่อมต้องนำผลกำไรไปใช้จ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น สำหรับหนี้ ส่งผลให้เงินปันผลลดลงอีกด้วย ดังนั้นบริษัทที่เป็นหนี้มากจึงจำเป็นต้องพิจารณาเป็นพิเศษ


3.1 อัตราส่วนหนี้ต่อทุน
อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) = หนี้สินรวม /ส่วนของเจ้าของ

ตัวนี้เป็นตัวบ่งบอก ปริมาณหนี้ การมีปริมาณอัตราส่วนที่สูงทำให้เสี่ยงต่อการถูกเร่งรัดหนี้ จนไปถึงความเสี่ยงในการล้มละลายอันเกิดจากหนี้ที่มาก นอกจากนี้ยังสะม้อนถึงความสามารถในการโตของกิจการในด้านโอกาสการกู้ยืมเงิน ถ้ามี อัตราส่วนนี้สูงมากกว่า 2 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์สูงมาก (ปกติผมชอบบริษัทหนี้น้อย D/E น้อยกว่า 1 ยิ่งดี)



3.2 ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย
ความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage)  = {กำไรสุทธิ  + ภาษีเงินได้  - ดอกเบี้ยจ่าย} /ดอกเบี้ยจ่าย

อัตราส่วนนี้บ่งบอกความสามารถของการจ่ายหนี้ที่ยืมมาของบริษัท 


4. ลูกหนี้การค้า
คือ ส่วนของคู้ค่าที่ติดค่าบริการ หรือค่าสินค้าจากบริษัท โดยอาจะเป็นการให้เครดิตสินเชื่อกับคู่ค้า ในส่วนนี้สามารถบ่งบอกได้ถึง ความสามารถในการเก็บเงินจากลูกค้า การหมุนเวียนเงินสด สภาพคล่อง รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้สูญ ระยะเวลาในการเก็บหนี้จากลูกหนี้ยิ่งสั้นยิ่งดี เพราะทำให้บริษัทสามารถนำเงินมาใช้จ่ายและลงทุนหมุนเวียนต่อไปได้


4.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ 
อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)  = ขายเชื่อสุทธิ หรือใช้ยอดขายรวม (ครั้ง หรือ รอบ) /ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย

***ลูกหนี้ถัว เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด )/ 2 


หากค่าอัตราส่วนสูง แสดงถึงความสามารถในการบริหารลูกหนี้ให้แปลงสภาพเป็นเงินสดได้เร็ว ย่อมส่งผลดีต่อสภาพคล่อง


4.2 ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ 
ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (วัน) = 365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้

จำนวนที่ได้ยิ่งต่ำยิ่งดี แสดงถึงความสามารถในการบริหารหนี้ การเก็บหนี้จากคู่ค้า 



5. สินค้าคงเหลือ
สินค้า คงเหลือเป็นอีกสิ่งที่น่าจะให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะมีการนำเอาสินค้าคงเหลือไปคิดเป็นสินทรัพย์ด้วย ดังนั้นการที่มีสินค้าคงเหลือมาก ย่อมส่งผลให้มีโอกาสเกิดการเสื่อมของมูลค่าลดลงไปตามเวลา ส่งผลให้เกิดการขาดทุนได้ นอกจากนี้การมีสินค้าคงเหลือที่สูง ยังสะท้อนความสามารถในการแข่งขัน ยอดขายที่ลดลง การกระจายสินค้าและ การผลิตเพื่อสต๊อคจนมากเกินไป 


5.1  อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ 
อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ = ต้นทุนสินค้าขาย /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย  
โดย

สินค้าคงเหลือเฉลี่ย =( สินค้าต้นงวด + สินค้าปลายงวด )/ 2


อัตราส่วนนี้สูงยิ่ง บ่งบอกความสามารถในการระบายสินค้า และการขายสินค้า


5.2 ระยะเวลาในการขายสินค้า
 ระยะเวลาขายสินค้า(วัน) = 365 /อัตราหมุนเวียนของสินค้า คงเหลือ


ระยะ เวลาสั้น ยิ่งดีหมายถึงการขายสินค้าได้เร็ว ลดค่าการจัดเก็บสินค้า ลดความเสี่ยงการขาดทุน และแสดงถึงประสิทธิภาพการจัดจำหน่าย การกระจายสินค้า ตลอดจนการทำการตลาด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘