การวิเคราะห์เชิงตัวเลข 10

- บัญชีแบบเกณฑ์คงค้าง
บางท่านอาจจะสงสัยว่า ทำไมจึงต้องมีการบันทึกรายรับ/จ่ายโดยอาศัยเกณฑ์บัญชีแบบคงค้างด้วย มันมีประโยชน์ที่ตรงไหน คำตอบก็คงเป็นเพราะว่ามันมีประโยชน์จริงๆ ล่ะครับ ไม่อย่างนั้นคงไม่ถูกพัฒนามาใช้จนกลายเป็นมาตรฐานหนึ่งทางบัญชีไปได้ เรื่องนี้คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการอธิบายด้วยตัวอย่าง เช่น สมมติว่า เพื่อนๆ ทำการสมัตรสมาชิกรับหนังสือพิมพ์เอาไว้อ่านตอนเช้าๆ (จะเป็นหนังสือพิมพ์หัวดำ หัวสี เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับหุ้น ภาษาอะไรก็แล้วแต่ ไม่เกี่ยงกันล่ะ) บริษัทที่ทำหนังสือพิมพ์ ก็คงจะขอให้เพื่อนๆ ต้องจ่ายเงินค่าหนังสือพิมพ์ของทั้งปีเสียก่อนเลยแต่ทีแรก (โอ้ว) แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งที่บริษัทหนังสือพิมพ์ ได้รับเงินเต็มจำนวนจากการจ่ายของเพื่อนๆ ตั้งแต่ต้นปีที่รับหนังสือพิมพ์นั้น แต่ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้บันทึกเงินรับนี้ทั้งจำนวนเป็นรายได้โดยทันที (แต่ในบัญชีกระแสเงินสดจะเห็นว่าบันทึกเต็มทั้งจำนวน เพราะว่าเป็นเงินสดรับจริง)

เหตุการณ์ตามตัวอย่างข้างบนนี้ล่ะคับที่เป็นวิธีทำงานของหลักการบัญชีแบบ เกณฑ์คงค้าง การบัญชีแบบนี้มีหลักการคือจะต้องบันทึกรายจ่ายและรายรับให้สัมพันธ์กับระยะ เวลากำหนดหนึ่งๆ ที่ขณะที่รายจ่ายและรายรับนั้นเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่นบริษัทจะบันทึกรายได้ในช่วงเวลาหนึ่ง่ได้ก็ต่อเมื่อ ได้มีการขายหรือให้บริการที่สัมพันธ์กับระยะเวลานั้นเกิดขึ้น ในตัวอย่างของหนังสือพิมพ์ข้างต้น บริษัทจะต้องค่อยๆ บันทึกรายรับตามระยะเวลาที่ผ่านไป ตลอดอายุการให้บริการแก่ผู้รับหนังสือพิมพ์ ดังนั้นผลที่เกิดขึ้นก็คือ ผู้ขายหนังสือพิมพ์ ยังคงจะต้องบันทึกรายได้ (เป็นครั้งแรก) เป็นเวลานับสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งหลายเดือนหลังจากที่ได้รับเงินจากเรา

บัญชีแบบเกณฑ์คงค้างนี้ก็มีผลต่อการซื้อและใช้ทรัพย์สิน เครื่องจัก ขนาดใหญ่หรือแม้แต่อาคาร ด้วย เมื่อบริษัทซื้อทรัพย์สินเหล่านั้น บริษัทจะไม่บันทึกค่าใช้จ่ายทั้งหมดล่วงหน้าไว้เป็นรายจ่ายของบริษัทขณะที่ เริ่มซื้อสินทรัพย์นั้นเข้ามาไว้ในงบกำไรขาดทุน แต่ว่าจะบันทึกการซื้อทรัพย์สินนั้นเอาไว้ในงบดุล (ไว้เราจะคุยกันเรื่องงบดุลในภายหลังนะครับ) และในแต่ละปีที่ผ่านไป บริษัทก็จะบันทึกเอาบางส่วนของราคาทรัพย์สินนั้นมาเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไร ขาดทุนในรูปของค่าเสื่อมราคา (เมื่อเป็นดังนี้ ทำให้เกิดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะมีผลไปมีส่วนทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุล ลดลง)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘