Sequence of the outcome misconception ลำดับของผลการซื้อขายที่เกิดขึ้นนั้น สำคัญไฉน

ลำดับของผลการซื้อ-ขายที่เกิดขึ้นนั้น สำคัญไฉน?
สิ่งหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดไปโดยไม่ตั้งใจในการเล่นหุ้นก็คือ เรื่องผลกระทบจาก “ลำดับ” ของผลจากการซื้อขายที่เกิดขึ้นตามระบบ สิ่งนี้กลายเป็นอุปสรรคในการทำตามระบบไปโดยอัตโนมัติ วันนี้ผมจะแสดงให้เห็นถึงผลของ “ลำดับ” ที่เกิดขึ้นว่า มันมีผลต่อผลกำไรที่ปลายทางอย่างไร และทำไมความเข้าใจถึงสิ่งนี้จึงมีผลกระทบต่อ “วินัย” ของเราครับ




แนวคิดสำคัญอย่างหนึ่งที่เราควรต้องเข้าใจก็คือ
ภายใต้ผลลัพธ์ของซื้อขายที่เกิดขึ้นหลายๆครั้งติดกันนั้น การเปลี่ยนแปลงของ “ลำดับ” หรือผลการซื้อ-ขายที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ไม่มีผลต่อกำไรสุทธิที่ปลายทางของมัน ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นทั้งในการลงทุนแบบ Non reinvestment (ไม่เอากำไรกลับไปลงทุนใหม่) และ Reinvestment (นำกำไรที่ได้กลับไปลงทุนใหม่อีก)
ตารางข้างล่างจะแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์สุดท้าย ซึ่งนั่นก็คือกำไรสุทธิจากการซื้อ-ขายทั้งหมด 4 ครั้ง ของทั้งการลงทุนแบบ Non reinvestment และ Reinvesment จากระบบการลงทุนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีความแม่นยำที่ 50% โดยจะได้กำไรครั้งละ 50% และขาดทุนครั้งละ 40% ของเงินเดิมพัน (ในที่นี้คือ bet เงินทั้งกองที่เรามี)
Sequence หรือลำดับของผลกำไรที่เกิดขึ้น แบบที่หนึ่ง :
No Reinvestment
With Reinvestment
ลำดับการซื้อขาย
กำไร-ขาดทุน
เงินทุนที่เหลืออยู่
กำไร-ขาดทุน
เงินทุนที่เหลืออยู่
100
100
1
-40
60
-40
60
2
50
110
30
90
3
-40
70
-36
54
4
50
120
27
81
.
Sequence หรือลำดับของผลกำไรที่เกิดขึ้น แบบที่สอง :
No Reinvestment
With Reinvestment
ลำดับการซื้อขาย
กำไร-ขาดทุน
เงินทุนที่เหลืออยู่
กำไร-ขาดทุน
เงินทุนที่เหลืออยู่
100
100
1
50
150
50
150
2
-40
110
-60
90
3
50
160
45
135
4
-40
120
-54
81
.
Sequence หรือลำดับของผลกำไรที่เกิดขึ้น แบบที่สาม :
No Reinvestment
With Reinvestment
ลำดับการซื้อขาย
กำไร-ขาดทุน
เงินทุนที่เหลืออยู่
กำไร-ขาดทุน
เงินทุนที่เหลืออยู่
100
100
1
50
150
50
150
2
50
200
75
225
3
-40
160
-90
135
4
-40
120
-54
81
.
Sequence หรือลำดับของผลกำไรที่เกิดขึ้น แบบที่สี่ :
No Reinvestment
With Reinvestment
ลำดับการซื้อขาย
กำไร-ขาดทุน
เงินทุนที่เหลืออยู่
กำไร-ขาดทุน
เงินทุนที่เหลืออยู่
100
100
1
-40
60
-40
60
2
-40
20
-24
36
3
50
70
18
54
4
50
120
27
81
.
จากที่เราได้เห็นกันนั้น จะเห็นได้ว่าผลของการเปลี่ยนแปลงลำดับนั้น ไม่ได้ทำให้ผลลัพธ์สุดท้าย (กำไรสุทธิ) เปลี่ยนแปลงไปเลย ไม่ว่าเราจะมองจากทั้งในแง่ของ Non Reinvestment หรือแบบ Reinvestment ครับ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไปคือ Maximum Drawndown หรือการลดลงของเงินทุนที่มากที่สุดระหว่างการการเล่น ตามตารางด้านล่างนี้ครับ
Sequence หรือลำดับของผลกำไรที่เกิดขึ้นแบบที่ 1
No Reinvestment
Reinvestment
100 เหลือ 60 = 40 (40%)
100 เหลือ 54 = 46 (46%)
Sequence หรือลำดับของผลกำไรที่เกิดขึ้นแบบที่ 2
No Reinvestment
Reinvestment
150 เหลือ 110 = 40 (27%)
150 เหลือ 81 = 69 (46%)
Sequence หรือลำดับของผลกำไรที่เกิดขึ้นแบบที่ 3
No Reinvestment
Reinvestment
200 เหลือ 120 = 80 (40%)
225 เหลือ 81 = 144 (64%)
Sequence หรือลำดับของผลกำไรที่เกิดขึ้นแบบที่ 4
No Reinvestment
Reinvestment
100 เหลือ 20 = 80 (80%)
100 เหลือ 36 = 64 (64%)
.
จากผลในตารางที่เกิดขึ้นนั้น เราจะเห็นได้ว่าการ Reinvest (นำกำไรกลับไปลงทุนใหม่) นั้น ไม่สามารถที่จะทำให้ผลของ Drawdown ที่เกิดขึ้นดีกว่าการ Non Reinvest (ไม่นำกำไรกลับไปลงทุน) ได้เลย อย่างไรก็ตาม ข้อดีของมันคือการที่ Drawdown จะลดน้อยลงเรื่อยๆเมื่อเกิดการขาดทุน เนื่องจากเงินทุนที่น้อยลงนั่นเอง และการ Reinvestment นั้นจะช่วยให้เงินทุนเติบโตเร็วกว่า Non Reinvestment เพราะเป็นผลมาจากการทบต้นของเงินทุน + กำไรนั่นเอง
ดังนั้น เมื่อเราได้เข้าใจแล้วว่า :
1.ลำดับของผลการลงทุน ไม่มีผลต่อกำไรสุทธิที่ปลายทาง
2.แม้กำไรสุทธิไม่เปลี่ยน แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือ Drawdown
เราจึงควรที่จะเข้าใจและมั่นใจได้ว่า หากว่า ระบบการลงทุนของเรานั้นมี Expectancy (กำไรคาดหวัง) ที่เป็นบวก และเราไม่ bet ในแต่ละครั้งหนักจนเกินไป เรามีโอกาสอย่างสูงที่จะกลับมาทำกำไรได้อย่างมากมายเช่นเดิม ไม่ว่าเราจะเจอกับ Sequence ในรูปแบบไหนก็ตาม (เช่น เจอกับการขาดทุนติดๆกันหลายครั้ง ก่อนที่จะเริ่มมีกำไร) ดังนั้น การมีวินัยต่อสัญญาณการซื้อขายในทุกๆครั้งจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะไม่เช่นนั้นระบบการลงทุนอาจจะล่มได้เพราะตัวเราเอง และอีกอย่างก็คือระบบ Money Management ในส่วนของ Position Sizing หรือขนาดในการ bet แต่ละครั้งจะมีผลเป็นอย่างสูงต่อ “วินัย” ในการที่จะทำตามระบบการลงทุนได้เป็นอย่างดี เพราะหากว่าเราเดิมพันมากไปในแต่ละครั้ง เราอาจไม่สามารถที่จะทนต่อ Drawdown ที่เกิดขึ้นในทางที่แย่ที่สุดก็ได้ (Maximum Drawdown) และนี่คือสิ่งสำคัญที่เราต้องจำไว้ให้ดีครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘