กลยุทธ์ที่ 5 ตีชิงตายไฟ

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า เมื่อข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ ควรฉวยโอกาสรุกรบโจมตี เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ หรือให้ผู้เข้มแข็งออกโรงเข้าแทรกแซงให้ผู้อ่อนกว่ายอมสยบด้วย นี้ก็คือที่เรียกว่า “ใช้ความแกร่งพิชิตความอ่อน”     ความหมายเดิมของ “ตีชิงตามไฟ” คือในขณะที่ผู้อื่นถูกเพลิงเผาผลาญห่วงแต่ตัวเอง ไม่ว่างกับเรื่องอื่น ก็ฉวยโอกาสแย่งชิงเอาของผู้นั้นเมาหรือในขณะที่ผู้อื่นตกอยู่ในอันตรายหรือในความลำบาก ก็รุกล้ำเอาผลประโยชน์ของผู้นั้นมา เมื่อนำมาใช้ในการทหาร ก็คือสิ่งที่ตำราพิชัยสงครามของ “ซุนจือ ว่าด้วยอุบาย” กล่าวไว้ว่า “ชิงเอาในยามปั่นป่วน” หรือที่ “ว่าด้วยอุบาย” ของตู้มู่นักการทหารอีกคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า “เมื่อข้าศึกวุ่นว่ายปั่นป่วย อาจฉวยโอกาสช่วงชิงมาได้”     กลยุทธ์นี้ แต่เดิมมาจากตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อ “ว่าด้วยอุบาย” ที่วกล่าวไว้ว่า “ชิงเอาในยามปั่นป่วน” ฉะนั้น กลบยุทธ์นี้จึงเป็นกลอุบายที่ฉวยโอกาสในยามที่ข้าศึกอยู่ในภาวะวิกฤติ เข้ารุกรบโจมตีอย่างหนึ่ง     ที่กล่าวว่า “เมื่อข้าศึกมีภัย ให้ฉกฉวยเอาประโยชน์” มิได้จำกัดอยู่แต่เพียงในด้ายการทหาร หากจะนำไปใช้ได้ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจและอื่นๆ อย่างกว้างขวาง จะได้ผลหรือไม่อย่างใดก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ในบางครั้งยังอาจจะใช้วิธีการต่างๆ ทำให้ข้าศึกเกิดวิกฤติ ให้เกิดความระแวงสงสัยในกันและกัน ตอกย้ำความประหวั่นพรั่นพรึงทางจิตใจให้หนักหน่วงยิ่งขึ้น เพื่อบันทอนพลังสู้รบของข้าศึก เป็นต้น หลังจากนั้นจึงฉวยโอกาสชิงเอาชัยนี้ก็นับอยู่ในการใช้กลยุทธ์นี้ด้วย

    กลยุทธ์นี้จึงสรุปว่า “เมื่อข้าศึกประสบกับความยากลำบากทั้งภายในและภายนอก จักต้องรุกโจมตีอย่างไม่ปรานี ฉวยโอกาสอันดีนี้ กระหน่ำซ้ำเติมอย่างให้ตั้งตัวติดและพิชิตเอาชัยอย่างได้ช้า”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘