36 กลยุทธ์

ซุนวู กล่าวไว้ตอนหนึ่งในตำราพิชัยยุทธว่า “ยุทธวิธีใช้ทหารชั้นเลิศคือหักด้วยกโลบาย รองลงมาคือหักด้วยวิธีการทูต รองลงมาอีกชั้นหนึ่ง คือหักด้วยกำลังทหาร เลวที่สุดคือล้อมตีค่ายคูหอรบของศัตรู”
    พิจารณาจากข้อความข้างต้นนี้จะเห็นว่าแผนการหรือเล่ห์เหลี่ยมแต้มคูนั้น จึงเป็นส่วนหนึ่งของยุทธการทางทหาร เป็นกโลบายของการทูตและเป็นอาวุธร้ายของทุกคนที่ซ่อนเร้นอยู่ในสมอง ไม่อาจมีใครมองเห็นได้ เมื่อนำออกใช้กับใครก็ประชิดถึงตัวผู้นั้นทันทีทันใด ( เป็นเรื่องที่ไม่อาจจะสอนกันได้ง่ายๆ นอกจากจะต้องเข้าใจในส่วนดีและส่วนเสียก่อนที่จะคิดใช้ ) ก็สามารถกู้บ้านกู้เมืองกลับคืนเป็นเอกราชได้ นักการเมืองจึงเป็นต้องมีเพื่อใช้ในการปราบฝ่ายปรปักษ์ ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์มีไว้เพื่อประโยชน์ในด้านสืบสวนสอบสวน และพ่อค้าจะใช้มันในการฉวยโอกาส ระว่างที่เกิดสถานการณ์ที่มีการช่วงชิงผลประโยชน์กัน
    ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่าในการต่อสู้ของแต่ละฝ่าย เช่น ประเทศต่อประเทศ พ่อค้ากับพ่อค้า ตำรวจกับผู้ร้าย นักการเมืองต่อนักการเมือง ล้วนแต่จะต้องรู้จักเลือกใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ฉะนั้น คำว่า “แผนการ” จึงย่อมจะไม่มีความหมายของคำว่ายุติธรรมหรือศิลธรรมแฝงอยู่เลย ผู้ใดไม่มีแผนหรือว่าเสียแผนไป ผู้นั้นก็ย่อมตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้หรือขาดผลประโยชน์ ความเสียหายและความทุกข์ทรมานใจย่อมจะเกิดแก่ผู้นั้นทันที

   เมื่อประมาณ 300 ปีที่แล้ว ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์หมิงต่อต้นราชวงศ์ชิง มีบัณฑิตนิรนามคนหนึ่งรวบรวม 36 กลยุทธ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ชื่อ เคล็ดลับของสงคราม 36 กลยุทธ์ และในตอนแรกเพียงแต่ทำ สำเนาด้วยลายมือแจกจ่ายกันอ่าน ในวงแคบๆ เท่านั้นต่อมาในปี ค.ศ. 1941 สำนักพิมพ์ซิงฮว๋าในเมืองเฉิงตู มลฑลเสฉวน ได้จัดพิมพ์ออกมา ตั้งแต่นั้นก็มี 36 กลยุทธ์ฉบับภาษาจีน ปรากฏหลายสำนวนด้วยกัน รวมทั้งมีในภาษาเอเชียตะวันออกอื่นๆ ด้วย

    36 กลยุทธ์ โดดเด่นเป็นเอกในบรรดาคัมภีร์ ทางทหารที่สืบเนื่องมาตั้งแต่จีน ยุคโบราณ ด้วยเนื้อหาเน้นว่าศิลปะทางทหารคือการหลอกลวง ในขณะที่คัมภีร์ทางทหารระดับคลาสสิก ส่วนใหญ่เน้นยุทธวิธีการรบทั่วไปในสนามรบ 36 กลยุทธ์ ไม่เหมือนกับคัมภีร์ประเภทเดียวกัน กับเล่มอื่นๆ ตรงที่จะเพ่งเล็งไปที่การหลอกลวง การเล่นเลห์ หรือ ยุทธวิธีซ่อนเร้นเพื่อบรรลุผลวัตถุประสงค์ทางทหาร ดังนั้นจึงไค้ชื่อว่าเป็น เคล็ดลับของสงคราม 36 กลยุทธ์

    นอกเหนือจากอารัมภบทแล้ว คัมภีร์เล่มนี้แบ่งออกเป็น 6 ภาค แต่ละภาคมี 6 กลยุทธ์แต่ละกลยุทธ์มีการยกเนื้อความสั้นๆจากคัมภีร์ อี้จิง (คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง) มาประกอบและมีคำวิจารณ์เกี่ยวกับกลยุทธ์นั้นๆ

    36 กลยุทธ์เรียบเรียงขึ้นในลักษณะที่สอดคล้องกับคำสอนเรื่อง หยิน หยาง ในอี้จิง หยินและหยางเป็นคุณสมบัติ 2 ประการที่เสริมกันซึ่งดำรงอยู่ในจักรวาล และ ดำรงอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างโนโลกนี้ ทั้งต่างก็ดำรงอยู่ ในกันและกัน หยิน ซึ่งเป็นสตรีเพศ สัมพันธ์กับความมืดและการปกปิด ส่วน หยาง ซึ่งเป็นบุรุษเพศ สัมพันธ์กับแสงสว่างและ การเปิดเผย ชาวจีนโบราณถือว่าเล่ห์เหลี่ยมเพทุบายและกลยุทธ์ต่างๆ ซึ่งมักวางแผนและดำเนินการอย่างปิดลับ ย่อมสังกัดฝ่ายหยิน หยินในคัมภีร์อี้จิง ตรงกับเครื่องหมายที่ ประกอบด้วยขีด 6 ขีด ซึ่งแทนสัญลักษณ์ดิน ขีดทั้ง 6 นี้ล้วนแต่ขาดกลางทั้งสิ้น 6x6 ก็คือ 36 นั่นเอง

    ในคัมภีร์เล่มนื้ บางครั้งชื่อของกลยุทธ์จะอ้างตรงกับเหตุการณ์เลื่องชื่อใน ประวัติศาสตร์ที่มีการนำกลยุทธ์นั้นๆ ดังเช่น “ ล้อมเว่ยช่วยเจ้า ” เนื้อหาของแต่ละกลยุทธ์สั้นนิดเดียว นั่นคือ ประกอบด้วยตัวอักษรจีนตั้งแต่ 9 ตัวถึง 32 ตัวเท่านั้น มัน ย่นย่อมาจากใครก็สามารถแปลความหมายของมันตามความเข้าใจของ ตนเองได้ 36 กลยุทธ์แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม 3 กลุ่มแรกใช้ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายได้เปรียบ 3 กลุ่มที่ 2 ใช้ในกรณีที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ได้แก่ กลยุทธ์ที่ใช้ในยามเหนือกว่า กลยุทธ์เพื่อการเผชิญหน้า กลยุทธ์ที่ใช้โจมตี กลยุทธ์สร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย กลยุทธ์เพื่อความเติบใหญ่และ กลยุทธในสถานการณ์สิ้นหวัง

    อย่างไรก็ตามการแบ่งกลุ่มนั้นไม่ สามารถยึดเป็นหลักตายตัว ในทางตรงข้าม การใช้ยุทธวิธีการรบติดต่อกันมานานหลายพันปี และได้มีการขัดเกลามาโดยตลอด ได้สอนนักยุทธศาสตร์ทางทหารของจีนว่า หลักการสูงสุดคือความยืดหยุ่น

    36 กลยุทธ์ฉบับที่ตีพิมพ์ใหม่ ในสมัยหลัง มีการแสงวิธีปรับใช้กลยุทธ์ต่างๆ โดยยกตัวอย่างการรบจำนวนมากจากยุคจีนโบราณ ตัวอย่างเหล่านี้แสดงถึงความ เฉลียวฉลาด ความโง่เขลา ความกล้าหาญ และกระทั่งความโหดร้ายที่ไตร่ตรองไว้ล่วงหน้าของสงครามจีน ถึงแม้ตัวอย่างของการนำกลยุทธ์ต่างๆไป ใช้จะมาจากประวัติศาสตร์จีนก็ตาม แต่ไม่ต้องสงสัยว่าเรา นำตัวอย่างเหล่านี้ไปปรับใช้ไม่ได้ ทังนี้เพราะธรรมชาติมนุษย์ทุกหนทุกแห่งล้วนแต่เหมือนกันโดยพื้นฐาน สงครามคือ กิจกรรมอย่างหนึ่งของมนุษย์ ดังนั้นมันจึงดำเนินไปตามแบบแผนที่แน่นอน ซึ่งส่อสันดานของมนุษย์ ให้ปรากฏ ตราบใดที่ธรรมชาติของมนุษย์ไม่เปลี่ยนสงครามก็จะยัง ดำเนินไปตามแบบแผนอันแน่นอน และผู้ที่มีความคิดกว้างไกลย่อมสังเกตแบบแผนเหล่านื้ออก

    ถ้าผู้ใดรู้จักใช้แผนการให้เหมาะสมก็อาจอำนายประโยชน์ได้อย่างมหาศาล คนจนอาจกลายเป็นเศรษฐี คนต่ำต้อยอาจกลับกลายเป็นผู้ดีมีอำนาจวาสนาขึ้นมาได้ แผนการจึงนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก แม้แต่คนที่ยึดมั่นในหลักธรรม ไม่ยอมทำอะไรที่ผิดศิลธรรม ตลอดจนไม่ยอมใช้แผนให้ร้ายผู้อื่น แต่จะไม่ระมัดระวังผู้อื่นที่จะใช้แผนร้ายต่อเรานั้นไม่ได้ แผนการจึงเปรียบเป็นอาวุธร้ายสำหรับต่อสู้ของทุกคน

    จากประวัติศาสตร์อันยาวนานของจีน ทุกยุคทุกสมัยที่มีการรบราฆ่าฟันเพื่อความเป็นใหญ่กัน เมืองเล็กจะต้องตกเป็นเหยื่อเมืองใหญ่ที่มีกำลังรี้พลมากกว่า การรบและการกู้เมืองด้วยแผนการต่างๆ จึงมีมากจนมีผู้รวบรวมแผนการเหล่านั้นไว้เป็นหนังสือจีนมีชื่อว่า 36แผนการ ให้ได้อ่านได้รู้จักตราบเท่าวันนี้ ดังมีรายละเอียดดังนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘