กลยุทธ์ที่ 27 แสร้าทำบอแต่ไม่บ้า

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ยอมแสร้งทำเป็นโง่ มิเคลื่อนไหว อย่าทำเป็นสู่รู้ทำบู่มบ่าม
    คำว่า “ดุจดั่งอสนีบาตหยุดฟาดฟัน” เก็บความมาจาก “คัมภีร์อี้จิง หยุด” ความว่า “อสนีบาตฤดูหนาวแฝงกายอยู่ใต้พื้นพสุธา จักแผดร้องก้องนภาคราฤดูใบไม้ผลิ” ซึ่งความหมายว่า ผู้ที่มีสติปัญญามิพึงแสดงตัว แต่พึงเตรียมการทั้งปวงอย่างลับๆ ประหนึ่งคมดาบอยู่ในฝัก มิปรากฏให้เห็น ครั้งเมื่อถึงกาลอันควร ก็จักคำรนคำรามเหมือนสายฟ้า ที่จะกระหน่ำพสุธาให้แตกสลายไปฉะนั้น     นี้นับเป็นกลยุทธ์หลอกลวงมึนชาข้าศึก แสดงความบ้าใบ้ทางภายนอก แต่ตื่นตัวโดยตลอดอยู่ภายใน ดำเนินการอย่างลับและพลิกแพลงเพื่อเอาชนะข้าศึกอย่างหนึ่ง กลยุทธ์นี้มีส่วนละม้ายคล้ายกับสำนวนไทยเราที่ว่า "หน้าไหว้หลังหลอก" หรือ "ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก" ในบางแง่บางมุม

   กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ยามเมื่อสถานการณ์ไม่เป็นผลดี ควรจะสะกดกลั้นตัวเองไว้ แสร้งทำเป็นโง่เง่า อวดฉลาดยิ่งจะไม่เป็นผลดีแก่ตน นี้เป็นวิธีรู้รักษาตัวรอดอย่างหนึ่งในยามปั่นป่วน คนฉลาดมักจะใช้วิธีการนี้ป้องกันตัวและวางแผนเอาชนะศัตรู คนที่ดูโง่เขลานั้น โดยภายนอกก็อาจจะเห็นเป็นเต่าตุ่น แต่ที่แท้แล้วภายในนั้นคมกริบ รู้เขารู้เรา พึงถอยก็รู้จักถอย มิดันทุรังรุกไปโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ดังนั้นจึงสามารถที่จะเป็นฝ่ายริเริ่มกระทำในการทั้งปวง เพราะเข้าใจในเหตุการณ์อย่างรู้แจ้งแทงตลอด และรอจังหวะที่จะบุกกระหน่ำมิยอมให้ศัตรูตั้งตัวติดตลอดเวลา กลยุทธ์นี้มักจะพบเห็นบ่อยๆ โดยทั่วไป ผู้ใดใช้เป็นด้วยความสันทัดจัดเจน ผู้นั้นย่อมจะได้รับผลสำเร็จ และเป็นผู้ทีน่ากลัวสำหรับฝ่ายตรงข้ามที่มิรู้แจ้งในกล”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘