กลยุทธ์ที่ 25 ลักขื่อเปลี่ยนเสา

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ต่อกำลังที่ร่วมรบด้วยข้าศึกกับเราหรือต่อข้าศึกจักต้องหาทางเปลี่ยนแปลงแนวรบฝ่ายนั้นอยู่เสมอ ถอดถอนเคลื่อย้ายกำลังสำคัญของฝ่ายนั้นไป รอให้ฝ่ายนั้นอ่อนแอต้องประสบกับความพ่ายแพ้จึงฉวยโอกาสแปรกำลังฝ่ายนั้น ให้กลายมาเป็นของเรา แล้วควบคุมกำลังของฝ่ายนั้นไว้ใต้การบัญชา     “หยุดซึ่งกงล้อ” มาจาก “คัมภีร์อี่จิง มิทัน” อันหมายความว่ารถคันหนึ่งนั้นสำคัญที่ล้อ ถ้าหยุดล้อได้ก็สามารถบังคับให้เคลื่อนที่ไปตามความประสงค์ของเรา อันเป็นกลยุทธ์กลืนกำลังของพันธมิตรหรืสลายกำลังของข้าศึกอย่างหนึ่ง

    กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “กลยุทธ์นี้มีความหมาย 2 นัย หนึ่งหมายถึงการหาทางสับเปลี่ยนกำลังหลักของพันธมิตรชั่วคราวที่เป็นศัตรูโดยเนื้อแท้ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำลายหรือกลืนกินพันธมิตรนั้นเสีย ซึ่งในสมัยศักดินาโบราณ มักจะชอบกระทำกันเป็นนิจ โดยมิได้คำนึงสัจวาจาหรือศิลธรรมแต่ประการใด อีกนัยหนึ่งหมายถึงเป็นกลยุทธ์ในการโยกย้ายกำลังหลักของฝ่ายข้าศึก โดยใช้กลลวงต่างๆนานา ทำให้ข้าศึกต้องเปลี่ยนแนวรบหรือเคลื่อนย้ายกำลังไปตามความประสงค์ของเรา ครั้งแล้วจึงเข้าตีจุดอ่อนข้าศึก เพื่อให้ได้รับชัยชนะ ดังนั้น ผู้บัญชาการทีชาญฉลาดจึงมิใช้แต่จะสันทัดในการใช้กำลังพลของฝ่ายตนเท่านั้น หากยังต้องสันทัดในการเคลื่อนย้ายหรือกระจายกำลังของฝ่ายข้าศึกด้วยกลยุทธ์ ให้เกิดประโยชน์แก่ตนอีกด้วย”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘