กลยุทธ์ที่ 24 ยืมทางพรางกล

กลยุทธ์นี้มีความหมายว่า ประเทศเล็กที่อยู่ในระหว่าง 2 ประเทศใหญ่เมื่อถูกข้าศึกบังคับให้สยบอยู่ใต้อำนาจ เราพึงให้ความช่วยเหลือโดยพลัน เพื่อให้ประเทศที่ถูกข่มเหงเชื่อถือ ต่อประเทศที่ตกอยู่ในความยากลำบาก การช่วยเหลือแต่เพียงทางวาจา มิได้มีการกระทำที่เป็นจริง ย่อมจะได้รับความไว้วางใจจากผู้ที่รอดความช่วยเหลือ     “ทุกข์ จักมิเชื่อเพียงวาจา” มาจาก “คัมภีร์อี้จิง ทุกข์” ความเต็มว่า “เมื่ออยู่ในทุกข์ จักไม่เชื่อใครโดยง่าย จึงมิเชื่อเพียงวาจา” อันนับเป็นกลยุทธ์ในการหลอกยืมทางผ่าน เพื่อบรรลุการให้ยึดครองอีกฝ่ายที่เราประสงค์อย่างหนึ่ง

    กลยุทธ์นี้สรุปได้ว่า “ปัญหาของกลยุทธ์นี้อยู่ที่คำว่า “ยืมทาง” ถ้ายืมทางได้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ใช้กลยุทธ์ยืมทาง จักอ้างเหตุผลในการยืมทางให้ดี เพื่อปกปิดจุดประสงค์ที่แท้จริงของตน ความจริงคำว่า “ศัตรูบังคับให้(อีกฝ่ายหนึ่ง)สยบ เราพึงแสดงท่าที” นั้น ก็คือฉวยโอกาสที่ “อีกฝ่ายหนึ่ง” เพลี่ยงพล้ำ เรายืมมือเข้าไปช่วย แล้วเอาประโยชน์จากนี้ อันที่จริงการกระทำดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ไร้คุณธรรมอย่ายิ่ง แต่ในสงครามหรือการต่อสูงใดๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเรามักจะเป็นปรากฏการณ์เช่นนี้อยู่ทั่วไปในชีวิตจริง เพราะเหตุว่า แต่ละฝ่ายย่อมจะเริ่มต้นจากผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่ หากปราศจากเสียซึ่งการร่วมมืออันถาวร ก็จักไม่มีการช่วยเหลือที่แท้จริง มิตรและศัตรู คำมั่นสัญญากับการปฏิบัติจึงพึงจำแนกให้ชัด พิจารณาให้ถ่องแท้ มิฉะนั้นแล้ว หากเห็นแก่ได้ถ่อยเดียวก็จักสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง แม้กระทั้งชีวิตตน”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘