สามก๊ก ฉบับนักบริหาร:บทที่ 12 ลิฉุย-กุยกี ยังเติ๊ร์กยึดอำนาจ
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้นำทรราชย์อย่างตั๋งโต๊ะ ทำให้คนบริหารทั้งหลายต้องเรียนรู้ว่า ผู้นำที่ดีนั้นควรวิเคราะห์สถานการณ์กับจุดยืนของตนโดยไม่เข้าข้างตัวเองอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ พึงคำนึงถึงผลได้ผลเสียที่กำลังเกิดขึ้น หรือผลที่กำลังจะตามมา กรณีของตั๋งโต๊ะแม้ได้กุมอำนาจทางการเมืองอย่างเด็ดขาด แต่ก็ชะล่าใจไม่คิดว่าอำนาจที่ตนมีอยู่นั้น หาได้ครองใจขุนนางกับคนทั้งปวงได้อย่างทั่วถึงไม่ แม้แต่เสนาธิการอย่างลิซกที่เคยช่วย เมื่อมิได้ผลประโยชน์ลาภยศก็ยังเอาใจออกห่าง ภายนอกยังมีอ้วนเสี้ยวกับทัพหัวเมืองต่าง ๆ คอยสั่นคลอนอำนาจอยู่ ตั๋งโต๊ะยังทำผิดพลาดเชื่อลิยูย้ายเมืองหลวง ใช้อำนาจสั่งยึดทรัพย์เศรษฐี สร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ก่อให้เกิดศัตรูทั้งนอกทั้งในทั่วแผ่นดิน
สิ่งผิดพลาดมหันต์ของตั๋งโต๊ะที่ทำให้ชีวิตถึงแก่วิบัติ มีผู้วิเคราะห์ว่าการหลงไหลเตียวเสี้ยนหญิงงามเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ชาย แต่ตั๋งโต๊ะ ใช้ความธรรมดาในฐานะตำแหน่งที่ไม่ธรรมดา อีกทั้งยังมัวเมาในอำนาจ มิฟังเสียงทัดทานอันชอบด้วยเหตุผล ตั๋งโต๊ะจึงถูกต้อนเข้าสู่มุมอับจนต้องตายอย่างอนาถในที่สุด
สิ้นตั๋งโต๊ะแล้ว แกนนำอำนาจใหม่จึงตกเป็นของอ้องอุ้นกับบริวาร โดยมีลิโป้เป็นฐานกำลัง บรรดาขุนนางข้าราชการทั้งหลายที่เคยแทงกั๊ก ต่างทะยอยมาเข้าด้วยกับกลุ่มอำนาจใหม่ คนในสังคมประเภทใครชนะก็พลอยชนะด้วยมีมากมายทุกยุคสมัย เมื่อลมเปลี่ยนทิศต่างก็จัดแจงเบนหัวเรือให้หันไปตามทางลม นี่คือ ความอ่อนแอของอุดมการณ์แห่งจริยธรรมของสังคมที่น่าสังเวช ฝ่ายอ้องอุ้นกับลูกเขยลิโป้ เมื่อได้อำนาจด้วยความรุนแรงแล้ว ก็ยึดแนวการปกครองบ้านเมืองแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ตั้งหน้าตั้งตาถอนรากถอนโคนขุมกำลังของฝ่ายตรงข้าม เริ่มต้นด้วยการสั่งลิซกกับห้องหูโก๋ คุมทหารห้าหมื่นไปปิดล้อมรุมฆ่าสมัครพรรคพวกก๊วนของอำนาจเก่าตั๋งโต๊ะที่เตียงหันเมืองหลวงใหม่ พร้อมกับริบทรัพย์สมบัติของคนเหล่านั้นเข้าท้องพระคลังจนหมดสิ้น ส่วนลิโป้จำได้ว่าที่ตั๋งโต๊ะทำการขบถชั่วช้า เพราะลิยูเป็นตัวการคอยเสี้ยมสอน เมื่อลิโป้ปรารภความคิดนี้ขึ้นมา ลิซกจึงรับอาสาพากองทหารไปจับตัวลิยูกับลูกเมียรวมทั้งพรรคพวกมาประหารชีวิตทั้งสิ้น ชีวิตยอดกุนซือนักวิชาการคนมีความรู้เก่ง ๆ อย่างลิยู เมื่อคิดผิดไปสวามิภักดิ์ทำงานกับคนอธรรม จุดจบของชีวิตจึงมิได้มีกุศลบุญใด ๆ ที่จะมาช่วยค้ำชูให้รอดพ้นจากภัยพิบัติได้ ที่น่าสังเวชใจยิ่งนักคือ มารดาเฒ่าของตั๋งโต๊ะวัยเกิน 90 กับญาติมิตรของตั๋งโต๊ะ ก็ยังถูกอ้องอุ้นกับลิโป้จับฆ่าเสียจนไม่มีเหลือ มีแต่กองกำลังทหารตั๋งโต๊ะที่มีลิฉุย กุยกี เป็นแม่ทัพ เห็นจวนตัวจึงพากันหนีออกจากเมืองไปตั้งหลักใหม่
ชีวิตของอ้องอุ้นในช่วงนี้ ก็เหมือนกับนักบริหารมืออาชีพทั้งหลาย เมื่อตีเมืองได้ตำแหน่งที่ตัวเองต้อง การมาแล้ว ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะทำงานปกครองบริหารองค์กรกับบ้านเมืองอย่างไร เป็นปัญหาที่นักการทหารอาชีพตระหนักดีว่า การทำปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ยากเย็นทุกข์เข็ญเหมือนกับปฏิวัติแล้วต้องปกครองบริหารบ้านเมือง อ้องอุ้นแทนที่จะยึดถือปรัชญาเดิมในฐานะขุนนางตงฉินที่เห็นแก่ชาติบ้านเมือง เคยเป็นคนรักชาติจนน้ำตาไหล พอมีอำนาจในมือ ความดีงามในตัวก็เริ่มหดหาย ไวรัสแห่งการหวงอำนาจก็เริ่มเพาะขึ้นในตัว กิติศัพท์ในการฆ่าล้างบางฝ่ายตรงข้าม ได้กลายเป็นหลักปฏิบัติของอ้องอุ้นกับพวก ความเลื่อมใสในมวลชนที่เคยนิยมอ้องอุ้นเป็นคนชอบธรรม เป็นผู้ปราบเผด็จการยุคเข็ญของแผ่นดิน ความชื่นชมนั้นกลับกลายเป็นความหวาดผวา ทุกคนเกรงกลัวอำนาจอ้องอุ้น คนที่พวกเขาเคยรักเคยไว้ใจจึงสูญเสียไปอย่างน่าเสียดาย
มีขุนนางตงฉินเก่าคนหนึ่ง เป็นบัณฑิตนักวิชาการความรู้สูง รู้ประวัติศาสตร์ และเป็นผู้เขียนบันทึกพงศาวดาร เป็นที่รักใคร่ของปวงชนชื่อซัวหยง มีความซื่อตรงต่อตัวเองต่อแผ่นดินและต่อโลก เมื่อตั๋งโต๊ะตายได้ไปร้องไห้อาลัยรักศพตั๋งโต๊ะ อ้องอุ้นทราบความจึงโกรธ สั่งทหารให้ไปจับตัวซัวหยงมาสอบสวน อ้องอุ้นตะคอกว่า ตัวเจ้าเป็นขุนนางพระเจ้าเหี้ยนเต้ ตั๋งโต๊ะเป็นศัตรูกับราชบังลังก์ จึงถูกประหารโดยชอบ เหตุใดเจ้าถึงร้องไห้รักตั๋งโต๊ะฉะนี้ เจ้าเข้าด้วยกับพวกกบฏอย่างนั้นหรือ ซัวหยงเจอข้อหาฉกรรจ์คำนับแล้วว่า ข้าพเจ้าจะเข้าด้วยคนผิดนั้นหามิได้ แต่ข้าพเจ้าอาลัยตั๋งโต๊ะที่เห็นคุณค่าข้าพเจ้า และได้ตั้งให้เป็นขุนนาง ความผิดของข้าพเจ้าครั้งนี้ ขอไว้ชีวิตเพื่อทำราชการสนองคุณแผ่นดินสืบไป เพื่อถ้ายังไม่พอใจ ก็ให้ตัดขาของช้าแทนตัดหัว จะได้เขียนพงศาวดารให้จบ ขุนนางเห็นใจในความซื่อสัตย์ของซัวหยง จึงชวนกันขอโทษซัวหยงต่ออ้องอุ้น ม้าหยิดพระราชครูกระซิบอ้องอุ้นว่า ควรยกโทษให้ซัวหยง เพราะเป็นคนดีมีปัญญาความสามารถ ถ้าฆ่าเสียจะถูกราษฎรทั้งปวงครหานินทา แต่อ้องอุ้งไม่ฟัง สั่งให้นำซัวหยงไปจำคุกไว้ แล้วลอบสั่งให้ผู้คุมทำร้ายตรากตรำจนซัวหยงถึงแก่ความตายในปี พ.ศ.192 ม้าหยิดเสียใจถึงกับออกปากกับขุนนางว่าอ้องอุ้นมิได้คิดถึงกาลภายหน้า เมืองใดมีการฆ่าทำลายคนดีมีสติปัญญาความรู้ของแผ่นดิน เมืองนั้นไม่ช้าจะเกิดอันตรายหาอยู่ได้ยั่งยืนไม่
อ้องอุ้นทำผิดพลาดครั้งใหญ่อีกหนหนึ่ง เมื่อลิฉุย กุยกีกับพวก กลุ่มยังเติ๊ร์กแค่นายพัน กองกำลังเก่าของตั๋งโต๊ะหนีไร้แผ่นดินระเห็จไปอยู่เมืองเซียงไส ทรัพย์สินถูกยึดไปหมด จนตรอกแต่งหนังสือมาขอนิรโทษกรรมจากอ้องอุ้น แต่อ้องอุ้นไม่ยอม จะให้อภัยแต่เฉพาะลูกน้อง นายใหญ่จะขอเอาตัวมาฆ่าเสีย เมื่อลิฉุย กุยกีได้ทราบความดังนั้นก็เสียใจ ทีแรกคิดจะแยกทางกันเดิน แต่มีกาเซี่ยงขุนนางรุ่นเก๋าหนาประสบการณ์ทางการเมือง แนะนำทางออกใหม่ว่า ถ้าหนีไม่นานก็ถูกจับ แต่ถ้าหันหน้ามาปลุกระดมชาวเมือง แล้วยกทัพไปตีเมืองหลวง ก็ยังมีทางชนะ ถ้าชนะจับอ้องอุ้นฆ่าเสีย อำนาจก็จะตกมาอยู่ฝ่ายเรา เหตุการณ์ตอนนี้จึงเปรียบอ้องอุ้น ไล่ตีสุนัขจนตรอก จึงถูกสุนัขหวนกลับมากัดเอา
ลิฉุย กุยกี แต่งทหารที่มีสติปัญญาฝีปากดี ๆ ปลุกปั่นม็อบให้ราษฎร์เข้าใจว่า อ้องอุ้นเป็นใหญ่จะยกทหารมาฆ่าชาวเมืองเซียงไสซึ่งหาความผิดมิได้ ถ้าผู้ใดรักชีวิตกลัวตายให้มาเข้าด้วย จึงจะรอดพ้นจากความตายได้ ผู้คนระดับรากหญ้าปัญญามีอยู่แค่นี้ ลิฉุย กุยกีกับพวกก็ได้กองทัพที่มีพลถึงสิบห้าหมื่น ยกทัพไปตีเตียงฮันเมืองหลวง ระหว่างทางกองทัพงิวฮูบุตรเขยตั๋งโต๊ะคุมทหารห้าพันสมทบด้วยจะไปแก้แค้นฆ่าอ้องอุ้น
บ้านเมืองจึงเกิดการสู้รบโกลาหลอีกครั้งหนึ่ง รบพุ่งผลัดกันแพ้ชนะ คนในเมืองเตียงฮันยังมีพวกตั๋งโต๊ะหลงเหลืออยู่เป็นไส้ศึก ลอบเปิดประตูเมืองทั้งสี่ด้าน ลิโป้เห็นเหลือกำลังจึงพาทหารประมาณร้อยคนเศษหนี พอพบอ้องอุ้นลิโป้บอกให้หนี แต่อ้องอุ้นไม่ยอมหนี จะขออยู่กับพระเจ้าเหี้ยนเต้ จึงถูกลิฉุย กุยกีกับพวกฆ่าตายในที่สุด
เหตุการณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้น เป็นความผิดของผู้นำอย่างอ้องอุ้นกับพวกโดยแท้ ดำเนินนโยบายผิดมาแต่ต้น อ้องอุ้นบริหารบ้านเมืองโดยไม่มีนวัตกรรม ใช้สูตรเก่า ๆ ที่ผู้นำเก่า ๆ ทำผิดพลาดอย่างซ้ำซ้อนมาใช้บริหาร ยิ่งใช้ ปรัชญาการบริหารปกครองบ้านเมืองที่ขาดเมตตาธรรม เมื่อได้อำนาจมาแล้ว แต่มิได้แปรให้เป็นอำนาจแห่งความชอบธรรมอย่างแท้จริง มิได้เป็น Benevolent Power ที่จะสร้างศรัทธา ความจงรักภักดีจากก้นบึ้งของหัวใจขุนนางกับประชาชน น่าเศร้าใจที่คนดี ๆ มีความชอบธรรมในยุคนั้น ถูกอำนาจใหม่ภายใต้อ้องอุ้นสั่งอุ้มสั่งเก็บไปมากมาย จนมีคนพูดกันว่า การปกครองที่อ้างว่าดีแค่ไหน ถ้าปราศจากปัญญาและคุณธรรม ก็ไม่ต่างจากความชั่วที่ร้ายกาจ โบราณว่าไว้ ชนะเป็นเจ้า แพ้เป็นกบถ เมื่อเกมการเมืองพลิกผัน เส้นแบ่งระหว่างวีรบุรุษกับมหาโจร จึงอยู่ห่างกันเพียงนิดเดียว
ทั้งหมดนี้คือ ต้นเหตุแห่งการแตกดับของอ้องอุ้น ผู้ถูกอำนาจทำลายเสียซึ่งความดี จนหมดสิ้นแม้แต่ชีวิตของตนเองก็ไม่มีเหลือ
สิ่งผิดพลาดมหันต์ของตั๋งโต๊ะที่ทำให้ชีวิตถึงแก่วิบัติ มีผู้วิเคราะห์ว่าการหลงไหลเตียวเสี้ยนหญิงงามเป็นเรื่องธรรมดาของผู้ชาย แต่ตั๋งโต๊ะ ใช้ความธรรมดาในฐานะตำแหน่งที่ไม่ธรรมดา อีกทั้งยังมัวเมาในอำนาจ มิฟังเสียงทัดทานอันชอบด้วยเหตุผล ตั๋งโต๊ะจึงถูกต้อนเข้าสู่มุมอับจนต้องตายอย่างอนาถในที่สุด
สิ้นตั๋งโต๊ะแล้ว แกนนำอำนาจใหม่จึงตกเป็นของอ้องอุ้นกับบริวาร โดยมีลิโป้เป็นฐานกำลัง บรรดาขุนนางข้าราชการทั้งหลายที่เคยแทงกั๊ก ต่างทะยอยมาเข้าด้วยกับกลุ่มอำนาจใหม่ คนในสังคมประเภทใครชนะก็พลอยชนะด้วยมีมากมายทุกยุคสมัย เมื่อลมเปลี่ยนทิศต่างก็จัดแจงเบนหัวเรือให้หันไปตามทางลม นี่คือ ความอ่อนแอของอุดมการณ์แห่งจริยธรรมของสังคมที่น่าสังเวช ฝ่ายอ้องอุ้นกับลูกเขยลิโป้ เมื่อได้อำนาจด้วยความรุนแรงแล้ว ก็ยึดแนวการปกครองบ้านเมืองแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน ตั้งหน้าตั้งตาถอนรากถอนโคนขุมกำลังของฝ่ายตรงข้าม เริ่มต้นด้วยการสั่งลิซกกับห้องหูโก๋ คุมทหารห้าหมื่นไปปิดล้อมรุมฆ่าสมัครพรรคพวกก๊วนของอำนาจเก่าตั๋งโต๊ะที่เตียงหันเมืองหลวงใหม่ พร้อมกับริบทรัพย์สมบัติของคนเหล่านั้นเข้าท้องพระคลังจนหมดสิ้น ส่วนลิโป้จำได้ว่าที่ตั๋งโต๊ะทำการขบถชั่วช้า เพราะลิยูเป็นตัวการคอยเสี้ยมสอน เมื่อลิโป้ปรารภความคิดนี้ขึ้นมา ลิซกจึงรับอาสาพากองทหารไปจับตัวลิยูกับลูกเมียรวมทั้งพรรคพวกมาประหารชีวิตทั้งสิ้น ชีวิตยอดกุนซือนักวิชาการคนมีความรู้เก่ง ๆ อย่างลิยู เมื่อคิดผิดไปสวามิภักดิ์ทำงานกับคนอธรรม จุดจบของชีวิตจึงมิได้มีกุศลบุญใด ๆ ที่จะมาช่วยค้ำชูให้รอดพ้นจากภัยพิบัติได้ ที่น่าสังเวชใจยิ่งนักคือ มารดาเฒ่าของตั๋งโต๊ะวัยเกิน 90 กับญาติมิตรของตั๋งโต๊ะ ก็ยังถูกอ้องอุ้นกับลิโป้จับฆ่าเสียจนไม่มีเหลือ มีแต่กองกำลังทหารตั๋งโต๊ะที่มีลิฉุย กุยกี เป็นแม่ทัพ เห็นจวนตัวจึงพากันหนีออกจากเมืองไปตั้งหลักใหม่
ชีวิตของอ้องอุ้นในช่วงนี้ ก็เหมือนกับนักบริหารมืออาชีพทั้งหลาย เมื่อตีเมืองได้ตำแหน่งที่ตัวเองต้อง การมาแล้ว ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะทำงานปกครองบริหารองค์กรกับบ้านเมืองอย่างไร เป็นปัญหาที่นักการทหารอาชีพตระหนักดีว่า การทำปฏิวัติรัฐประหาร ไม่ยากเย็นทุกข์เข็ญเหมือนกับปฏิวัติแล้วต้องปกครองบริหารบ้านเมือง อ้องอุ้นแทนที่จะยึดถือปรัชญาเดิมในฐานะขุนนางตงฉินที่เห็นแก่ชาติบ้านเมือง เคยเป็นคนรักชาติจนน้ำตาไหล พอมีอำนาจในมือ ความดีงามในตัวก็เริ่มหดหาย ไวรัสแห่งการหวงอำนาจก็เริ่มเพาะขึ้นในตัว กิติศัพท์ในการฆ่าล้างบางฝ่ายตรงข้าม ได้กลายเป็นหลักปฏิบัติของอ้องอุ้นกับพวก ความเลื่อมใสในมวลชนที่เคยนิยมอ้องอุ้นเป็นคนชอบธรรม เป็นผู้ปราบเผด็จการยุคเข็ญของแผ่นดิน ความชื่นชมนั้นกลับกลายเป็นความหวาดผวา ทุกคนเกรงกลัวอำนาจอ้องอุ้น คนที่พวกเขาเคยรักเคยไว้ใจจึงสูญเสียไปอย่างน่าเสียดาย
มีขุนนางตงฉินเก่าคนหนึ่ง เป็นบัณฑิตนักวิชาการความรู้สูง รู้ประวัติศาสตร์ และเป็นผู้เขียนบันทึกพงศาวดาร เป็นที่รักใคร่ของปวงชนชื่อซัวหยง มีความซื่อตรงต่อตัวเองต่อแผ่นดินและต่อโลก เมื่อตั๋งโต๊ะตายได้ไปร้องไห้อาลัยรักศพตั๋งโต๊ะ อ้องอุ้นทราบความจึงโกรธ สั่งทหารให้ไปจับตัวซัวหยงมาสอบสวน อ้องอุ้นตะคอกว่า ตัวเจ้าเป็นขุนนางพระเจ้าเหี้ยนเต้ ตั๋งโต๊ะเป็นศัตรูกับราชบังลังก์ จึงถูกประหารโดยชอบ เหตุใดเจ้าถึงร้องไห้รักตั๋งโต๊ะฉะนี้ เจ้าเข้าด้วยกับพวกกบฏอย่างนั้นหรือ ซัวหยงเจอข้อหาฉกรรจ์คำนับแล้วว่า ข้าพเจ้าจะเข้าด้วยคนผิดนั้นหามิได้ แต่ข้าพเจ้าอาลัยตั๋งโต๊ะที่เห็นคุณค่าข้าพเจ้า และได้ตั้งให้เป็นขุนนาง ความผิดของข้าพเจ้าครั้งนี้ ขอไว้ชีวิตเพื่อทำราชการสนองคุณแผ่นดินสืบไป เพื่อถ้ายังไม่พอใจ ก็ให้ตัดขาของช้าแทนตัดหัว จะได้เขียนพงศาวดารให้จบ ขุนนางเห็นใจในความซื่อสัตย์ของซัวหยง จึงชวนกันขอโทษซัวหยงต่ออ้องอุ้น ม้าหยิดพระราชครูกระซิบอ้องอุ้นว่า ควรยกโทษให้ซัวหยง เพราะเป็นคนดีมีปัญญาความสามารถ ถ้าฆ่าเสียจะถูกราษฎรทั้งปวงครหานินทา แต่อ้องอุ้งไม่ฟัง สั่งให้นำซัวหยงไปจำคุกไว้ แล้วลอบสั่งให้ผู้คุมทำร้ายตรากตรำจนซัวหยงถึงแก่ความตายในปี พ.ศ.192 ม้าหยิดเสียใจถึงกับออกปากกับขุนนางว่าอ้องอุ้นมิได้คิดถึงกาลภายหน้า เมืองใดมีการฆ่าทำลายคนดีมีสติปัญญาความรู้ของแผ่นดิน เมืองนั้นไม่ช้าจะเกิดอันตรายหาอยู่ได้ยั่งยืนไม่
อ้องอุ้นทำผิดพลาดครั้งใหญ่อีกหนหนึ่ง เมื่อลิฉุย กุยกีกับพวก กลุ่มยังเติ๊ร์กแค่นายพัน กองกำลังเก่าของตั๋งโต๊ะหนีไร้แผ่นดินระเห็จไปอยู่เมืองเซียงไส ทรัพย์สินถูกยึดไปหมด จนตรอกแต่งหนังสือมาขอนิรโทษกรรมจากอ้องอุ้น แต่อ้องอุ้นไม่ยอม จะให้อภัยแต่เฉพาะลูกน้อง นายใหญ่จะขอเอาตัวมาฆ่าเสีย เมื่อลิฉุย กุยกีได้ทราบความดังนั้นก็เสียใจ ทีแรกคิดจะแยกทางกันเดิน แต่มีกาเซี่ยงขุนนางรุ่นเก๋าหนาประสบการณ์ทางการเมือง แนะนำทางออกใหม่ว่า ถ้าหนีไม่นานก็ถูกจับ แต่ถ้าหันหน้ามาปลุกระดมชาวเมือง แล้วยกทัพไปตีเมืองหลวง ก็ยังมีทางชนะ ถ้าชนะจับอ้องอุ้นฆ่าเสีย อำนาจก็จะตกมาอยู่ฝ่ายเรา เหตุการณ์ตอนนี้จึงเปรียบอ้องอุ้น ไล่ตีสุนัขจนตรอก จึงถูกสุนัขหวนกลับมากัดเอา
ลิฉุย กุยกี แต่งทหารที่มีสติปัญญาฝีปากดี ๆ ปลุกปั่นม็อบให้ราษฎร์เข้าใจว่า อ้องอุ้นเป็นใหญ่จะยกทหารมาฆ่าชาวเมืองเซียงไสซึ่งหาความผิดมิได้ ถ้าผู้ใดรักชีวิตกลัวตายให้มาเข้าด้วย จึงจะรอดพ้นจากความตายได้ ผู้คนระดับรากหญ้าปัญญามีอยู่แค่นี้ ลิฉุย กุยกีกับพวกก็ได้กองทัพที่มีพลถึงสิบห้าหมื่น ยกทัพไปตีเตียงฮันเมืองหลวง ระหว่างทางกองทัพงิวฮูบุตรเขยตั๋งโต๊ะคุมทหารห้าพันสมทบด้วยจะไปแก้แค้นฆ่าอ้องอุ้น
บ้านเมืองจึงเกิดการสู้รบโกลาหลอีกครั้งหนึ่ง รบพุ่งผลัดกันแพ้ชนะ คนในเมืองเตียงฮันยังมีพวกตั๋งโต๊ะหลงเหลืออยู่เป็นไส้ศึก ลอบเปิดประตูเมืองทั้งสี่ด้าน ลิโป้เห็นเหลือกำลังจึงพาทหารประมาณร้อยคนเศษหนี พอพบอ้องอุ้นลิโป้บอกให้หนี แต่อ้องอุ้นไม่ยอมหนี จะขออยู่กับพระเจ้าเหี้ยนเต้ จึงถูกลิฉุย กุยกีกับพวกฆ่าตายในที่สุด
เหตุการณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้น เป็นความผิดของผู้นำอย่างอ้องอุ้นกับพวกโดยแท้ ดำเนินนโยบายผิดมาแต่ต้น อ้องอุ้นบริหารบ้านเมืองโดยไม่มีนวัตกรรม ใช้สูตรเก่า ๆ ที่ผู้นำเก่า ๆ ทำผิดพลาดอย่างซ้ำซ้อนมาใช้บริหาร ยิ่งใช้ ปรัชญาการบริหารปกครองบ้านเมืองที่ขาดเมตตาธรรม เมื่อได้อำนาจมาแล้ว แต่มิได้แปรให้เป็นอำนาจแห่งความชอบธรรมอย่างแท้จริง มิได้เป็น Benevolent Power ที่จะสร้างศรัทธา ความจงรักภักดีจากก้นบึ้งของหัวใจขุนนางกับประชาชน น่าเศร้าใจที่คนดี ๆ มีความชอบธรรมในยุคนั้น ถูกอำนาจใหม่ภายใต้อ้องอุ้นสั่งอุ้มสั่งเก็บไปมากมาย จนมีคนพูดกันว่า การปกครองที่อ้างว่าดีแค่ไหน ถ้าปราศจากปัญญาและคุณธรรม ก็ไม่ต่างจากความชั่วที่ร้ายกาจ โบราณว่าไว้ ชนะเป็นเจ้า แพ้เป็นกบถ เมื่อเกมการเมืองพลิกผัน เส้นแบ่งระหว่างวีรบุรุษกับมหาโจร จึงอยู่ห่างกันเพียงนิดเดียว
ทั้งหมดนี้คือ ต้นเหตุแห่งการแตกดับของอ้องอุ้น ผู้ถูกอำนาจทำลายเสียซึ่งความดี จนหมดสิ้นแม้แต่ชีวิตของตนเองก็ไม่มีเหลือ