Trade Like an O’Neil Disciple and The Pocket Pivot Buy Point! หนังสือหุ้นน่าอ่าน และการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค

Trade like O'Neil Disciple แนะนำหนังสือหุ้นน่าอ่าน Trade Like an O’Neil Disciple และสัญญาณเทรดหุ้น The Pocket Pivot Buy Point!
รีวิวหนังสือหุ้นคราวนี้ ผมขอนำหนังสือหุ้นที่พึ่งจะออกมาในปีที่แล้วมาเล่าให้ฟังกันครับ หนังสือหุ้นเล่มนี้ร่วมกันเขียนโดย Gil morales และ Chris Kacher ซึ่งเคยเป็น Trader ให้กับ William O’Neil (เซียนหุ้นต้นตำหรับของสูตรเด็ด C-A-N-S-L-I-M ที่ทุกคนน่าจะพอรู้จักกันดี) โดยพวกแต่ละคนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึงกว่า 18,000% ภายในระยะเวลา 7 ปีเลยทีเดียว

เรื่องคุณภาพของหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ต้องพูดถึงครับ พูดได้เต็มปากว่าอ่านสนุกและคิดว่าดีมากเลยทีเดียว (ใจจริงผมชอบมากกว่าเล่ม Original ของ O’Neil ที่ชื่อว่า How to make money in the stocks market เสียอีก) โดยที่เนื้อหานั้นจะคลอบคลุมเกี่ยวกับการเล่นหุ้นในสไตล์ Momentum Investor หรือแบบ CANSLIM ทั้งในด้าน ทัศนคติ, จิตวิทยาการลงทุน, Money Management และ ระบบการเล่นหุ้น-วิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคและพื้นฐานของพวกเขา
ทีเด็ดของหนังสือหุ้นเล่มนี้มีหลายอย่างมากครับ ตัดสินใจยากที่จะบอกว่าอะไรเด็ดสุด แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบที่มีการลงรายละเอียดคล้ายๆกับ Study Case ในการเทรดจริงๆที่ผ่านมาของพวกเขา ว่าพวกเขาสามารถที่จะทำกำไรถึง 18,000% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 7 ปีได้อย่างไร (ใช่ครับ 180 เท่าครับ อ่านไม่ผิด อิอิ) อีกทั้งยังมีน้ำจิ้มสูตรเด็ดการเข้าซื้อหุ้นแบบใหม่ที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้นมา นั่นก็คือ “The Pocket Pivot Buy Point” ที่จะทำการเข้าซื้อตั้งแต่ราคาหุ้นยังอยู่ในกระเป๋าหรือ “หลุม” (ยังไม่ Breakout) ซึ่งเป็นจุดซื้อที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ซึ่งผมจะทำการสรุปให้อ่านกันคร่าวๆในบทความนี้ครับ (คิดว่าน่าจะเป็นบทความแรกในไทยอีกแล้วครับท่าน หุหุ) อ่านเสร็จแล้วใครสนใจก็ลองหาซื้อมาอ่านได้นะครับ คุ้มค่าแน่นอน และเป็นหนังสือหุ้นที่ควรต้องอ่านครับผม
เซียนหุ้น gil morales และ chris kacher1
Gill morales ,John Kozey นักวิเคราะห์หุ้นจาก Reuters และ Chris Kacher
สุดท้ายนี้ผมจะขอนำเอาบางส่วนของหัวข้อที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้มาให้ได้อ่านกันดูนะครับ น่าจะถูกใจกันพอสมควร :D
The Pocket Pivot Buy Point : สัญญาณซื้อหุ้นที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสาวก CANSLIMer!
สัญญาณ Pocket Pivot Buy Point (PPBP) นั้นเกิดขึ้นมาจากห้องทดลองการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคของ Dr. Kris Kacher (Dr.K Laboratory) ในปี 2005 โดยเป็นผลมาจากการที่พวกเขาพยายามที่จะมองหาสัญญาณบางอย่างในการช่วยกำหนด จุดซื้อ เมื่อตลาดหุ้นอยู่ในภาวะ Sideway เพื่อหลีกเลี่ยงการที่จะโดน Whipsaw จากสัญญาณ Breakout แบบดั้งเดิมที่มักจะเกิดขึ้นจากตลาดในช่วงแบบนี้ สำหรับความหมายของสัญญาณ PPBP นั้น ผมขออ้างโดยย่อมาจากหนังสือเลยนะครับ
“มันคือตัวชี้นำล่วงหน้าของสัญญาณ Breakout ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อหาจุดเข้าซื้อ ในขณะที่หุ้นยังอยู่ในช่วงของการสร้างฐาน ก่อนที่มันจะทำการ Breakout จากฐานของมันขึ้นไปจริงๆ” โดยที่สัญญาณ PPBP นั้นจะช่วยบอกให้เราพอรู้ถึงทิศทางที่หุ้นอาจวิ่งไปต่อในขณะที่สถานการณ์ ต่างๆยังค่อนข้างที่จะกำกวมอยู่ มันจึงมีประโยชน์อย่างมาก ในการที่จะช่วยหาจุดซื้อในขณะที่แนวโน้มราคายังอยู่ในช่วง Sideway นั่นเอง
สุมมุติฐานเบื้องหลังของสัญญาณ Pocket Pivot Buy Point
สำหรับเหตุผลหรือหลักการเบื้องหลังของสัญญาณชนิดนี้นั้น เกิดขึ้นจากการที่พวกเขาได้กล่าวไว้ว่า
“เราได้ค้นพบว่าเหล่ากองทุนทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Hedge Funds, Mutual Funds หรือ Pension Funds ต่างก็ไม่พอใจเท่าไหร่ ในการที่พวกเขาจะต้องเข้าซื้อหุ้นเมื่อมันพึ่งจะ Breakout ขึ้นมาจากแนวต้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว พวกเขาต่างยินดีที่จะซื้อหุ้นไกล้ๆจุดต่ำสุดของพวกมันมากกว่า และอาจหมายถึงว่ายิ่งต่ำเท่าไหร่ก็ยิ่งดีขึ้นด้วย และแน่นอนว่าหากเราลองกลับมานั่งคิดดูให้ดีสักนิด เราจะตระหนักได้ว่าผู้ที่สร้างจุดต่ำสุดหรือฐานของราคาหุ้น ก็คือเหล่ากองทุนพวกนี้นั่นเอง” ดังนั้น “สมมุติฐาน ของ PPBP จึงเป็นสิ่งที่ง่ายมากๆนั่นก็คือ หากว่าแรงซื้อจากเหล่ากองทุนทั้งหลายนั้น คือสิ่งที่สร้างฐานราคาก่อนที่หุ้นแต่ละตัวจะวิ่งทะลุแนวต้านขึ้นไปนั้น เราจึงอาจสามารถจะตั้งสมมุติฐานไว้ได้ว่า หลักฐานหรือร่องรอยบางอย่างของพวกมัน ควรที่จะถูกแสดงให้เห็นออกมาในส่วนด้านล่างของรูปแบบการปรับฐานของราคานั่น เอง ซึ่งมันน่าจะช่วยให้เราได้รับสัญญาณการเข้าซื้อที่มีความเสี่ยงต่ำลงมา โดยเฉพาะเมื่อมันเกิดขึ้นกับหุ้นที่เป็นตัวนำของตลาดในขณะนั้น” และ “เราจะสามารถค้นพบหลักฐานเหล่านี้ได้ จากทั้งในกราฟวัน (Daily Chart) และกราฟรายสัปดาห์ (Weekly Chart) แต่เราจะเลือกใช้กราฟวัน ในการที่เราจะตัดสินได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือสัญญาณ PPBP”
ลักษณะพื้นฐานของ Pocket Pivot Buy Point
จากที่พวกเขาได้เขียนไว้ในหนังสือนั้น เขาได้ระบุเอาไว้ดังนี้
“แนวโน้มของราคาหุ้นควรที่จำแสดงให้เห็นถึงการปรับฐานอย่าง มั่นคง (Constructive Patter) ก่อนที่จะเกิดสัญญาณ PPBP ขึ้น โดยเฉพาะยิ่งฐานราคาที่เกิดขึ้นแน่นมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี (เราควรที่จะเห็นว่าความผันผวนของราคาหรือ Volatility นั้นน้อยมากๆ) นอกจากนี้แล้ว แนวโน้มราคาของหุ้นก็ควรที่จะเคารพหรือยอมรับเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันของพวกมันในขณะที่เกิดการปรับฐานอยู่ (ไม่หลุด) ยกเว้นในบางกรณีเท่านั้นที่เราควรจะเข้าซื้อเมื่อพวกมันเกิดขึ้นเหนือเส้น ค่าเฉลี่ย 50 วันขึ้นไปมากๆ โดยในสัญญาณที่สมบูรณ์แบบนั้น พฤติกรรมของราคา/โวลุ่ม ควรที่จะทำตัวเงียบๆหลายๆวันก่อนที่จะเกิดสัญญาณขึ้น ซึ่งจะตรงกับข้ามกับวันที่เกิดสัญญาณ เพราะในวันที่เกิดสัญญาณขึ้นมานั้น เราควรที่จะเห็นว่าราคาได้วิ่งขึ้นไปอย่างรุนแรง และโวลุ่มการซื้อขายของมันได้เพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ โวลุ่มที่เยอะที่สุดในวันที่ราคาหุ้นตกลงมาภายใน 10 วัน”
ข้อสรุปและการตีความหมายของ Pocket Pivot Buy Point ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
จากที่ผมได้แปลออกมานั้น เราจะเห็นได้ว่ามันยังมีความกำกวมบางอย่างจากภาษาที่ใช้ เนื่องจากพวกเขาก็ไม่ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า พวกเขาให้ความหมายของ “การปรับฐานอย่างมั่นคง หรือ Contructive Pattern” เอาไว้ว่าพวกเขาชี้วัดมันอย่างไร หรือแม้แต่ในกรณีที่บอกว่า “ฐานราคายิ่งแน่น และความผันผวนลดลง” นั้น เราจะสามารถชี้วัดด้วยอะไรไว้อย่างชัดเจน ซึ่งนี่อาจทำให้เกิดความสับสน หรือเกิด Bias จากทัศนคติของคนที่นำไปใช้จริงๆขึ้นมานั่นเอง ดังนั้น ถึงแม้ว่าสัญญาณ PPBP จะเป็นสิ่งน่าสนใจ แต่เราก็ควรทำความเข้าใจหรือสร้างตัววัดอย่างชัดเจนขึ้นมาก่อนนำไปใช้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในขณะลงทุนครับ
ตัวอย่างของการเกิดสัญญาณ Pocket Pivot Buy Point ในตลาดหุ้นไทย
* ไม่ได้มีเจตนาชี้นำหุ้นใดๆนะครับ แค่หยิบตัวที่มันเคยมีสัญญาณชัดๆมาให้ดูเป็นตัวอย่างกันเฉยๆ *
** สัญญาณที่เกิดขึ้น เป็นการ Define ความหมายของ PPBP ตามความเข้าใจของผมนะครับ บางท่านอาจไม่เหมือนกัน เพราะยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกหลายอย่าง ที่พวกเขาได้เขียนเอาไว้ **
*** ใครที่อยากเปิดดูภาพชัดๆให้ click ขวาแล้ว Open in new tab เอานะครับ ***

วันนี้พอเท่านี้ก่อน เดี่ยวมีเวลาจะมาต่อ Series นี้ให้ครับ ชักมันส์มืออยากเขียนต่อ ส่วนใครอยากอ่านลองไปที่หน้า Download ได้ครับ :D

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘