ดร.นิเวศน์ (Thailand Value Investor) เริ่มลงทุนมี 10 ล้าน 12 ปีต่อมามี 800 บาท ทำอย่างไร


ตอน แรกผมก็สงสัยว่า ไอ้สิบล้านจะเป็นแปดร้อยล้านได้อย่างไรในสิบปี (บ้าไปแล้วหรือ)-- แต่พอมาศึกษาวิธีการ Value investor ก็ทำให้ผม “ถึงบางอ้อ”

--คือ อย่างแรกคือ คุณดูว่าบริษัทที่จะลงทุนมีความมั่นคง (นี่สำคัญที่สุด) คือ เติบโตอย่างต่อเนื่องและให้ปันผลที่ดี เราเรียกบรษัทเหล่านี้ว่า”ความเสี่ยงต่ำ”

-- จากนั้นคุณต้องรอ จังหวะ(อย่างอดทน) เพื่อเข้าซื้อหุ้นเหล่านี้ในราคาถูก (ถ้าถูกกว่า Book Value ยิ่งดี) เราเรียกสถานการณ์ที่ว่านี้ว่า “ความไม่แน่นอนสูง” เนื่องจากบริษัทที่ดี จะราคาตกมากก็ต่อเมื่อมีความไม่แน่นอนสูงเกิดขึ้น เช่น คดีมาบตาพุต กับเครือ PTT เป็นต้น

ลองนึกดูซิครับ สมมุติว่าในภาวะปกติ กิจการโรงกลั่นจะมี ราคาหุ้นอยู่ประมาณ 2 เท่ากว่าของ Book Value แต่พอเกิดภาวะอย่าง มาบตาพุต หุ้นตกลงไปราคาต่ำกว่า Book Value ยกตัวอย่าง “บางจาค” ตอนหุ้นตกราคาหล่นไปเหลือ 0.6 ของ Book Value ถ้าคุณถือเอาไว้จนเหตุการณ์ดีขึ้น ราคากลับมาที่2.4 เท่า

--นั่น หมายความว่าคุณกำไร 400% (ถูกไหม) แสดงว่า ถ้าสมมุติใช้เวลา 10 ปี ในการรอให้หุ้นขึ้นจาก 0.6 เท่า ไปเป็น 2.4 เท่า แสดงว่าคุณได้ผลตอบแทนกว่า 40% ต่อปี

ถ้าคุณลอง เริ่มจาก 2 ล้าน คำนวณ 35% compounding เป็นเวลา 10 ปี คุณจะได้เป็น 400 ล้าน -- เห็นไหมครับว่า ความรวยอย่างมหาศาลที่ ดร.นิเวศน์ สร้างใน สิบปี เป็นเรื่องที่ทำได้

-- เพียงแต่คุณต้องหาหุ้น อย่างที่ผมบอก คือ ในระยะเวลาปกติสมมุติว่าขายกันที่ 3 เท่าของ Book พอมันตก ต่ำกว่า Book ก็ให้คุณซื้อไว้ (แค่นี้เอง) แล้วก็ไปขายที่ 3 เท่า ในอีก 4- 5 ปี ซึ่งถ้ามองให้ดีในตลาดก็จะมีหุ้น ถูกแพงวิ่งเป็น Cycle ไปเรื่อย

--รอให้คนโชคดี มาซื้อตอนถูกแล้วก็ขายตอนแพงอย่างคุณและผมไง….. ฮิ ฮิ….. (ดังนั้น ถ้าคุณไปเล่นหุ้นตามคนอื่น เห็นใครเล่นก็เล่นตาม ไม่ได้ศึกษามูลค่าที่แท้จริง คุณก็เป็นได้แค่แมลงเม่าเท่านั้นแหละครับ --จำไว้นะครับ”ซื้อหุ้นที่มีความเสี่ยงต่ำ ในสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง” คือ กฏแห่งความมั่งคั่งอย่างแท้จริง)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘