TAFE รากฐานการศึกษา อาชีวะ ที่สร้าง ออสเตรเลีย


ผม ไปอยู่ ออสเตรเลีย มา "นมนานนัก".. เลยเอาเรื่อง " TAFE สถาบันที่สร้างออสเตรเลีย" มาเล่าให้ฟัง .... ผมเห็นคนส่วนใหญ่นิยมส่งลูกไปเรียน มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะ ปริญญาโท สรุปเรียนจบก็ต้องกลับประเทศเพราะไม่มีงานรองรับ (มีแค่อยู่สาขาที่ เขารับทำงานแต่โดยดี คือ Accounting นอกนั้น "มันเตะกลับ ไปเตะฝุ่นประเทศตัวเอง")... แต่หลายคนคงไม่ทราบว่า TAFE ซึ่งคล้ายๆ อาชีวะบ้านเรา เป็นหลักสูตรแบบเรียนไป ฝึกงานไป เรียกได้ว่า "สอนให้ทำงานจริง ไม่ใช่แค่ตำรา ซึ่งหลายสาขา ก็สร้างงานให้คนต่างชาติมากมาย เช่น เรียนเป็น Chefs พอเรียนจบก็ทำงานเป็นกุ๊กหรู เงินเดือนเป็นแสน"

ประเด็นที่น่าสนใจของ TAFE คือ การสร้าง Apprenticeship คือ สร้างนักศึกษาให้ไปฝึกงานกับธุรกิจจริง ทุกสาขาอาชีพ คือ แบบเรียนไปแล้วก็ทำงานไปด้วย ประมาณ 4 ปี ก็จะได้ Qualify เป็น "มืออาชีพในสายอาชีพนั้น" ตั้งแต่ Builder, Plummer, Electrician , ช่างช่อมรถ , กุ๊ก ...จุดนี้ผมว่า "เมืองไทยน่าเอามาเป็นแบบอย่าง คือ การกระจายการศึกษา.....ของ TAFE นั้นจะกระจายไปอยู่ ทุกเมือง

---จุด นี้เองเป็น "รากฐานการกระจายความรู้" ทำให้ลดช่องว่างของสังคม ..ปัญหาการศึกษาในบ้านเราคือ "ความรู้มันใช้ไม่ได้กับธุรกิจจริง" แต่ของ TAFE คือ เขาเอาธุรกิจสอนเลย แล้วก็มี TAFE คอยช่วยเสริมในเชิงวิชาการ จากนั้นก็เลื่อนระดับความชำนาญไปเรื่อยๆ โดย TAFE ปี 1 จะค่าจ้างถูกมาก(และก็แพงขึ้นเรื่อยๆจนเราเป็น Qualify ในสาขาอาชีพนั้นๆ) --ซึ่งจุดนี้ก็เป็นการส่งเสริมให้ ธุรกิจอยากจ้าง Apprenticeship ของ TAFE เพราะเป็นเด็กเก่ง ค่าแรงถูก แถมได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เช่น ลดภาษีให้ธุรกิจที่จ้างเด็กฝึกงานของ TAFE

บ้านเรามุ่งแต่ Entrance ๆ (มันไม่ได้ตรงกับที่ธุรกิจต้องการเลย) ก็อย่างว่า นะครับ บ้านเราเอา "นักพูดฝีปากกล้า..มาวางนโยบาย" มันจะไปทำงานเป็นได้อย่างไร ..แต่ถ้าใครมีโอกาสส่งลูกหลานเรียนที่ ออสเตรเลีย ผมแนะนำให้ลองมองดู ที่ TAFE บ้าง (น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจครับ).."ความสำเร็จผมว่า เป็นการกล้าที่จะทำในสิ่งที่แตกต่าง ถ้า(ยุคท่าน)อาจจะช้าไป ให้โอกาส(ลูก)ท่านก็ได้ครับ..."

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘