เปิดโลกที่ Supply สำคัญกว่า Demand และลูกค้าคือ “ควาย” ไม่ใช่ “God” …ใช่แล้วครับ!! ผมกำลังพูดถึง Commodity

แค่เริ่มเกริ่นหลายคนก็สงสัยแล้วว่า “ผมพูดอะไรนี่” ..พูดถึง Commodity มันเป็นสิ่งที่เราสัมผัสอยู่รอบตัว แต่เราไม่เคยที่จะทำความเข้าใจ เหมือนคำพูดที่ว่า “มนุษย์มักใส่ใจแก่สิ่งไกล แต่ไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งใกล้ตัว” หนึ่งในกลยุทธ์ The Art of war คือ การมีมิตรไว้ใกล้ตัว แต่ศัตรูเอาไว้ใกล้ยิ่งกว่า ผนวกกับนิสัยมนุษย์ที่ไม่แคร์สิ่งใกล้ .. “บ่อยๆผู้ยิ่งใหญ่ จึงมักตายจากคนใกล้ตัว” (ไฉนเป็นอย่างนั้นไปได้ ..แต่มันคือเรื่องจริง!!)

น้ำตาล , ข้าว ,แป้ง , เหล็ก , สังกะสี , น้ำมัน ,โกโก้ ,กาแฟ ,(พูดไปเรื่อยๆ) นี่แหละ Commodity สรุปง่ายๆมันคือ วัตถุดิบของการบริโภคนั่นเอง …ถ้าคุยกับผู้ประกอบการ เขาก็จะบอกว่า Commodity คือ Cost ของกิจการ คือ ถ้าราคา Commodity แพง เช่น โกโก้แพง บริษัท Chocolate ก็ต้องซื้อวัตถุดิบที่แพงขึ้น นั่นหมายถึง “กำไรที่น้อยลงของกิจการ” ซึ่งท้ายสุดก็ทำให้ “หุ้นแย่!!” ..นี่แหละครับ ความสัมพันธ์ที่แยกกันไม่ออก

ยิ่งใกล้คนยิ่งมองข้าม ..ทุกวันนี้คุณสามารถซื้อขาย Trade หุ้นได้อย่างง่ายดาย ..แต่ถ้าคุณอยาก Trade Commodity “ถามหน่อยคุณจะทำอย่างไร” ---ง่ายสุดคือ คุณต้องไปเปิดบัญชีที่ สิงค์โปร์ หรือ ฮ่องกง .. ปัญหามันคือ กฏหมายบ้านเรานี่แหละ ที่มันไม่เอื้อต่อการ Trading หรือ ที่เรียกว่าการค้า

สิงค์โปร์เกาะเล็กกระติ๋วเดี๋ยว ทรัพยากรก็ไม่มี แต่สิ่งที่เขามีมันมีค่ากว่า ทรัพยากร เพราะเขามี “หัวการค้านั่นเอง” ยกตัวอย่าง การทำ Trade (ก็พ่อค้าคนกลางดีๆนี่แหละ ซื้อมาขายไป)…แต่น แต้น ผมกำลังพาท่านเดินทางสู่มุมมองของ Trading Company บริษัทของคนฉลาด ที่ปิดกั้นคู่แข่ง และสร้างกำไรในวงจำกัดตลอดกาล (โห !! เท่ห์ว่ะ)
Trading Company ทำกำไรจากส่วนต่างของการซื้อมาขายไป รวมทั้งจำกัดความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือ Futures มาช่วยในการป้องกันความเสี่ยง ที่เรียกว่า Hedge นั่นแหละ

นับเป็น หลายพันปี ที่ชาวนา ได้กลายมาเป็น ผู้ประกอบการที่เสี่ยงที่สุดในโลก เพราะคุณไม่สามารถ Control อะไรได้เลย ตั้งแต่ อากาศ น้ำ ลม ..หลังจากหว่านเมล็ด ก็ตามด้วยการแห่นางแมวขอฝน “คุณคงไม่สงสัยนะทำไมชาวนาไทยไม่รวย” ปัญหามันคือ เขาอยู่ในเมืองไทย ..ลองนึกดู ถ้าชาวนาคนเดียวกัน ไปทำนาในออสเตรเลีย เขาก็จะมีระบบชลประทานและเครื่องมือ ที่ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของเขาสูง จนประเทศอื่นๆอิจฉา โดยไม่กระทบแม้อากาศจะแปรปรวนเพียงใด …ประเด็นแรก มันคือ Technology การบริหารน้ำ และเทคโนการใช้เครื่องทุ่นแรง แต่อีกประเด็นที่มองข้ามไม่ได้เลย คือ การรู้จักป้องกันความเสี่ยงของราคาพืชผลด้วยตัวเองโดยการซื้อขาย Futures (ไม่ต้องรอให้รัฐบาลมาประกันราคาข้าว..หุ หุ)

ทุกวันนี้ บริษัทบิ๊กเป้ง มักจะมีหน่วยงานเล็กๆ ที่เข้ามาซื้อขายล่วงหน้าป้องกันความเสี่ยงให้กับทั้งกิจการ ..ถูกแล้วครับ!! ผมกำลังพูดถึงหน่วยงาน Trading …นี่แหละครับที่เราต่างจาก ออสเตรเลีย ..ระบบเขาสอนให้ชาวนารู้จักเครื่องมือตกปลา ขณะที่ระบบเมืองไทยสอนแบบเอาปลายัดปาก แล้วสร้างให้คุณเป็นทาสจนตาย

หากชาวนารู้เรื่องการ Trade Commodity โดยเฉพาะพืชผลที่เขาปลูก ..เขาก็คงไม่จนดักดานอย่างเช่นในปัจจุบัน !!
Blog เล็กๆแห่งนี้ กำลังจะช่วยชาวนาให้สามารถต้านราคาผันผวนของพืชผล และ ช่วยให้ผู้ใฝ่รู้ “รวย!!” ครั้งนี้ไม่ใช่รวยธรรมดา แต่รวยสุดโต่ง !! เพราะ เรากำลังเข้าสู่ยุค Commodity แพง !! “รู้แล้วรวย!! อย่าเอ็ดไปล่ะคุณ…”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘