ต้นกำเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” โดย Stig Ostgaard หน้าที่ 28

“ไม่ว่าเมื่อไหร่ที่แนวโน้มใดๆได้ถือกาเนิดขึ้นมา แล้วเกิดการวกกลับอย่างรวดเร็วนั้น จะมีระดับของราคา ณ จุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากจุดต่าสุดหรือจุดสูงสุดของการวกกลับครั้งล่าสุด ที่เป็นระดับที่แสดงให้เห็นว่า แนวโน้มได้เกิดขึ้นในทางตรงกันข้ามแล้ว เมื่อราคาได้เคลื่อนมาถึงจุดนี้นั้น การลงทุนทุกๆหน่วยที่ถือยู่ในทิศทางของแนวโน้มเดิม ควรที่จะได้รับการขายออกมา เพื่อที่จะจากัดการขาดทุนที่เกิดขึ้น โดยในทางกลับกันนั้น เราไม่ควรที่จะจากัดกาไรที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่ว่าเมื่อไหร่ที่แนวโน้มได้เกิดขึ้น และดาเนินไปอย่างต่อเนื่อง โดยไม่เกิดหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการวกกลับของแนวโน้มที่ดาเนินอยู่นั้น จากหลักของการกระทา “ตามแนวโน้ม” แล้ว เราควรที่จะทาการถือครองการลงทุนต่อไปให้นานที่สุด ตราบใดที่แนวโน้มยังคงดาเนินต่อไปนั่นเอง”
อย่างที่ทราบกันในหมู่นักเก็งกาไรโดยทั่วไปว่า ตัวของ Richard Donchian เองนั้น ไม่เพียงแต่ได้เขียนเรื่องราวของหลักการกระทา “ตามแนวโน้ม” เอาไว้ เขายังเคยเป็นโบรคเกอร์, นักวิเคราะห์ และนักเก็งกาไรอีกด้วย และยังเป็นที่ชัดเจนว่า เขาคือผู้ที่ก่อตั้งกองทุนตลาดอนุพันธ์ล่วงหน้า (Future Fund) ที่ชื่อว่า Future Inc. เป็นคนแรกในปีค.ศ. 1960 โดยยึดหลักการพื้นฐานจากการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการเก็งกาไรของเขา อีกทั้งเขายังได้เขียนวารสารรายอาทิตย์ เกี่ยวกับการเก็งกาไรในตลาดโภคภัณฑ์ที่ชื่อว่า “Trend Timing” ในช่วงนั้นเอาไว้ โดยอ้างอิงจากระบบการลงทุนแบบ “ตามแนวโน้ม” ซึ่งใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 5 – 20 วัน เอาไว้ และยังได้ทาการบันทึกผลการลงทุน จากระบบการลงทุนของเขาเป็นเวลาหลายสิบปีเอาไว้อีกด้วย นอกจากนี้ เขายังเป็นผู้ริเริ่มและบุกเบิกแนวคิด ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่เป็นแนวปฏิบัติโดยทั่วไป สาหรับกองทุนเก็งกาไรในตลาดอนุพันธ์ล่วงหน้าทุกๆกอง นั่นก็คือ แนวคิดของการเก็งกาไรในหลายๆตลาดพร้อมๆกัน ภายในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง โดยเขาได้กล่าวเอาไว้ว่า
“เมื่อผมได้เข้ามาสู่วงการเก็งกาไรในตลาดโภคภัทฑ์เป็นครั้งแรกนั้น ไม่มีใครที่สนใจในแนวคิด “การกระจายความเสี่ยง” (Diversified) อยู่เลย ในสมัยนั้นยังมีแต่นักเก็งกาไรโกโก้, ฝ้าย หรือเมล็ดข้าวแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น พวกเขาเหมือนคนที่อยู่คนละโลกกัน ผมแทบจะเป็นคนแรกๆที่ได้ตัดสินใจ ในการที่จะเก็งกาไรในตลาดเหล่านี้พร้อมๆกัน ไม่มีใครสนใจที่จะมองในภาพใหญ่ และใช้การกระจายความเสี่ยง ควบคู่ไปกับการตัดขาดทุน และร่วมเป็นส่วนหนึ่งไปกับแนวโน้มมาก่อนเลย”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘