ต้นกำเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” โดย Stig Ostgaard หน้าที่ 22

แนวโน้มที่เกิดขึ้นในขณะนั้น และสิ่งที่ผมจดบันทึกเอาไว้ได้บ่งชี้ให้ผมทาเช่นนั้น” โดยเราจะสังเกตุได้ว่า คาว่า “ตาม” นั้น ได้ถูกนามาใช้เนื่องจากความจาเป็น ในการที่จะเน้นยาถึงแนวคิดในการกระทา “ตามแนวโน้ม” ในความหมายของการทาอย่างต่อเนื่องหรือการทาซ้าๆนั่นเอง
แก่นของปรัชญาการเก็งกาไรของ Livermore นั้น อยู่ในสิ่งที่เขาเรียกว่า “จุดหมุน” (Pivotal Points) ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่ทฤษฏีดาว ได้ระบุว่ามันคือจุดสูงสุดและจุดต่าสุดที่มีนัยสาคัญ หรือสิ่งที่ Edward และ Magee ได้เรียกว่า “จุดฐาน” (Basing Points) โดยที่สัญญาณการซื้อ-ขายนั้น จะเกิดขึ้นเมื่อพวกมันถูกละเมิดข้ามไปอย่างมีนัยสาคัญนั่นเอง (ตัวอย่างเช่น หากว่าราคาหุ้นอยู่ที่ $30 เราอาจเผื่อระยะไว้ประมาณ $3 หรือ $6 ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาถึงสภาพตลาดในขณะนั้น)
ดังนั้น เมื่อวิเคราะห์ให้ลึกลงไป เราจะพบว่า สูตรของ Livermore นั้น อาจไม่สามารถเรียกมันได้ว่า เป็นระบบการเข้าซื้อ-ขายแบบ “ทะลุแนวรับ-ต้าน” (Breakout System) หรือ “ทะลุเส้นแนวโน้ม” (Trendline System) ได้อย่างชัดเจน มันค่อนข้างจะโน้มเอียงไปในเชิงของกฏในการกรองสัญญาณ (Filter rule) เสียมากกว่า โดยที่ตัวแปรที่นามาใช้จะไม่คงที่ แต่ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจจากประสบการณ์ของตัว Livermore เอง ซึ่งในปัจจุบัน นี่คือสิ่งเราสามารถที่จะทาการทดสอบ เพื่อหาถึงตัวแปรที่ดีที่สุดออกมาได้อย่างง่ายดายโดยการใช้คอมพิวเตอร์นั่นเอง
แน่นอนว่าแนวทางและวิธีการของ Livermore นั้นย่อมต้องมีข้อดีในตัวมันเองอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ตัวของ Livermore นั้นไม่ใช่นักอ่านกราฟ โดยเขาได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า “โดยส่วนตัวแล้ว กราฟไม่ใช่สิ่งที่น่าสนใจสาหรับผมเลย ผมคิดว่าพวกมันดูสับสนเกินไปสาหรับผม” และนี่เป็นสิ่งที่อาจทาให้ใครหลายๆคนไม่เห็นด้วย เพราะมันดูจะง่ายกว่า ในการที่จะใช้กราฟในการวิเคราะห์เพื่อระบุถึงสิ่งต่างๆที่เขาได้กล่าวเอาไว้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘