ต้นกำเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” โดย Stig Ostgaard หน้าที่ 17

แม้ว่าโดยตัวของทฤษฏีดาวเอง มันอาจดูเป็นสิ่งที่ไม่มีความเป็นคณิตศาสตร์มากนัก อย่างไรก็ตาม มันก็ถือกาเนิดจากการเฝ้าสังเกตุการณ์อย่างมีตรรกะ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต เพื่อที่จะสรุปถึงแนวโน้มและทิศทางของตลาดที่กาลังดาเนินไป และมันก็ไม่ใช่สิ่งที่น่าแปลกใจสักเท่าไหร่ ที่ตัวของทฤษฏีเองไม่ได้แสดงถึงความเป็นคณิตศาสตร์มากนัก เนื่องจากมันถูกพัฒนาขึ้นในยุคก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นมาเสียด้วยซ้า และด้วยความสาเร็จเป็นอย่างมากของทฤษฏีดาวนั้น ยังทาให้มันกลายเป็นรากฐานของรูปแบบการวิเคราะห์ทางเทคนิคในยุคต่อๆมาอีกหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น จากหลักฐานที่ Robert Pretcher ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า R.N. Elliott ได้นาทฤษฏีดาวมาเป็นรากฐานในการพัฒนาทฤษฏีคลื่น “Elliott Wave” ของเขานั่นเอง
นอกจากนี้ เรายังมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าแม้แต่ Richard W. Schabacker, Robert D. Edwards และ John Magee ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคเล่มที่ถูกใช้อ้างอิงมากที่สุด ก็ยังได้รับอิทธิพลทางความคิดเป็นอย่างมากจากทฤษฏีดาวด้วยเช่นกัน จากการที่ทั้ง Edwards และ Magee ได้เขียนเนื้อหาเกี่ยวกับมันเอาไว้ถึง 3 บทในหนังสือ “Technical Analysis of Stock Trends” ของพวกเขา
อันที่จริงแล้ว เราอาจพูดได้ว่าหนังสือ “Technical Analysis of Stock Trends” ซึ่งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1948, หนังสือ “Technical Analysis and Stock Market Profits” ของ Schabaker ซึ่งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1932 และหนังสือ “Profits in The Stock Market” ของ Harold M Gartley ซึ่งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1935 นั้น ถือได้ว่าเป็นการต่อยอดอย่างมากมาย มาจากรากฐานของทฤษฏีดาวเช่นกัน โดยที่พวกมันได้ให้สาระสาคัญเกี่ยวกับรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา เช่น รูปธง (Flag), สามเหลี่ยมชายธง (Pennants), สามเหลี่ยม (Triangles), หัวและไหล่ (Head and Shoulder) และอื่นๆอีกมากมาย ถึงแม้เราอาจจะรู้สึกว่าเนื้อหาเกี่ยวกับรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาเหล่านี้ มันไม่ได้มีอะไรเกี่ยวของกับหลักการกระทา “ตามแนวโน้ม” เลย อย่างไรก็ตาม เมื่อมองให้ลึกลงไปเราจะพบว่าแท้จริงแล้ว ประโยชน์ที่แท้จริงของการที่เราสามารถที่จะแยกแยะรูปแบบต่างๆเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน ก็เพื่อที่จะสามารถระบุถึงสัญญาณของการเริ่มต้นขึ้นของแนวโน้ม, การดาเนินต่อไปของแนวโน้ม และการจบลงของแนวโน้มนั่นเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘