ต้นกำเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” โดย Stig Ostgaard หน้าที่ 09

แท้จริงของเขาได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น ในบางครั้งเขาจะทาการขายออกมาอย่างหนักเพื่อกดราคาก่อนที่จะเริ่มต้นเข้าซื้ออย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม การพยายามทาสิ่งต่างๆของเขานั้น ก็เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการที่จะถือครองการลงทุน ในทิศทางที่เหมาะสมกับแนวโน้มของสภาวะเศรษฐกิจหรือพื้นฐานของบริษัทนั้นๆ
สิ่งเดียวกันนี้ ก็เกิดขึ้นกับนักเก็งกาไรที่ยิ่งใหญ่ของตลาดหุ้น Wall Street ในยุคต่อๆมาเช่นเดียวกัน นั่นก็คือ พวกเขามักที่จะตัดสินใจสิ่งต่างๆจากเงื่อนไขพื้นฐานทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆ ตัวอย่างเช่น ยุคของอุตสาหกรรมการเดินเรือ, รถไฟ, เหมือง หรือการธนาคาร แต่พวกเขาก็เป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังกลไกราคาของตลาดเช่นเดียวกัน เช่นการร่วมมือกับกลุ่มสถาบันต่างๆ (Pools), การโฆษณาชวนเชื่อ (Publicity campaigns), การทุบราคา (Bear raids) หรือแม้กระทั่งการตกแต่งบัญชีหรือปั่นหุ้น (Watering of stock) ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบเบื้องหลังการตัดสินใจเริ่มต้นเข้าถือครองการลงทุนของพวกเขานั้น ค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่ดูซับซ้อนอย่างมากทีเดียว แต่เราก็สามารถที่จะสรุปได้อย่างคร่าวๆว่า โดยเนื้อแท้ของความสาเร็จของพวกเขานั้น ขึ้นอยู่กับการกระทาสิ่งๆต่าง ให้เหมาะสมกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้นๆนั่นเอง
ในช่วงศตวรรษที่ 19 นั้น นักเก็งกาไรในตลาดธัญพืช (Grain Market) ส่วนใหญ่นั้น ก็มักที่จะตัดสินใจเริ่มต้นเข้าถือครองการลงทุนส่วนใหญ่ของพวกเขา จากสภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้ยังถือเป็นปัจจัยที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นเสียส่วนใหญ่ เช่น สภาวะสินค้าสารองในโกดัง, ความสามารถที่รองรับได้ของระบบขนส่ง หรืออาจเป็นสถาพการเติบโตของเศรษฐกิจในท้องถิ่น นอกจากนี้ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 นั้น ก็ถือเป็นยุคสากลของการควบคุมกลไกราคาของตลาด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘