ต้นกาเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” โดย Stig Ostgaard หน้าที่ 05

โดยถึงแม้ว่าการกระทา “ตามแนวโน้ม” ในระดับของความคิดอ่านเช่นนี้ อาจกลายเป็นสิ่งที่ซับซ้อนขึ้นมาอย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม เราก็ยังคงสามารถที่จะระบุถึงองค์ประกอบที่สาคัญของมันได้อยู่ โดยที่มันมีองค์ประกอบหรือปัจจัยที่สาคัญอยู่ 3 อย่าง นั่นก็คือ
1) การเริ่มต้นเข้าซื้อ-ขายโดยมีพื้นฐานการตัดสินใจ จากการรับรู้ถึงสภาวะของแนวโน้มในขณะนั้นๆ
2) การถือครองการลงทุนโดยมีพื้นฐานการตัดสินใจ จากการรับรู้ถึงสภาวะของแนวโน้มในขณะนั้นๆ
3) การออกจากการลงทุนโดยมีพื้นฐานการตัดสินใจ จากการรับรู้ถึงสภาวะของแนวโน้มในขณะนั้นๆ
นอกจากนี้แล้ว ยังมีปัจจัยที่ 4 ที่อาจนับรวมได้นั่นก็คือ : การทาสิ่งต่างๆที่ได้กล่าวมาอย่างเป็นระบบโดยมีตรรกะ หรือจากสูตรทางคณิตศาสตร์นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ผมไม่คิดว่านี่เป็นองค์ประกอบที่จาเป็นต้องมีหรือถือเป็นข้อบังคับ เนื่องจากมันเป็นไปได้ที่เราสามารถที่จะใช้หลักการกระทา “ตามแนวโน้ม” โดยอ้างอิงจากความรู้สึกหรือมุมมองของตัวเราเองได้เช่นเดียวกัน และมันก็ยังมีความเป็นไปได้ ที่เราจะสามารถกระทาสิ่งต่างๆไปตามแนวโน้ม โดยอาศัยการตัดสินใจจากทั้งระบบการลงทุนซึ่งมีตรรกะ ร่วมกับความรุ้สึกและมุมมองของเราได้อีกด้วย ซึ่งความจริงแล้ว ผมเชื่อว่านักเก็งกาไรระดับโลกหลายๆคน ก็มักทาการตัดสินใจจากระบบของพวกเขา ร่วมกับมุมมองและความรู้สึกของพวกเขาในขณะนั้นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในงานเขียนชิ้นนี้ ผมจะขออ้างอิงสิ่งต่างๆ จากการตัดสินใจตามระบบการลงทุนซึ่งมีตรรกะที่ชัดเจนเพียงเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว ระบบการลงทุนในรูปแบบ “ตามแนวโน้ม” ส่วนใหญ่ จะบ่งชี้ให้กระทาสิ่งต่างๆ โดยอ้างอิงจากการเคลื่อนไหวของราคาเพียงเท่านั้น โดยมีพื้นฐานมาจากความเชื่อที่ว่า “หากว่าราคาของตราสารใดๆ จะเกิดการเคลื่อนไหวไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างมากมายนั้น มันจะต้องเริ่มต้นด้วยการเคลื่อนไหวไปในทิศทางนั้นก่อนไม่มากก็น้อย” ผลก็คือ หากว่าเราได้ทาการเข้าซื้อ-ขายในระดับหรือช่วงเวลาที่มันพึ่งจะเริ่มต้นขึ้นมาไม่นานนัก เราจะสามารถทากาไรได้จากระยะทางของแนวโน้มในส่วนที่เหลือ ผ่านการถือครองตราสารการลงทุนใดๆภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั่นเอง
แน่นอนว่า เราไม่สามารถที่จะคาดหวังว่าสถานการณ์เหล่านี้ จะเกิดขึ้นเป็นจริงได้ในทุกๆครั้ง อย่างไรก็ตาม หากว่ามันได้เกิดขึ้นจริงบ่อยครั้งในระดับหนึ่ง และการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นนั้นมีนัยสาคัญที่เพียงพอ เราก็อาจสามารถที่จะคาดหวังได้ว่า เราจะสามารถทากาไรจากมันได้ในระยะยาวนั่นเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘