ต้นกาเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” โดย Stig Ostgaard หน้าที่ 04

Systems หรือแม้กระทั่งระบบการลงทุนอื่นๆนอกเหนือไปจากนี้ ซึ่งสามารถถือได้ว่ามันมีธรรมชาติของระบบในการกระทาไปตามแนวโน้มได้เช่นกัน
คาถามก็คือ ถ้าอย่างนั้น อะไรคือลักษณะร่วมของพวกมัน? และอะไรคือสิ่งที่เป็นธรรมชาติและลักษณะที่แท้จริงของมัน?
ในการที่เราพยายามที่จะระบุหรือนิยามความหมายของมันออกมานั้น ในเบื้องต้นแล้ว ผมพบว่ากลยุทธ์แบบ “ตามแนวโน้ม” นั้น มีลักษณะหรือธรรมชาติของมันหลักๆอยู่สองอย่าง นั่นก็คือ ในระดับหนึ่งนั้น มันคือปรากฏการณ์ซึ่งเกิดขึ้นจากสภาวะทางจิตวิทยาจากความเป็นมนุษย์ของพวกเรา หรือที่ลัทธิเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian) เรียกมันว่า “จิตวิณญาณของสัตว์ (Animal- Spirits)” ซึ่งเป็นผลมาจากส่วนลึกที่สุดในความเป็นมนุษย์ของพวกเรานั่นเอง โดยที่ลักษณะที่เกิดขึ้นของการกระทา “ตามแนวโน้ม” ในรูปแบบนี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เป็นความโน้มเอียง เป็นความสามารถในการปรับตัว และเป็นความสามารถในการวิวัฒนาการของพวกเรา มันเป็นการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมในช่วงขนะนั้นๆ พวกเราทุกๆคนย่อมมีลักษณะของการกระทา “ตามแนวโน้ม” ในลักษณะนี้อยู่ไม่มากก็น้อย และไม่จาเป็นว่ามันจะต้องเกี่ยวกับเรื่องของการเงิน แต่หมายถึงในทุกๆเรื่องรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นวิวัฒนาการของดนตรี, ศิลปะ, การต่างกาย หรือแม้กระทั่งทัศนคติในการมองโลกในแต่ละยุคสมัย
แต่ในอีกระดับหนึ่งของการกระทา “ตามแนวโน้ม” นั้น มันกลับเป็นสิ่งที่แตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิง มันคือระดับของความคิดอ่าน (Meta-Level) ซึ่งอยู่เหนือจากผลกระทบของเหตุการณ์ และผลกระทบทางจิตวิทยาของตัวเราเอง ซึ่งมันจะช่วยให้เราสามารถที่จะทาการสังเกตุถึงพฤติกรรมของตลาดในภาพใหญ่ และช่วยให้เราสามารถที่จะวางแผนการณ์ล่วงหน้า เพื่อตอบสนองไปตามการกระทาต่างๆของตลาดอย่างชาญฉลาดนั่นเอง และนี่เป็นระดับที่นักเก็งกาไรทุกๆคน ควรที่จะที่จะฝึกฝนเพื่อให้เกิดความสามารถ ในการที่จะกระทาสิ่งต่างๆ ในขอบเขตความสามารถในระดับนี้ขึ้นมา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘