ต้นกาเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” โดย Stig Ostgaard หน้าที่ 03

และไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม สิ่งที่พวกเราโดยทั่วไปได้เรียนรู้กันจากอดีตที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ก็มักจะเป็นเป็นเพียงสิ่งที่ผู้คนในยุคเหล่านั้นต้องการที่จะเปิดเผยออกมา หรืออาจเป็นเพียงสิ่งที่นักประวัติศาสตร์คิดว่ามันน่าสนใจเพียงพอ ที่พวกเขาจะได้ทาการเขียนหรือบันทึกมันออกมาให้พวกเราได้ทราบกัน ยกตัวอย่างเช่น พวกเราส่วนใหญ่จะเคยได้ยินเรื่องราวของนักเสี่ยงโชคผู้บ้าระห่า (Plungers), นักปั่นหุ้นหรือจ้าวมือ และการควบคุมกลไกตลาดของพวกเขา (Corner) ไม่ว่าจะเป็น Daniel Drew, Jay Gould, James A. Patten หรือ Arthur Cutten ก็ตาม
อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่งของตลาดนั้น ก็ยังมีนักเก็งกาไรกลุ่มหนึ่งที่อาจไม่มีใครได้เคยรู้จักพวกเขา กาลังนั่งมองดูตลาดอยู่จากวงนอกของเหตุการณ์ เพื่อที่จะทาการวิเคราะห์สภาวะของตลาดในช่วงนั้นๆอยู่ด้วยเช่นกัน ซึ่งบางทีแล้ว พวกเขาอาจประสบความสาเร็จ มากกว่านักเก็งกาไรที่เป็นตานานในยุคของพวกเขาก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม พวกเราในยุคนี้ก็ยังพอที่จะโชคดีอยู่บ้าง ที่ทุกๆอย่างไม่ได้มืดมนไปเสียหมด ยังมีหลายๆสิ่งหลายๆอย่างที่ได้ถูกเปิดเผยออกมา เมื่อเราได้ทาการค้นคว้าย้อนกลับไป จากหลักฐานหลายๆอย่างในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั่นเอง
ทวิลักษณ์แห่งการกระทา “ตามแนวโน้ม”
บางทีแล้ว เราอาจควรที่จะเริ่มต้นสิ่งต่างๆ จากการเริ่มตีความถึงความหมายของมันกันใหม่ นั่นก็คือ กลยุทธ์การเก็งกาไรแบบตามแนวโน้มนั้นแท้จริงแล้วคืออะไร? เป็นไปได้ที่มันจะมีความหมาย หรือรูปแบบมากกว่าอย่างเดียวหรือไม่?
แน่นอนว่า คาว่า “ตามแนวโน้ม” สามารถที่จะถูกตีความ และถูกนาไปใช้ได้ในหลายๆรูปแบบ (อย่างน้อยก็ในปัจจุบันนี้ ซึ่งหลายๆคนใช้มันในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป) ไม่ว่าจะเป็นการที่บางคน อาจใช้มันผ่านระบบการลงทุนแบบ Breakout Systems, Moving Average Systems, Volatility

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘