ต้นกาเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” โดย Stig Ostgaard หน้าที่ 02

ต้นกาเนิดของหลักการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม”

ถึงแม้ว่ากลยุทธ์การเก็งกาไรตามแนวโน้ม หรือ (Trend- Following) นั้น จะได้รับความนิยมและการยอมรับมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วก็ตาม แต่ช่างเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจนัก ที่มีงานเขียนเกี่ยวกับต้นกาเนิดและประวัติของมันเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น แน่นอนว่าเหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจาก การที่ฐานข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับมันในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 นั้น ได้ถูกบันทึกไว้อย่างน้อยนิดเหลือเกิน และอีกเหตุผลหนึ่งก็เนื่องมาจาก การที่ฐานความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การเก็งกาไรตามแนวโน้มนั้น ไม่ได้ถูกเรียบเรียงอย่างสมบูรณ์อย่างชัดเจนจวบจนเมื่อเพียงประมาณ 50 ปีที่ผ่านมานั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เราก็ยังคงพอที่จะแน่ใจได้ว่า ตั้งแต่ราวปีค.ศ. 1950 นั้น แนวทางการเก็งกาไรแบบตามแนวโน้มได้ถูกนามาใช้กันอย่างแพร่หลาย (บางทีอาจเป็นไปได้ว่ามันถูกนามาใช้อย่างแพร่หลายเป็นเวลาเกือบ 100 ปีมาแล้วก็ได้) เพียงแต่ว่าแนวคิดของการเก็งกาไรตามแนวโน้มนั้น ไม่ได้ถูกกล่าวถึงหรือระบุไว้อย่างแน่ชัด หรือแม้กระทั่งถูกตั้งชื่อขึ้นมาอย่างเป็นทางการเหมือนอย่างในทุกๆวันนี้
เหตุผลหนึ่งที่ทาให้มันได้ถูกกล่าวถึงอย่างน้อยมากๆในยุคเริ่มต้นของมันนั้น อาจเป็นเพราะจากความหมายของตัวมันเองก็เป็นได้ นั่นก็คือคาว่า “ตาม” แนวโน้มนั่นเอง เนื่องจากความหมายโดยนัยของการเก็งกาไร “ตามแนวโน้ม” นั้น ค่อนข้างที่จะออกไปในทิศทางของการเชื่องช้า หรือเฉื่อยชา แทนที่จะให้ความรู้สึกของความกล้าหาญ, ความชัดเจน หรือแม้แต่ความมั่นใจ ในขณะที่สัญชาติญาณอย่างมนุษย์ของพวกเราส่วนใหญ่นั้น มีแนวโน้มที่จะชอบหรือโน้มเอียงไปในการกระทารูปแบบที่สองเสียมากกว่า และแน่นอนว่า กลยุทธ์การเก็งกาไรตามแนวโน้มนั้น อาจดูเป็นแนวคิดที่เรียบง่ายเกินกว่าที่มันจะถูกนามาใช้อย่างจริงจังก็เป็นได้
ในความเป็นจริงแล้ว แนวคิดที่เรียบง่ายส่วนใหญ่นั้น มักที่จะต้องใช้เวลาอย่างยาวนาน กว่าที่จะได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณคิดถึงแนวคิดของจานวนติดลบ (Negative Number) หรือจานวนที่มีค่าเท่ากับศูยน์ (Zero Number) มันอาจดูเป็นเรื่องง่ายดายเหลือเกินสาหรับพวกเราในยุคนี้ แต่อย่าลืมว่านี่เป็นสิ่งที่เคยสร้างปัญหา และเป็นปริศนาสาหรับบรรพบุรุษในยุคก่อนๆของพวกเราอย่างมากเลยทีเดียว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘