Introduction to Relative Strength Investing Method

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการคัดกรองหุ้น ด้วยวิธีหาค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์ โดย Robert W. Colby, CMT
หลังจากที่ผมได้ทำการอัพโหลดตารางจัดอันดับความแข็งแกร่งของกลุ่ม อุตสาหกรรมต่างๆในตลาดหุ้นไปนั้น พบว่ามีหลายๆคนที่สนใจและชื่นชอบ แต่ยังมีความสงสัยถึงที่มาที่ไปของมันในหลายๆเรื่อง ผมจึงได้นำเรื่องประวัติความเป็นมาและแนวคิดของมันมาให้อ่านกันคร่าวๆเป็น ครั้งแรกกันครับ
เรื่องของค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์หรือ Relative Strength (คนละตัวกับ RSI) จะว่าเป็นเรื่องใหม่ก็เชิง เพราะความจริงมีคนค้นคว้าและทำการทดลองเกี่ยวกับมันมานานมากแล้ว และถือได้ว่าเป็นตัวกรองหุ้นชนิดหนึ่งซึ่งมีศักย์ภาพที่ดีมากๆ ขนาดที่สามารถจะใช้มันเพียงตัวเดียว (ร่วมกับการควบคุมความเสี่ยง) โดยไม่ต้องดูสัญญาณทางเทคนิคหรือปัจจัยพื้นฐานอื่นๆเลย แต่ก็ยังสามารถที่จะทำกำไรในระยะยาวชนะตลาดได้ไปหลายช่วงตัว เพียงแต่ยังไม่ค่อยแพร่หลายโดยเฉพาะในตลาดหุ้นไทย ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่มันเป็นสิ่งที่ดูจะขัดกับความความเชื่อและสัญชาติ ญาณของคนเราหลายๆอย่างก็เป็นไปได้
บทความชิ้นนี้จะสรุปถึงผลการวิจัยและหลักฐานการทดลองเกี่ยวกับค่า Relative Strength จากที่ต่างๆ และแนวทางในการใช้มันคัดกรองหุ้นให้กับเรา ผมเชื่อว่าหากได้นำไปใช้ร่วมกับระบบในการหาจังหวะซื้อขาย (Trigger หรือ Entry System) ของพวกเราแล้ว ปัญหาที่ว่าหุ้นเกิดสัญญาณพร้อมๆกันหลายๆตัวจะเลือกตัวไหนดี ก็น่าที่จะทุเลาลงมาเป็นอย่างมาก และน่าจะทำให้สามารถเลือกหุ้นเล่นได้ดีขึ้นไม่มากก็น้อย หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ
ตัวอย่างของการนำค่า Relative Strength มา Plot ออกมาในรูปแบบของกราฟราคา เพื่อทำการเปรียบเทียบความแข็งแกร่งของพวกมัน
Relative Strength Comparetive หุ้น
ปล. คอมเมนท์ติชมบอกกันได้นะครับ ถ้ามีคนชอบหรือสนใจเยอะหน่อยเผื่อว่าวันหลังจะเอาเหตุผลเบื้องหลังศักย์ภาพ ของมันมาให้อ่านกันต่อ ก่อนที่จะแปลเรื่องต่อๆไปครับ :D

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘