"เล่นหุ้นอย่างไรที่ความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนสูง"

เพื่อนร่วมงานในออฟฟิศที่ธนาคารกรุงเทพ ถามผมว่า"เล่นหุ้นอย่างไรที่ความเสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนสูง" ผมก็นั่งนึกอยู่แป๊ปนึง -- ผมคิดว่า นี่น่าจะเป็นคำถาม ยอดฮิตสำหรับ "ทุกคน" ที่จะเริ่มเล่นหุ้นอยากถาม -*- ที่ว่า "เสี่ยงต่ำ แต่ผลตอบแทนสูง" ก็ขัดต่อหลักการที่เขาสอนอยู่ใน Textbook ของ Business School แล้ว

(แต่)--- "ไม่ใช่ ไม่มี (มันมีครับ) --"ไอ้ที่ความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนสูง""

--- ไอ้หุ้นที่ว่า ก็คือ "หุ้นที่มี P/BV ต่ำๆ ต่ำกว่า 1 เท่า และให้ปันผลสูงๆ (7-10%ขึ้นไป)"

--- (ทำไมน่ะเหรอ)ก็เพราะหุ้นที่มี P/BV ต่ำๆ แสดงว่า เป็นหุ้นที่นักลงทุนไม่ค่อยเล่น ดังนั้น ความผันผวนจะไม่มาก หรือ "ไม่หวือหวา" ดังนั้น หุ้นจะไม่วิ่งขึ้นลง จนหน้าซีด เหมือนกับหุ้น "ยอดนิยมที่มี P/BV สูงๆ อย่าง PTT , SCC, ADVANC , PTTEP เป็นต้น"

ในเมื่อ P/BV ต่ำ (ความผันผวนต่ำ) แต่ให้ผลตอบแทนสูง --คุณก็จะได้หุ้นที่ปันผลอย่างสม่ำเสมอ --"ดีไหมล่ะครับ"

(อีกประเด็นที่คุณอาจจะสนใจ)คือ "หุ้นที่ว่ามา" มีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นสูงหรือไม่ เพราะเหตุใด? -- (มีครับ เช่น CPALL) คือ เดิมหุ้นเหล่านี้เป็นบริษัทเล็กๆ ยังไม่มีคนสนใจ ราคาหุ้นจึงถูกคือมี P/BV ต่ำมากๆ แต่เนื่องจาก กิจการดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักลงทุนเริ่มสนใจ และเมื่อกิจการเติบโต ขนาดของกิจการก็ใหญ่ขึ้น จนสามารถดึงดูดนักลงทุนรายใหญ่ได้ในที่สุด

ซึ่งใครสามารถซื้อ กิจการเหล่านี้ตั้งแต่ หุ้นยังถูก -- จะได้กำไรแบบมหาศาลทีเดียว และนี่ก็คือ "แนวคิดการลงทุนอีกแบบของ Value Investor นั่นเอง"

และ หุ้น CPALL ก็เป็นหุ้นที่ทำเงินให้ ดร.นิเวศน์ อย่างมหาศาลทีเดียว เพราะแกซื้อไว้ตั้งแต่ P/BV ต่ำมากๆ ตอนนี้วิ่งขึ้นไป 4-5 เท่า (จะไม่ให้แกรวยมหาศาลได้อย่างไร)

-- ตอนนี้แกแอบเก็บ BCP อยู่ (ผมแอบกระซิบแค่นี้) ที่เหลือให้คุณไปศึกษาต่อ (อีกห้าปีมาวัดกันว่า รอบนี้ BCP จะทำให้ ดร.นิเวศน์ รวยขึ้นอีกเท่าไหร่????)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘