“ทางสายกลาง” กับตลาดหุ้น มันคือความจริง!!



ผมนั่งครุ่นคิดเรื่อง “ทางสายกลาง” มานาน แต่เพิ่งมา “ติ้ง!! อิคิวซัง..เข้าใจแล้ว!!”

ผม ใช้เวลาส่วนมากกับข้อมูลและการค้นคว้า (อาชีพที่หมกมุ่นจริง..หุ หุ) สิ่งที่ผมพบก็คือ “ตลาดหุ้นกับ ทางสายกลางมันมี Logic ที่เชื่อมโยงกันกับ Demand & Supply” คือถ้าเราสังเกตุดีๆจะเห็นว่า ตลาดหุ้นจะวิ่งเป็น Cycle เสมอ นั่นก็คือ “การขึ้นและก็ลง” ..ยิ่งตลาดขึ้นแรง (สภาวะ Bubble เกินกว่าพื้นฐานเศรษฐกิจ) ในช่วงขาลงมันก็จะยิ่งลงแรง (ก็ตลาด crash หนักๆอย่างที่เราเห็นปี 1997 ปี 2000 ปี 2008 …ซึ่งถ้าดูจากตัวเลขก่อนที่ตลาดจะ crash มันก็จะเป็น จังหวะที่ peak สุดๆของช่วงเวลานั้นๆ)

สภาวะการเชื่อมโยง หรือ connection point ที่ผมดู ก็คือ “การเติบโตของเศรษฐกิจจริง เทียบกับ การเติบโตของตลาดหุ้น” ถ้าเราให้ “การเติบโตของเศรษฐกิจเป็นทางสายกลาง” จะเห็นได้ว่า ถ้าเรา plot graph เข้ากับ การเติบโตของตลาดหุ้น จะชี้ให้เราเห็นถึง สภาวะ Bubble ของช่วงเวลานั้นๆ --และสิ่งที่นี้เองผมมองว่าเป็น “ทางสายกลาง Indicator”
ประเด็น ที่ผมสนใจ คือ การเล่นหุ้นในขาขึ้น ทุกคนเล่นได้ “ได้กำไร” แต่สิ่งที่ต้อง keep in mind เสมอ นั่นก็คือ ยิ่งการเติบโตของตลาดหุ้น วิ่งฉีกออกจาก “ทางสายกลาง indicator” มากเพียงใด มันบ่งชี้ถึง หายนะ หรือ “ปากเหว” ที่กำลังรอคุณอยู่

สิ่งเหล่านี้ถ้าเรามองประกอบกับ “Human Behavior” คือ ดูสันดานมนุษย์..ว่างั้น!! --- จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ ในระบบทุนนิยมคือ “Greed” (ความโลภนั่นเอง!!) ซึ่ง greed จะเป็นเสมือน “ตัวเร่ง” ของหายนะ (ดังนั้น ตลาดเมื่อขึ้นจะขึ้นมากเกินไป และเวลาลงก็จะลงมากเกินไปเสมอ)

คนที่เข้าใจ “ทางสายกลาง” จึงสามารถมองภาพด้วย Vision ที่ลึกกว่า จึงทำให้่สามารถทำกำไรจากช่องว่างของ Greed ได้ ---เอาเป็นว่า จุดนี้น่าสนใจก็ฝากคนอ่านไปคิดกันต่อ “ถ้าได้ Theory ใหม่ อย่าลืมเอามา discuss แชร์ผมบ้างละกันครับ”
แต่จุดนี้คนเห็นไหมครับว่า “ธรรมะ กับ เศรษฐกิจ บางทีมันแยกกันไม่ได้” ผู้ที่เข้าใจคือ คนที่ยืนอยู่บนจุดที่เหนือกว่าเสมอ!!

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘