มองทะลุภาพลวงของข่าว..แล้วการลงทุนจะนิ่งขึ้น


หาก ใครเกาะติดข่าวสารเหมือนกับผมจะรู้เลยว่า ครึ่งปีหลังมานี่ มันคือ "สงครามข่าวสาร" ซึ่งถ้ามองให้ดีมันก็เป็นเสมือนดาบสองคม คือ ถ้าเราใช้มันผิดๆ มันก็บาดมือนั่นเอง (บางคนปาดคอตายเลย..หุ หุ หุ)

ผม อยากให้ข้อสังเกตุนิดนึงว่า "ข่าวที่ออกมา มันมีผลต่อบริษัทก็จริง แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ ..แล้วมันมีผลจริงๆเมื่อไหร่" ..ยกตัวอย่างการควบรวมบริษัท แน่นอน ตลาดดีใจ หุ้นพุ่งทันที ..ถ้าดูในแง่ของบัญชี ก็สมเหตุสมผล เพราะ การควบรวมกิจการ ก็จะมี asset เพิ่มขึ้น ดังนั้นในแง่ของ Book Value ย่อมเพิ่มขึ้น พร้อมๆกับหนี้สิน ที่ใช้ในการควบรวม ก็ย่อมสูงตาม ..จุดนี้ถ้ามองในแง่ของนักวิเคราะห์ก็จะพูดว่า บริษัทใช้เงินทุนน้อย แต่แปรเปลี่ยนเป็นผลประกอบการที่ดีขึ้น

แต่ในอีกมุมนึง ที่เขาไม่ค่อยพูดถึง ก็คือ ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นตาม!!

"การ ขยายกิจการโดยใช้หนี้ ผู้ถือหุ้นยิ้ม" เพราะไม่ Dilute ในส่วนของเจ้าของ ซึ่งวิธีนี้บริษัท "ไอ้กัน" ชอบมาก อย่าง Private Equity ต่างๆ ที่เข้าไปควบรวมกิจการก็ใช้ Debt Instrument (หรือการสร้างหนี้ทั้งนั้น) ผลก็คือ มันดูดี แถม ROE (Return on Equity) ก็เพิ่มขึ้น

..."การ ขยายกิจการโดย การเพิ่มทุน" อันนี้ผู้ถือหุ้นไม่ชอบ เพราะมันทำให้สัดส่วนการเป็นเจ้าของลดลง แต่ความเสี่ยงก็น้อยกว่าแบบใช้หนี้

ประเด็น อย่าง IVL เป็นประเด็น Classic ที่สามารถยกขึ้นมาดูได้อีกทีว่า การรวมกิจการทำให้ Book Value เพิ่ม และส่งผลให้ P/BV ลดลง ซึ่งในมุมของนักลงทุนที่วิเคราะห์พื้นฐาน ..มันหมายความว่า ราคาหุ้นสามารถขึ้นได้ต่อ โดยที่หุ้นไม่ได้ดูแพงเลย ในสายตาของนัก Fundamental

...ดังนั้น การที่หุ้น IVL ที่เข้า IPO ในราคา 10 บาทต้นปี สามารถขึ้นมาเป็นราคา 60 บาทในปลายปี โดยที่หุ้นไม่ได้แพงขึ้น ---วิธีการที่ทำได้มีไม่กี่วิธี และหนึ่งในวิธีที่นิยมทำกัน ก็คือ การทำ M&A ควบรวมกิจการนั่นเอง!!

ประเด็นถัดมาคือ ในเชิงมูลค่ากิจการไม่ได้ดูแพงขึ้น แต่ความท้าทายมันอยู่ที่ว่า เมื่อรวมกิจการแล้ว มันจะส่งผลให้รายได้ดีขึ้นหรือไม่ ...เพราะท้ายที่สุดแล้ว เป้าหมายของการเติบโต ก็คือ รายได้ และกำไร ดังนั้น มันไม่ได้มีความหมายเลย หากกิจการใหญ่ขึ้นโดยการเอา Asset มารวมๆกองๆกัน แต่ไม่สร้างรายได้

...จุดชี้ขาดจึงอยู่ที่กำไร และ เงินปันผลนั่นเอง

ใน อเมริกาที่ผมเคยยก Case ของ Microsoft มันต่างกับประเทศไทย ตรงที่ว่า กิจการของเขามีโอกาสในการเติบโตระดับโลก ในขณะที่หุ้นของไทยสามารถโตอย่างมาก ก็ระดับภูมิภาค ...ซึ่งจุดนี้ Scope ต่างกันพอสมควร ...จุดนี้ทำให้ Microsoft สามารถเติบโตโดยไม่ปันผลก็ได้ เพราะทุกบาททุกสตางค์ที่ใส่เข้าไปในธุรกิจ มันก่อให้เกิดมูลค่าที่มากกว่าบริษัทเอามาจ่ายปันผล ด้วยเหตุนี้มันจึงสมเหตุสมผลมากที่ Microsoft ไม่ต้องจ่ายปันผล แต่ผู้ถือหุ้นก็รับได้

สิ่งที่ผมอยากจะถามคือ คุณยอมรับการไม่จ่ายปันผลกับบริษัทในประเทศไทยแค่ไหน ..."ส่วนตัวผมรับไม่ได้" เพราะตลาดบ้านเราไม่มีความโปร่งใส ดังนั้นกิจการที่จ่ายปันผล มันจึงดีกว่าบริษัทที่ ไซฟ่อนเอาเงินออกไปถลุงใช้เองในกลุ่มเจ้าของกิจการ

กรณีศึกษาที่สอง ผมอยากจะยกหุ้น ADVANC ที่ผู้มีอำนาจ ใช้ข่าวในการหาประโยชน์อย่างมาก ..ยกตัวอย่างข้อพิพาทในเรื่องของการแบ่งเปอร์เซ็นต์รายได้ ตรงนี้มันเป็นข้อพิพาททางกฏหมายที่ต้องใช้การพิจารณาเป็นระยะยาว ..แต่พอข่าวออก หุ้นตกทันที "สังเกตุไหมครับว่า ปัญหาระยะยาว แต่หุ้นตกทันที ..นี่แหละโอกาสในการเก็งกำไร"

...สมมุติปีหน้ามีข่าว 3G ของ TOT ให้ทุกค่ายได้รับประโยชน์ คราวนี้รายได้กระฉูด ..ดังนั้นปีหน้าหุ้นอาจพุ่งขึ้นไปอย่างแรงทั้ง 3 เจ้า โดยที่ข้อกฏหมายยังอยู่ในกระบวนการศาลก็ได้ --- "ดังนั้น ข่าวที่คุณได้รับ ต้องมาดูว่า แล้วมันมีผลเมื่อไหร่ และอย่างไร ..ถ้าคุณเห็นช่องว่าง มันก็คือ โอกาสในการทำกำไร"

คุณจำกรณีของ THCOM ได้ไหม ..ตอนนั้นบอกรัฐบาลจะยึดดาวเทียมคืน พอประกาศออกไปหุ้น THCOM ตกไปครึ่งนึงลงไป 3 บาทกว่าๆ (ระหว่างที่หุ้นตก ก็มีคนเข้ามาช้อนหุ้นในราคาถูก "ทำไมมันกล้าซื้อ!!")

..จากนั้นไม่ นาน ก็บอกว่ารัฐบาลไปคุยกับสิงคโปร์แล้วเขาไม่ยอมขาย งั้นตกลงไม่ซื้อ... ณ ปัจจุบันราคาก็พุ่งขึ้นมา 6 บาทกว่าๆ กำไรเกิน 50% ในเวลาสั้นๆ กับข่าวสั้นๆ มั่วๆ !!"..."ง่ายๆอย่างนี้อ่ะนะ ..ถ้าเป็นอเมริกา เขาจับนักการเมืองคนนั้นไปขึ้นศาลแล้ว ฐานปั่นหุ้น".."เมืองจีนเขาเอาไปยิงเป้า ..ฮ่า ฮ่า".."แต่เมืองไทยยกย่อง เป็นเทพๆ เก่งเทพ ..งง จริงๆ"

เอาเป็นว่า ฝากตัวอย่าง เหล่านี้ให้ดูเป็นแนวทาง ว่าอย่าไปตื่นเต้น เจอข่าวอะไรก็อ่านและมองให้ทะลุ

.."เราสามารถทำกำไรจากความกลัวของตลาดเสมอ!!"....

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘