การรับรู้รายการ การวัดมูลค่า

การรับรู้รายการ การวัดมูลค่า การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูล ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีกำหนด ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี การตีความมาตรฐานการบัญชีและการตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (ซึ่งอธิบายความหมายในมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงิน) ในกรณีการเลือกใช้และการปฏิบัติตามนโยบายการบัญชี กิจการต้องนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินไปปฏิบัติเป็นการเฉพาะกับรายการ เหตุการณ์ สถานการณ์อื่นทางบัญชีตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่องนั้น
ถ้าไม่มีมาตรฐานการรายงานทางการเงินโดยเฉพาะ ฝ่ายบริหารต้องใช้ดุลยพินิจเลือกนโยบายการบัญชีจากแหล่งต่อไปนี้ตามลำดับคือ 1) ข้อกำหนดและแนวปฏิบัติในมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่คล้ายกันและเกี่ยว ข้อง 2) คำนิยาม เกณฑ์การรับรู้รายการ และแนวคิดการวัดมูลสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่ายที่เป็นองค์ประกอบของงบการเงินตามแม่บทการบัญชี 3) ประกาศของหน่วยงานอื่นที่ใช้แนวคิดคล้ายแม่บทการบัญชีและวิธีปฏิบัติที่เป็น ที่ยอมรับในอุตสาหกรรม โดยนโยบายการบัญชีที่เลือกต้องส่งผลให้ข้อมูลในงบการเงินมีความเกี่ยวข้อง กับการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจและเชื่อถือได้ และปฏิบัติสม่ำเสมอจนกว่าจะมีข้อกำหนดอื่นของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน หรือการเปลี่ยนนโยบายการบัญชีจะทำให้ข้อมูลน่าเชื่อถือและเกี่ยวข้องกับการ ตัดสินใจมากขึ้น แต่ถ้ารายการ เหตุการณ์ สถานการณ์มีความแตกต่างกันหรือไม่เคยเกิดขึ้นในกิจการหรือเคยเกิดแต่ไม่มี สาระสำคัญ ให้ถือว่าไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี นอกจากนี้ การบันทึกมูลค่าสินทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ด้วยราคาที่ตีใหม่ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการปรับมูลค่าตามมาตรฐานการ บัญชีฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552)

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘