0362: ระวังขาดทุน ถ้าไม่ได้อ่าน

ทำไมเจ้าเพื่อนขี้บ่นถึงไม่ยอมเปลี่ยนงาน ?? ทำไมคุณถึงต้องการตู้เย็นมากกว่าหนึ่งตู้ ??
ทำไมถึงไม่มีใครหันไปใช้เอ็นจีวี ??
ทำไมคนรับใช้ในกรุงเทพจึงหายาก ??
ทำไมน้ำราคาถูกจัง ??
ทำไมลองกองจึงต้องแพงกว่าลางสาด ??
ทำไมจึงมีร้านเปิดใหม่ตลอดที่สยามสแควร์ ??
ฯลฯ
เป็นคำถามที่ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ ผู้เขียนหนังสือ เอาตัวรอดด้วยทฤษฎีเกมได้พาคุณไปหาคำตอบเพื่อเข้าใจเศรษฐศาสตร์มากขึ้น ผ่านผลงานหนังสือเล่มล่าสุดของเขา เศรษฐศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร

สิ่ง ที่นรินทร์ทำได้น่าสนใจกว่าการตั้งคำถาม คือการตอบคำถามนี้ด้วยหลักคิดและชุดคำอธิบายพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งวางอยู่บนกฎเหล็กสำคัญของการที่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการกระทำ เหตุผลการตัดสินใจ ผลจากการกระทำ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ จะต้องประเมินค่าได้ และโดยเนียนๆไปเราอาจไม่เคยรู้เลยว่าสิ่งที่เรา “คิด” และให้ “ค่า” ที่วัดได้นับได้นั้นเป็นการสร้างวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์
วิธีคิด 7 ประการที่ทำให้คุณเป็นนักเศรษฐศาสตร์
ประการแรก ต้องเข้าใจก่อนว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ช่างเลือก” (Humans are rational) “เราเลือกอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจว่าทุกสิ่งที่เราเลือกเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตัวเรา”
ประการที่สอง ปริมาณที่ต้องการซื้อ “ยืดได้หดได้ และต้องเข้าใจด้วยว่า ปริมาณที่ต้องการซื้อของคนๆนั้นไม่ได้เท่า กับความต้องการที่คนๆนั้นมี และในทางเศรษฐศาสตร์ปริมาณที่ต้องการซื้อมีความหมายมากกว่าความต้องการ ทำนองเดียวกับที่ความต้องการซื้อตู้เย็นเครื่องที่สองและสามจะเกิดขึ้นตาม เงื่อนไขราคาขายของตู้เย็น
ประการที่สาม ของทุกอย่างมีสิ่งทดแทนเสมอ และไม่มีอะไรเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่มีอะไรมาทดแทนได้ แม้แต่น้ำมันที่เรากลัวกันนักหนาว่าจะหมดจากโลกในสักวัน
ประการที่สี่ ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) คือต้นทุนที่แท้จริง และค่าเสียโอกาสหมายถึง สิ่งที่เราจะเสียไปจากการเลือกทำสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ถ้านาย แพทย์คนหนึ่งไปยืนต่อแถวซื้อโรตีบอย เป็นระยะเวลานานหนึ่งชั่วโมงแทนการไปตรวจรักษาคนไข้ ในขณะที่หนึ่งชั่วโมงในการตรวจรักษาคนไข้ในคลีนิกเอกชนสามารถทำรายได้ให้แพทย์ท่านนั้นอย่างต่ำ 1,000 บาท และหากแพทย์ผู้นั้นใช้ค่าจ้าง 100 บาท ให้คนอื่นไปต่อแถวรอซื้อให้แทน ก็จะเห็นว่าต้นทุนที่แท้จริงของนายแพทย์ท่านนี้ในการยืนต่อแถวซื้อโรตีบอยเท่ากับ 900 บาท
ประการที่ห้า คุณค่าแท้จริงคือคุณค่าส่วนเพิ่มเท่านั้น เพราะของหนึ่งหน่วยเหมือนกัน อาจมีคุณค่าไม่เท่า กัน เช่น เรามักรู้สึกเสมอว่าข้าวจานแรกอร่อยกว่า จานที่สองหรือสาม ในขณะที่เราก็จะรู้สึกด้วยว่าข้าวจานที่สองหรือสามมีปริมาณมากกว่าจานแรก ทั้งที่โดยความเป็นจริงแล้ว ทั้งจานที่หนึ่ง ที่สอง หรือที่สามนั้นมีปริมาณเท่ากัน และปรุงมาในคราวเดียวกัน
ประการที่หก ต้นทุนจมไม่มีผลต่อทางเลือก เพราะคุณได้เลือกไปแล้วก่อนมันที่จะกลายเป็นต้นทุนจม และเพราะต้นทุนจมคือต้นทุนใดๆ ที่คุณไม่สามารถเรียกมันกลับคืนมาได้อีก สินทรัพย์ที่คุณตัดสินใจซื้อไปแล้ว จะมีต้นทุนจมเท่ากับราคาที่คุณซื้อมาและราคาที่ขายไป
และประการที่เจ็ด การแข่งขันทำให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเป้าหมายในวิถีของเศรษฐศาสตร์แนวทุนนืยมเสรี ที่มีเป้าหมายขจัดอุปสรรคของการแข่งขันเพราะเชื่อว่าหากปล่อยให้เกิดการแข่ง ขันเสรี กลไกตลาดจะทำหน้าที่ให้เกิดสิ่งที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (Maximize net benefits) ตามกฎของจุดดุลยภาพที่เส้นอุปสงค์อุปทานตัดกันพอดี
คราวนี้ลองนำวิธีคิดเหล่านี้ มาตอบบางคำถามที่แสดงไว้ในตอนต้นของบทความนี้ดู
อย่างในคำถามแรก ทำไมเจ้าเพื่อนขี้บ่นถึงไม่ยอมเปลี่ยนงาน ผู้เขียนมองว่า “มนุษย์เป็นสัตว์ช่างเลือก” มนุษย์ก็จะไม่มอง เพียงแค่คุณค่าของทางเลือกแต่ละทางเพียงอย่างเดียว ทางเลือกทุกทางย่อมมีต้นทุนของการเลือกอยู่ด้วยเสมอ ดังนั้นมนุษย์ก็จะพิจารณาถึงคุณค่าและต้นทุนของแต่ละทางเลือกประกอบกัน ทางเลือกที่ดีที่สุดคือทางเลือกที่มีผลต่างระหว่างคุณค่ากับต้นทุนของทาง เลือกนั้นสูงที่สุด คือ มนุษย์ชอบทางเลือกที่ “คุ้ม” ที่สุดมากกว่าทางเลือกที่ “เลิศ” ที่สุดแต่ไม่คุ้ม
หรือ อย่างคำถามว่า ทำไมคนรับใช้ในกรุงเทพถึงหายาก ผู้เขียนก็มองในเรื่อง “ค่าเสียโอกาส” ซึ่งจากการที่คนเหล่านี้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพมากขึ้นเพราะมีโรงงานที่ มีความต้องการแรงงานจำนวนมากผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ทางเลือกที่มีมากขึ้นได้ทำให้คนรับใช้เหล่านี้มีค่าเสียโอกาสที่สูงขึ้น แต่บรรดาเจ้าของบ้านในกรุงเทพมหานครต่างหากที่ไม่ทันได้ทันสังเกตถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ จึงไม่ยินดีที่จะจ่ายเงินเดือนคนรับใช้ในอัตราที่สูงขึ้นกว่าเดิมเพื่อชดเชยค่าเสียโอกาสที่คนรับใช้เหล่านี้ต้องมาทำงาน
นี่คือคำอธิบายอย่างย่อลงมาอีกจากสิ่งที่ผู้เขียนได้ย่อและทำให้เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายไว้แล้วในหนังสือเล่มบางๆ ที่ยังอัดแน่นไปด้วยการขยายความเข้าใจไปถึงเศรษฐศาสตร์มหภาค ได้อย่างเชื่อมโยงกับสิ่งที่เป็นเศรษฐศาสตร์รอบตัวเรา
เศรษฐศาสตร์ในกรุงเทพมหานครได้ทำหน้าที่ในการอธิบายให้เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องใกล้และง่ายนิดเดียว และหากเติมจินตนาการเข้าไปในการทำความเข้าใจกับนัยยะ ‘….ในกรุงเทพมหานครเราก็จะพบว่านรินทร์ไม่ได้กำลัง พูดถึงแค่ขอบเขตของระบบเศรษฐศาสตร์ของจังหวัดที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย แต่กำลังใช้แบบจำลองพื้นที่กรุงเทพมหานครเพื่อให้เราเข้าใจเศรษฐศาสตร์ระดับ โลก โดยเริ่มจากจุดเล็กๆที่ตัวเราแต่ละคน
อยากรู้ว่าเป็นยังไง ลองหามาอ่านดูค่ะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘