ประเทศไหนที่มี "คนออมมากๆ" ราคาหุ้นและราคาบ้านกลับถูก (ทำไมล่ะ)


Saving Rate หรือ อัตราการออมของประชาชนบอกอะไรเรา ..หากเราดูอัตรา Saving Rate ของประเทศต่างๆ คือ อเมริกา 3.9% / ญี่ปุ่น 2.8% / Australia 2.5% / Britain 7% / Germany 11.7% / China 38% / India 34.7%..จากตัวเลขเห็นเลยว่า จีนกับอินเดียกลายเป็นประเทศที่มีการออมสูงที่สุด ส่วนอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเป็น The Most Advance Economy กลับมีอัตราการออมของประชาชนที่ต่ำสุดๆ

มองย้อนไปปีที่ผ่านมา อเมริกาเดิมมี Saving Rate แค่ 1.7% แต่ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาเป็น 3.9%(ขนาดเจอวิกฤต คนอเมริกันก็ยังมีอัตราการออมที่ยังคงต่ำอยู่) สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก ประเทศที่พัฒนามากๆ คนจะออมในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่เงินสด อย่างในอเมริกา จะอยู่ในรูปของ อสังหาริมทรัพย์มากที่สุด (เนื่องจากก่อนหน้านี้ความเชื่อที่ว่า บ้านเป็นการลงทุนที่ ดีที่สุด"ราคาบ้านไม่มีวันตก"--แต่ในที่สุด ความเชื่อนั้นก็พังทลายลงในปี 2008 พังไปพร้อมๆกับ Lehman Brother นั่นเอง

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ประเทศที่มีเศรษฐกิจพัฒนามากๆ คนจะมุ่งเข้าถือ Asset เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (เพราะคนในประเทศพัฒนาย่อมมองว่า Asset จะเพิ่มมูลค่า ในขณะที่เงินสดจะมีค่าลดลงเรื่อยๆ "มันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง..แล้วอะไรคือปัญหาล่ะ!!")

ปัญหาหลักของ การที่ Idea นี้ถูก(สั่นคลอน) เนื่องจาก "คนส่วนใหญ่เชื่อว่ามันจะเป็นจริง--ซึ่งการที่ Saving Rate ของคนทั้งประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลานับสิบปี นั่นหมายถึงคนส่วนใหญ่ จะทิ้งเงินสดเพื่อไปถือ Asset แทน" แต่เนื่องด้วย Asset มีจำนวนจำกัด --จึงส่งผลให้ราคา Asset พุ่งขึ้นตลอด อย่างต่อเนื่องยาวนาน (นำโด่งด้วย ราคาบ้าน ที่พุ่งสุดๆ เรียกได้ว่า บ้านในอเมริกาทำสถิติราคาทบต้นทุกๆ 7 ปี อย่างต่อเนื่อง)

ผลที่ตามมาคือ การเกิด Bubble ในราคาบ้านและก็ Asset ต่างๆรวมทั้งตลาดหุ้น ...ถ้าหันกลับมามองประเทศในเอเชียอย่าง จีน ,อินเดีย (รวมทั้งไทย) มี Saving Rate ที่สูง เพราะ"ความไม่เชื่อมั่นในเศรษฐกิจและรัฐบาล"จึงส่งผลให้คนนิยมที่จะถือเงิน สด มากกว่าการถือ Asset

ซึ่งหากเราวิเคราะห์ให้ดี "มันเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า (ในประเทศที่มี Saving Rate สูง ราคา Asset จะถูกกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งตอนนี้ไม่ว่า จีน อินเดีย ไทย ..) --ส่วนอีกด้านคือ (ในประเทศที่มี Saving Rate ต่ำ ย่อมแสดงว่าราคา Asset ในประเทศนั้นน่าจะ Bubble นั่นเอง)..

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘