ปัญหาสายตา มีมากกว่า สั้น ยาว เอียง

�����������
����������� บุคคล ทั่วไป มักจะเข้าใจว่าปัญหาของสายตาและการมองเห็น มีแต่ สายตาสั้น ยาว เอียง ซึ่งจริงๆแล้วเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนัก โดยความเป็นจริง ปัญหาสายตา มีมากและลึกซึ้งกว่านั้น เนื่องจากดวงตาเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่ยื่นออกมาเพื่อทำหน้าที่รับรู้แสงและ ภาพจากภายนอก และส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อประมวลผล สายตาสั้น ยาว หรือเอียง จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งภายในลูกตาเท่านั้น แต่ระบบการมองเห็นมีมากกว่านั้นคือมีระบบรับรู้(เส้นประสาทตา และสมอง) และระบบสั่งการ(เส้นประสาทและกล้ามเนื้อตาที่ใช้สำหรับกลอกตา) โดย ถ้ามีปัญหากับระบบใดระบบหนึ่ง ก็จะส่งผลต่อระบบการมองเห็นได้ จะเห็นว่า ปัญหาของระบบการมองเห็น ไม่ได้มีแค่สั้น ยาว เอียง แต่ยังประกอบไปด้วยส่วนที่ซับซ้อนอีกหลายส่วน
����������� สำหรับคนที่มีปัญหามากกว่า สั้น ยาว หรือเอียง (มีมากกว่า 30% ของผู้มีปัญหาสายตาทั้งหมด) แม้ จะได้รับการแก้ไขปัญหาสายตาแล้ว แต่ก็ยังมีความไม่พอใจกับการมองเห็นเช่นรู้สึกไม่สบายตา ปวดหัว ปวดตา เมื่อใช้สายตาฯลฯ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสายตาอย่างแท้จริงเพื่อแก้ไขปัญหาการ มองเห็นที่ซับซ้อนให้ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านสายตาและระบบการมองเห็น คือ นักทัศนมาตร หรือ Doctor of Optometry, Optometrist หรือเรียกง่ายๆว่า โอดี(O.D. ย่อมาจาก Doctor of Optometry)
����������� โอดี คือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากปริญญา Doctor of Optometry ซึ่งเป็นศาสตร์ที่มีมานานกว่า 100 ปี แล้ว แต่ยังใหม่สำหรับประเทศไทย โดยในประเทศไทย ในปัจจุบัน มีเพียงมหาวิทยาลัยรามคำแหงเพียงแห่งเดียว ที่มีการสอนสาขาวิชานี้ โดยได้รับความร่วมมือกับ School of Optometry, Indiana University, USA ในการส่งอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาสอน โดยระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตรคือ 6 ปี (ปัจจุบัน ทั่วโลกที่พัฒนาแล้วยอมรับว่าหลักสูตร 6 ปีเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐาน สามารถสร้างบุคลากรที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อสังคม ตัวอย่างหลักสูตร 6 ปีเช่นในประเทศ อเมริกา แคนาดา อังกฤษ ออกเตรเลีย และอีกหลายประเทศในยุโรป ฯลฯ) ในปัจจุบัน (.. 2553) มีนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้ว 5 รุ่น รวมทั้งหมดทุกรุ่นจำนวนไม่เกิน 40 คน จะเห็นว่า โอดียังมีจำนวนน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด(มาตรฐานของสหรัฐอเมริกา กำหนดว่าควรมีโอดี 13 คนต่อประชากร 100,000 คน) ดังนั้น ถ้าเทียบแล้ว ประเทศไทยควรมีจำนวนโอดีประมาณ 10,000 คน สำหรับประชากร 60 ล้านคน ดังนั้น โอดีจึงเป็นอาชีพที่ขาดแคลนและมีความต้องการสูงมากอาชีพหนึ่ง
����������� บทบาท ของโอดีในประเทศไทย นอกจากการแก้ไขปัญหาสายตาและการมองเห็นที่ซับซ้อนแล้ว ยังทำหน้าที่คัดกรองผู้ที่มีปัญหาสุขภาพตา เพื่อส่งต่อให้จักษุแพทย์รักษาอีกด้วย เนื่องจากการเรียนการสอนของหลักสูตร Doctor of Optometry ประกอบ ด้วยการเรียนรู้กายวิภาค สรีระวิทยาของดวงตา และโรคตาอย่างละเอียด ร่วมกับการตรวจตาและฝึกงานในภาควิชาจักษุวิทยาในโรงเรียนแพทย์เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลจุฬาฯ โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลพระมงกุฏ ฯลฯ ดังนั้นคนไข้จะได้ประโยชน์ทางด้านการคัดกรองโรคตาเพื่อส่งต่อ ทำให้สามารถตรวจพบโรคได้เร็วขึ้น และส่งต่อให้จักษุแพทย์ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที
����������� บทความในเวบไซต์นี้ตั้งใจเขียนขึ้นเพื่อให้เห็นบทบาทหน้าที่ของโอดีได้ชัดเจนขึ้น โดยมีส่วนที่เป็นกรณีศึกษา ตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาการมองเห็นและการแก้ไขที่ทำได้โดยโอดี เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีปัญหาการมองเห็นที่ซับซ้อน ตัวอย่างของปัญหาเช่น
l������� ใส่แว่นแล้วมองไม่ชัด
l������� ใส่แว่นแล้วเห็นได้ชัดแต่ไม่สบายตา
l������� ปัญหาการใส่คอนแทคเลนส์ เช่น ตาแห้ง กระจกตาติดเชื้อ กระจกตาขาดอ๊อกซิเจน แผลเป็นที่กระจกตา� เซลล์กระจกตาตายฯลฯ
l������� ปัญหาการมองสองตา(Binocular Vision) เช่น Vergence & Accommodation Disorder
l������� ปัญหาเห็นภาพซ้อน (Diplopia) และการใช้ปริซึมแก้ไข เช่น ตาเหล่ตาเข ผ่าตัดสมองทำให้เห็นภาพซ้อน ฯลฯ
l������� ปัญหาสายตาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพตา เช่น เบาหวานขึ้นตา ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม จอประสาทตาหลุดลอกฯลฯ
l������� ปัญหาสายตาและการมองเห็นของเด็ก เช่น ตาขี้เกียจ(Amblyopia) เด็กอยากใส่แว่น ปัญหาการเรียนที่มีผลมาจากปัญหาการมองเห็น ฯลฯ
l������� ปัญหาสายตาผู้สูงอายุ ปัญหาใส่แว่นแล้วไม่สบายตา ทำงานใช้สายตานานๆแล้วปวดตา ปวดหัว ฯลฯ
�����������

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘