การควบคุมสายตา ไม่ให้สั้นเพิ่มขึ้น

การควบคุมสายตาไม่ให้สั้นเพิ่มขึ้น (Myopic Control) 
      สายตาสั้นนับเป็นปัญหาที่สร้างความลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีสายตาสั้นมาก เนื่องจากสายตาสั้นทำให้เห็นสิ่งของที่อยู่ระยะไกลได้ไม่ชัดเจน ยิ่งสายตาสั้นมากยิ่งทำให้ระยะไกลสุดที่มองเห็นได้ชัดเจน ลดลง(เช่น สายตาสั้น -0.50 D จะมองได้ชัดที่ระยะ 2 เมตรโดยไม่ต้องใช้แว่น สั้น -2.00D จะมองได้ชัดที่ระยะ0.5 เมตร หรือสั้น -8.00D จะมองได้ชัดที่ระยะ0.25 เมตร หรือ 25 เซนติเมตร) ดังนั้นสำหรับคนสายตาสั้น -8.00 D(หรือที่เรียกว่า สั้นแปดร้อย) ทุกสิ่งที่ห่างจากตามากกว่าระยะ 1 ไม้บรรทัดจะมองเห็นไม่ชัด คนกลุ่มนี้ต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ตลอดเวลายกเว้นตอนนอน และถ้าลืมว่าก่อนนอนวางแว่นตาไว้ที่ไหน อาจทำให้หาแว่นตาไม่พบได้เลยทีเดียว นอกจากนั้นถ้าหากแว่นตาหายหรือชำรุดจะสร้างความลำบากต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างยิ่ง  
      ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้นมากแทบทุกคนไม่ได้มีสายตาสั้นมากตั้งแต่เกิด ส่วนใหญ่จะเริ่มจากสายตาสั้นเพียงเล็กน้อยและสั้นเพิ่มขึ้นทุกๆปีทำให้มีสายตาสั้นมากในที่สุด เมื่อพ้นช่วงวัยรุ่นแล้วคนส่วนใหญ่มักจะมีสายตาค่อนข้างคงที่แล้วแต่บางคนอาจยังสั้นเพิ่มขึ้นได้ อีก ตัวอย่าง เช่นนายเอ(นามสมมุติ) ปัจจุบันอายุ 20 ปีสายตาสั้น -12.00D (สั้นหนึ่งพันสองร้อย) ตอนแรกเกิด ดช.เอสายตาสั้นเพียง -2.00 D(สั้นสองร้อย) แสดงว่าในระยะเวลา 20 ปี สายตาของ ดช.เอ สั้นเพิ่มขึ้น -10.00 D หรือเฉลี่ยปีละ -0.50D ถ้ามีวิธีที่ชลอสายตาของ ดช.เอให้สั้นช้าลงครึ่งหนึ่งคือ 0.25D ต่อปี จะทำให้เมื่อ ดช.เออายุ 20 ปีจะมีสายตาเพียง -7.00D(สั้นเจ็ดร้อย) ซึ่งต่างจาก -12.00D อย่างมาก 
      ในปัจจุบันนักวิจัยพยายามคิดค้นวิธีต่างๆที่จะช่วยหยุดหรือชลอสายตาไม่ให้สั้นเพิ่ม ขึ้น ณ ปัจจุบัน (ตุลาคม ปี2010) ยังไม่มีวิธีใดๆที่ได้ผล 100%  แต่มีข่าวล่าสุด (กันยายน 2010) นักวิจัยชาวอังกฤษได้ค้นพบยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดสายตาสั้นแล้ว และคาดว่าอีกภายใน 10 ปีข้างหน้าจะสามารถคิดค้นยาที่หยุดสายตาไม่ให้สั้นเพิ่มขึ้นได้  
      ในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีประชากรสายตาสั้นสูงมักให้บุตรหลานของตนได้รับการควบคุมสายตาสั้นแม้ยังไม่มีวิธีใดที่ได้ผล 100% วิธีที่ใช้สำหรับควบคุมสายตาสั้นมีอยู่หลายวิธี การเลือกว่าจะใช้วิธีใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคลโดยควรได้รับคำแนะนำจากนักทัศนมาตร วิธีการควบคุมสายตาสั้นที่นิยมคือ 
1 คอนแทคเลนส์ใส่นอน ชนิด Reverse Geometry คอนแทคเลนส์ดังกล่าวสามารถแก้ไขสายตาทำให้เด็กไม่ต้องใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ในขณะตื่น นอกจากนั้นยังมีผลพลอยได้ที่สำคัญเนื่องจากในงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าการใช้คอนแทคเลนส์ดังกล่าวต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานยังช่วยควบคุมสายตาสั้นไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ด้วย โดยการปรับโฟกัสของแสงที่จกที่จอตาบริเวณริม นับเป็นวิธีที่ได้ผลดีในการควบคุมสายตาสั้น การใช้คอนแทคเลนส์นี้ถ้าเด็กยังอายุน้อย ผู้ปกครองต้องเป็นผู้ช่วยในการใส่และถอดเลนส์ในช่วงแรก 
2 คอนแทคเลนส์ใส่ตอนกลางวัน มีหลักการควบคุมสายตาสั้นคล้ายกับคอนแทคเลนส์ในข้อ 1 แต่ต่างกันตรงที่ว่าจะต้องใส่คอนแทคเลนส์ในเวลากลางวัน วิธีนี้ก็เป็นวิธีที่นิยมแต่มีข้อเสียคือไม่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาตาแห้งหรือผู้ที่มีกิจกรรมบางอย่างเช่น เล่นกีฬาผาดโผน ว่ายน้ำ หรือมีกิจกรรมที่เลอะเทอะเปรอะเปื้อนฯลฯ


 
3การใช้แว่นตา วิธีนี้คือการใช้แว่นตาสำหรับงานระยะใกล้เพื่อลดการเพ่งของเลนส์ตา เช่นเลนส์ชั้นเดียวอ่านหนังสือ เลนส์สองชั้น หรือเลนส์โปรเกรสซีฟเป็นต้น อย่างไรก็ดี แต่ละวิธีมีข้อควรระวังและผลดีผลเสียที่แตกต่างกันดังนี้
    • เลนส์ชั้นเดียวอ่านหนังสือ ราคาถูกที่สุดแต่เด็กจะมองระยะไกลไม่ชัดเจน ไม่แนะนำเพราะว่าจะทำให้เด็กมองสิ่งต่างๆที่อยู่ระยะไกลไม่ชัดเจน ทำให้การเรียนรู้ถูกจำกัด
    • เลนส์สองชั้น ราคาแพงกว่าเลนส์อ่านหนังสือชั้นเดียวแต่ทำให้เด็กมองเห็นชัดทั้งระยะใกล้และไกล มีข้อเสียคือแว่นตามีเส้นแบ่งระหว่างเลนส์ที่เห็นชัด ในปัจจุบันมีบางบริษัทได้ทำเลนส์สองชั้นแบบแบ่งครึ่งกลางกรอบที่มีปริซึมอยู่ที่ชั้นล่าง โดยให้ข้อมูลว่าการมีปริซึมทำให้สามารถควบคุมสายตาสั้นได้ดีขึ้น
    • เลนส์โปรเกรสซีฟ เลนส์ไม่มีรอยต่อทำให้ไม่โดนเพื่อนล้อ เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดทั้งระยะใกล้ กลาง และไกล สำหรับเลนส์นี้ผู้ประกอบแว่นจะต้องมีความเชี่ยวชาญในการประกอบและแนะนำการใช้เลนส์มากกว่าเลนส์ชนิดอื่น
 
4 การหยอดยาลดการเพ่ง  วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมทำในอดีตแต่ปัจจุบันไม่นิยมทำเนื่องจากมีผลเสียหลายอย่างเช่น เด็กจะมีปัญหาแพ้แสงทำให้ต้องใส่แว่นตาดำตลอดเวลาเมื่ออยู่กลางแจ้ง  เด็กมองระยะใกล้ไม่ชัดทำให้ต้องใส่แว่นตาตลอดเวลาเมื่อต้องการทำงานระยะใกล้ และเด็กต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานานหลายปีซึ่งยาดังกล่าวยังมีผลข้างเคียงต่อระบบอื่นๆด้วย
      แม้วิธีดังที่กล่าวมาไม่มีวิธีใดที่ได้ผล 100% ในการควบคุมสายตาสั้น อย่างไรก็ดีในต่างประเทศมีผู้ปกครองจำนวนมากเลือกที่จะควบคุมสายตาสั้นให้บุตรหลาน เนื่องจากเห็นว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัย ดีกว่าปล่อยให้สายตาของบุตรหลานสั้นเพิ่มขึ้นทุกปีโดยไม่ทำอะไรเลย 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘