เลี้ยงลูกให้ “ล้มเหลว” มันดียังไง

ผมชอบคำพูดนึงของ “คุณ ตัน โออิชิ”มากๆ ที่ว่า คนที่สำเร็จมากๆ ย่อมต้องเคยล้มเหลวมามากไม่แพ้กัน… ตรงนี้ มันคือ “สัจธรรม” การที่เดี๋ยวนี้เห็น “พ่อแม่” เลี้ยงลูกแบบ “ไข่ในหิน” ท้ายสุด ลูกไม่เอาไหน สักคน -- ผมว่าจุดนี้คนไทยเราคิดผิด
เพราะเดิมเราเคยยาก ลำบากมา เลยไม่อยากให้ลูกต้องลำบากบ้าง ผลสุดท้าย ลูกก็โดนหลอก --ในที่สุด บั่นปลายของลูกๆ กลับตกอับ (นี่เพราะพ่อแม่ ไม่เข้าใจว่า ความสำเร็จที่ได้มา มันได้จากประสบการณ์ของการก้าวผ่านความล้มเหลวต่างๆที่ สะสมมานั่นเอง)

ดังนั้น การมุ่งแต่สร้างความสำเร็จให้ลูกๆ จึงสร้างเพียง ทางสองแพร่ง…สองอย่างคือ อย่างแรกลูกฆ่าตัวตาย เพราะภูมิคุ้มกันชีวิตต่ำ ไม่เคยผิดหวังเลย พอเจออะไรนิดหน่อย”กูตายดีกว่า” อีกข้อคือ (ให้ลูกไปล้มเหลวตอน…บั่นปลาย)

เพราะ การที่ให้ลูกสะสม แต่ความสำเร็จ ทำให้ชีวิตขาดภูมิคุ้มกันด้านประสบการณ์ ในที่สุดพอเราตายไป ลูกเลยไปโดนหลอก หมดตัวหลังจากนั้น (เพราะความสำเร็จกับความล้มเหลวต้องมาด้วยกัน ซึ่งถ้าเราพยายามสกัดความล้มเหลวให้ออกไป สุดท้ายมันก็ต้อง--- ซัดเข้ามาหาเราอยู่ดี)

ทางออกคือ เรียนที่จะล้ม และก้าวข้ามไป ทุกครั้งที่ล้มเหลว “ต้องก้าวข้ามผ่านไป” --แล้วคุณจะกลายเป็นคนที่สมบูรณ์ และประสบความสำเร็จที่แท้จริง ..ไม่ใช่ความสำเร็จปลอมๆ(ไม่ยั่งยืน) ที่พ่อแม่ หยิบยื่นกิจการให้ทำต่อ --“สุดท้ายก็ไม่รอดอยู่ดี” ก็เพราะมัน (จอมปลอมไง)

… “คุณต้องเรียนรู้ และสร้างเอง” เส้นทางชีวิตและความสำเร็จ มันสืบทอดกันไม่ได้ (วันนี้หลายคนเถียงว่า ผมบริหารได้นี่ไง กิจการครอบครัวยังดีอยู่เลย) ของอย่างนี้ ต้องวัดกันยาวๆครับ

…. คุณหลอกคนอื่นได้ แต่คุณหลอกตัวเองไม่ได้ ถ้าคุณไม่ล้ม คุณไม่มีทาง ยืนเหนือความล้มเหลวได้ เด็กรุ่นใหม่เรียนการขี่จักรยาน และคิดว่าตัวเองเป็นเซียนจักรยาน(โดยที่ไม่เคยลองขี่) ตอนแรกๆลูกน้องพ่อช่วยประคองเลยขี่ได้ คราวนี้ “คะนอง” บอกลูกน้องพ่อ (เต่าล้านปี “กูจะขี่เอง กูเก่ง) สุดท้ายพอลูกน้องพ่อ ปล่อยมือ “จักรยานก็ล้ม” สมน้ำหน้า --ทีน้ีจะโทษใคร???....

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘