สามเหลี่ยมกลวงและเส้นประ


สามเหลี่ยมกลวงและเส้นประคืออะไร

เพื่อนสมาชิกคงจะพบกับสามเหลี่ยมกลวงทั้งสีน้ำเงินและสีบานเย็นพร้อมเส้นประที่เกิดขึ้นในกราฟหุ้น
ของ
RicherStock มาแล้ว บางท่านก็ทราบความหมาย วิธีการอ่านและการใช้งานแล้ว
แต่สำหรับบางท่านที่ยังไม่ทราบ ก็ลองอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมดูนะครับ คิดว่ามีประโยชน์สำหรับใช้
ประกอบในการตัดสินใจเข้าและออกในการซื้อขายหุ้นได้ดีทีเดียวครับ


โปรแกรม richerstock ใช้หลักการคำนวนโดยอาศัย fibonacci และ elliot wave ดังนั้นระดับเส้นประที่เกิดขึ้น
จึงเป็นระดับทีสอดคล้องกับตัวเลข fibonacci นั่นเอง เราจะใช้เส้นประที่เกิดขึ้น เป็นแนว support และ resistant
สำหรับหาจังหวะซื้อและจังหวะขาย



TT
จากกราฟจะพบว่ามีเส้นประที่ระดับ A,B,C และในวันที่ 13 มิย.50 ราคาหุ้น PTT ปรับตัวลดลงเกิดเป็น black candle
ลงมาปิดและนั่งบนเส้นประระดับ A  เทคนิคการใช้เส้นประคือ เมื่อวันที่ 13 ราคาหุ้น เปิดเป็น gap ลงและเราจะรู้ได้อย่างไรว่า
จะลงไปถึงไหน เราก็จะใช้เส้นประระดับ A เป็นแนวรับตรงจุดนี้เรามีวิธีคิดอย่างไร.......?????  ถ้าในวันถัดมา
สภาวะตลาดไม่อำนวยและคาดว่าราคาหุ้น PTT น่าจะลงต่อ เราก็จะใช้เส้นประระดับ Bเป็นเส้นแนวรับถัดไป  
แต่ถ้าในวันถัดมาสภาวะตลาดมีแรงซื้อและปริมาณการซื้อขายมาก เส้นประระดับ A จะเป็นแนว support ที่ strong
นั่นหมายถึงเป็นจังหวะที่เราสามารถเข้าซื้อได้


PTTEP

เมื่อวันที่ 13 มิย 50 ราคาหุ้น PTTEP ก็ปรับตัวลดลงเช่นกันโดยในวันนี้เอง PTTEP ฟอร์มตัวเป็น black candle
ที่ราคาปิดลดลงมานั่งอยู่บนเส้นประระดับ A พอดี ตรงจุดนี้ เราสามารถพิจารณาและวิเคราะห์ต่อไปได้ 2 แนวทางคือ

1. ถ้าราคาหุ้นยังปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เราก็จะรอให้ราคาปรับตัวลดลงมาที่ระดับ B ก่อน หรือถัดไปที่ระดับ C ต่อไป
2. ถ้าราคาหุ้น ไม่เลวร้ายและไม่ลดลงทะลุผ่านเส้นประระดับ A เราก็จะใช้เส้นประระดับ A เป็นแนวรับที่ strong
และหาจังหวะเข้าซื้อได้
LH

หุ้นตัวนี้เมื่อช่วงวันที่ 11 -12 มิย 50 ราคาหุ้นก็ยังย่ำอยู่ในแถบเส้นประระดับ B ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดเส้นประถึง 3 เส้น
ซึ่งก็น่าจะเป็นแนว support ที่ strong พอที่จะดันหุ้นขึ้นไปได้นะ  แต่ปรากฏว่าวันที่ 13 มิย 50 เกิดอาการ panic 
จึงทำให้หุ้นหลายฯตัว พร้อมใจกันปรับลดกันถ้วนหน้า....

ราคาหุ้นในวันที่ 13 มิย 50 ของ LH ก็ปรับลดลงมา ที่แนวรับระดับ C โดยเราสามารถพิจารณาย้อนหลังไปเพื่อหาแนวเส้นประ
เพื่อกำหนดเป็นแนว support ได้ ในขณะที่ราคาหุ้น LH เกิดเป็น black candle ลงมา เราจะวิเคราะห์ว่า ราคาจะลงมาได้ที่
ระดับไหน เราก็ย้อนหลังไปหาแนวเส้นประได้ระดับ C


TTA

การใช้เส้นประเพื่อกำหนดแนว support หรือ resistant นั้น ไม่จำเป็นต้องกำหนดค่าให้ถูกต้อง 100%
เราสามารถใช้ระดับเส้นประนั้นฯ เผื่อค่าบวก/ลบ ได้ หมายถึงพิจารณาเส้นประเป็นค่ายืดหยุ่นเพื่อหาแนวระดับ
support / resistant จากกราฟหุ้น TTA เมื่อวันที่ 12 มิย 50 ราคาหุ้น TTA ปรับตัวลดลงเกิดรูปแบบ black candle
โดยมีราคา low ของวันนั้น ลงมานั่งบนเส้นประระดับ A พอดี และในวันถัดมาคือวันที่ 13 มิย 50 กราฟหุ้นเกิดรูปแบบ
doji ซึ่งมีราคาเปิดและราคาปิดเท่ากัน และอยู่ต่ำกว่า ระดับเส้นประ A ลงมาเล็กน้อย ก็ยังนับได้ระดับเส้นประ A
สามารถเป็นแนว support ได้เช่นกัน

แล้วเราจะวิเคราะห์อย่างไรต่อไป ???????
ถ้าในวันถัดมาราคาหุ้นสามารถปรับตัวขึ้นไปอยู่เหนือเส้นประ A ได้ แสดงว่า ระดับนี้น่าจะ strong และก็หาจังหวะ
เข้าซื้อหุ้นได้ แต่ถ้าในวันถัดมาราคาหุ้นยังขาด volume ก็จะมีผลทำให้ราคาหุ้นของ TTA ปรับตัวลดลงต่อเนื่องได้
เราจะใช้เส้นประระดับ B และ ระดับ C ถัดลงมาเป็นแนว support ต่อไป

หลังจากที่ราคาหุ้นของ PTT ปรับตัวลดลงเมื่อวันที่ 13 มิย 50 และราคาปิดลงมานั่งบนเส้นประระดับ A
หลังจากนั้น วันที่ 14,15,18 ราคาหุ้น PTT ก็ทะยานขึ้นไปเข้าหาแดนเส้นประระดับ T จุดที่น่าพิจารณาคือ
เส้นประระดับ T เราจะใช้เป็นระดับแนวต้าน resistant แทนการเป็นแนวรับ support โดยพิจารณาว่า
ถ้าราคาหุ้น PTTสามารถทะลุระดับนี้ไปได้ เราจะปล่อยให้มันวิ่งไปก่อน แล้วค่อยพิจารณา หาจังหวะขายต่อไป


เหตุของการเกิดสามเหลี่ยมกลวง และ เส้นประนั้น ท่านสามารถหาคำตอบได้ที่www.richerstock.net/SUPPORTLINE/dotline.htm
พิจารณาหุ้น PTTEP หลังวันที่ 13 มิย 50

หลังจากที่ราคาหุ้น PTTEP ได้ปรับตัวลดลงและราคาปิดนั่งบนเส้นประระดับ A ปรากฏว่าในวันถัดมา
คือวันที่ 14,15,18 ราคาหุ้นได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และแท่งกราฟของวันที่ 18 มิย 50 มีจุดที่น่าสังเกตคือ
ราคา high ของวันนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาและชนกับเส้นประระดัย T พอดี ซึ่งเส้นประระดับ T นี้เอง
จะทำตัวเป็นแนวต้าน resistant

สิ่งที่ต้องทำต่อไปคืออะไร ????
ราคาหุ้นในวันที่ 18 ขึ้นมาชนแนวต้านเส้นประ T เราต้องติดตามใกล้ชิดว่า ในวันถัดไป (19 มิย 50)
ราคาหุ้นสามารถที่จะ break out ขึ้นไปได้อีกหรือไม่ ถ้า breakt ได้ เราจะใช้ breaking out method
เพื่อหาราคา  target price ในการขาย แต่ถ้าราคาหุ้น วิ่งเรียบฯเส้นประ และด้วยvolume ในการซื้อขาย
ที่ถดถอย  ตรงจุดนี้ เราต้องพิจารณาหาจังหวะขาย โดยอาจจะขายทั้งหมด หรือ ทยอยขายก็ได้




สำหรับหุ้น LH มีเพิ่มเติมรายละเอียดเล็กน้อยคือ ราคาหุ้นของวันที่ 18 มิย 50 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น และฟอร์มตัวเป็น
white candle โดยที่ราคา high ได้ทะลุแนวเส้นประ B และ A ขึ้นมาได้

ล้วมันจะไปหยุด ที่ระดับแนวต้านที่ไหน??
รูปด้านซ้ายมือนี้เป็นกราฟราคาหุ้นของ LH โดยที่เราปรับระยะเวลาถอยกลับไป 1 ปี
เราจะพบว่า ช่วงเดือนประมาณ Jul-Aug ที่ผ่านมาเกิดเส้นประแนวต้านระดับประมาณ 7.00 พอดี
ควรทำอย่างไรต่อไป ???
ลักษณะนี้แสดงว่าในวันถัดไป ต้องพิจารณาอย่างใกล้ชิด ถ้าราคาหุ้นถดถอยด้วย volume
และหรือราคาหุ้นเกิดอาการลังเล โดยเราจะใช้ความรู้เรื่อง candlestick pattern
ช่วยในการพิจารณา ถ้าราคาหุ้นไม่ผ่านระดับนี้ ก็ควรหาจังหวะทยอยขาย
หรือขายบางส่วน  .......แต่ถ้าวันถัดไปมี volume และราคาหุ้นยังเดินหน้าต่อไป
เราก็ใช้เส้นประระดับถัดขึ้นไป ซึ่งก็คือระดับ T เป็นแนวต้านเพื่อทดสอบว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน...ต่อไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘