ความสำเร็จ มาจากอะไร ?

ความเข้าใจของคนโดยทั่วไป ว่าคนที่ประสบสำเร็จนั้น ไม่ว่าจะเป็นมหาเศรษฐีของโลก ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ เกิดขึ้นจากความพยายาม ไต่เต้า ด้วยแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่น และเริ่มต้นจาก”ศูนย์” หรือเสื่อผืนหมอนใบนั้น อาจจะเป็นการสรุปที่ง่าย และเป็นความเข้าใจผิดหนึ่งที่ยังคงติดในสังคมทุกยุคทุกสมัย
แต่นักสังคมวิทยาสมัยใหม่ กลับมองภาพนี้ต่างกัน และนิยามความสำเร็จนั่นคือผลลัพท์ของการสะสมความได้เปรียบ ที่เรียกว่า Matthew Effect
หากศึกษาลงไปในประวัติลึก ๆ ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของโลก ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬา นักธุรกิจ สิ่งที่เราไม่ค่อยได้รู้นัก คือบุคคลกลุ่มนี้ มิได้เป็นโมเดลที่สมบูรณ์แบบที่เราสามารถเลียนแบบได้ง่าย ๆ แค่อาศัยความพยายาม หรือทฤษฎีต่าง ๆ ในหนังสือ Know how
ใครจะรู้ว่าบิลเกตเป็นลูกในครอบครัวคนมีอันจะกิน ได้เข้าโรงเรียนที่ในไม่กี่โรงเรียนในสหรัฐยุคนั้นที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม ทำให้เค้าได้มีโอกาสได้จับคอมพิวเตอร์ก่อนเด็ก ๆ ในช่วงนั้น และความบังเอิญหลาย ๆ อย่าง ทำให้บิล สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์เมนเฟรมได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งเหมือนถูกล็อตเตอรี่ที่มีไม่กี่ใบให้กับเด็กที่วัยเดียวกับเค้า
เพราะสิ่งที่นักสังคมวิทยาค้นพบคือ ความได้เปรียบเพียงแต่เล็กน้อย ในช่วงเริ่มต้น นำมาซึ่งโอกาสที่มากกว่า และสร้างความแตกต่างที่ใหญ่มากในเวลาถัดมา
ถ้าคุณสังเกต มหาเศรษฐียุคเก่าที่ติดอันดับโลกตลอดกาล ไม่ว่าจะเป็น ร็อกกี้เฟลเลอร์ คาร์เนกี้ เจพี มอร์แกน ต่างเกิดในช่วง 1830s ทั้งสิ้น เพราะช่วง 1860s เกิดการปฏิวัติเศรษฐกิจของอเมริกา ที่จะช่วยให้คนกลุ่มนี้มีอายุเหมาะสมที่จะตักตวงความได้เปรียบก่อนคนอื่น
ไม่ต่างกับเศรษฐียุคใหม่อย่างสตีฟ จ๊อป บิล ฮิวเลต บิลจอย ที่เกิดในช่วง 1950s ที่ได้ประโยชน์จากการเกิดของ PC (Personal Computer) ในช่วง 1970s เป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนั้นยังมีกฎ 10,000 ชม.ในหนังสือ Outliers ที่บอกว่าพรแสวงสำคัญไม่แพ้ หรืออาจจะมากกว่าพรสวรรค์ด้วยซ้ำ ทุก ๆ ความสำเร็จนั้น จะต้องเกิดจากการสร้างความชำนาญ ที่จะต้องฝึกฝนอย่างน้อย 10,000 ชม. ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่บังเอิญอย่างประหลาดว่า นักตนตรีอย่างวง The Beatle ก็เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอย่างหนักกว่าคนอื่น ระหว่างที่ไปเล่นดนตรีตามร้านอาหารในฮัมบูรก์ คนในทุก ๆ วงการที่ประสบความสำเร็จ ต่างก็ผ่าน 10,000 ชม.นี้ โดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวทั้งสิ้น
โมซาร์ตอาจจะแต่งเพลงได้ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แต่คอนแชร์โตที่มีชื่อเสียงและเป็นมาสเตอร์พีซของเค้า ก็ถูกแต่งขึ้นหลังจากที่โมซาร์ตแต่งเพลงนับไม่ถ้วนเป็นเวลาเกือบสิบปี
เทียบเคียงกับการลงทุนแล้ว ผมอ่านหนังสือในการลงทุนไทยในยุค 2530 พบหลักฐานที่ดีพอ ที่อธิบายทฤษฎีเบื้องต้นได้ง่าย ๆ
การลงทุนในอดีต มีการซื้อขายเร็วมาก ทำให้โอกาสแพ้และชนะใกล้เคียงกัน ประกอบกับการลงทุนที่ปราศจากวินัย ทำให้นักลงทุนในอดีตมีโอกาสไม่นานพอที่จะอยู่รอดและลงทุน จนเก็บชั่วโมงครบ 10,000 ชม. เพราะแม้แต่บัฟเฟตหรือโซรอส ก็ผ่านช่วงเก็บชั่วโมงอย่างไม่มีข้อยกเว้น การลงทุนระดับสุดยอดอย่างการซื้อบริษัทโค้ก ก็เกิดขึ้นหลังจากบัฟเฟตเริ่มลงทุนนับสิบปี บัฟเฟตพูดถึงกฎที่สำคัญที่สุดกฎหนึ่งเสมอว่า อย่าขาดทุน ก็เพื่อความอยู่รอด จนเราสามารถฝึกทักษะได้จนชำนาญ
อีกประเด็นหนึ่งคือ มีคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีโอกาสเห็นแนวทางการลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนแนวเทคนิค การลงทุนพื้นฐาน การลงทุนเน้นคุณค่า เข้าสู่ตลาดที่เหมาะสม ในช่วงเวลาที่เหมาะสมมากคือปี 2540 ที่ตลาดกำลัง crash หนัก
ความได้เปรียบเล็ก ๆ แค่นี้ สร้างความแตกต่างอย่างมากในเวลาถัดมา
ผมจะสรุปบทความที่พยายามย่อมาให้ฟังว่า จงอยู่ให้รอดในตลาด และเก็บชั่วโมงในการลงทุนให้ครบ 10,000 ชม. ส่วนโอกาสอื่น ๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่นั้น ต้องพยายามแสวงหาอยู่เสมอ เพราะมันสร้างความได้เปรียบให้คุณในระยะยาว สุดท้ายแข่งอะไรก็ได้จงอย่าแข่งวาสนา แล้วคุณก็จะอยู่รอดในการลงทุน ประสบความสำเร็จ และมีความชีวิตการลงทุนที่ดี

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘