มาทดสอบระบบการมองเห็นกันเถอะ

ระบบ การมองเห็น เป็นระบบที่ซับซ้อน เนื่องจากเป็นการทำงานร่วมกันของหลายระบบ ได้แก่ ระบบการหักเหแสง ระบบการรับรู้ และระบบสั่งการ โดยการทดสอบระบบการมองเห็น มีวิธีการมากมาย แล้วแต่ว่าต้องการเน้นทดสอบระบบไหน อย่างไร ระบบที่เกี่ยวข้องอาจแบ่งได้เป็นสามระบบหลักคือ ระบบการหักเห(Refractive) ระบบการควบคุมกล้ามเนื้อตา(Motor) และระบบการรับรู้(Sensory)
            ปัญหาการมองเห็น ไม่ได้มีแต่ สายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียงเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาอย่างอื่นอีกมากมายหลาpปัญหา ผู้เขียนจึงรวบรวมการทดสอบอย่างง่าย ที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพื่อทำให้ทราบว่าการมองเห็นของท่านมีปัญหาหรือยัง อย่างไรก็ดีถ้าทำแบบทดสอบผ่านหมด ก็ไม่ได้หมายความว่า ท่านไม่มีปัญหาการมองเห็น เนื่องจากการทดสอบในนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และยังมีการทดสอบอีกหลายอย่างที่ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ จึงจะสามารถทำการทดสอบได้อย่างถูกต้อง

(รูป VA chart @ distance 20/20, 20/30, 20/40)
ทดสอบการมองเห็นระยะไกล
1.      วาง VA Chart(Distance) ห่างจากดวงตา 6 เมตร ในที่ๆมีแสงสว่างเพียงพอ
2.      ใช้มือบังตาซ้าย ใช้ตาขวามองเพียงข้างเดียว
3.      พยายามอ่านตัวเลข โดยไม่หยีตามอง
4.      ทำซ้ำ โดยบังตาขวา และใช้ตาซ้ายมอง
  1. ผู้ที่สายตาปกติ ควรอ่านตัวเลข หรือตัวหนังสือ บรรทัดล่างสุดได้ทุกตัว(อายุผู้ทดสอบอยู่ในช่วง 15-55 ปี)
  2. ผู้ ที่ไม่สามารถอ่านตัวหนังสือบรรทัดกลางได้ทุกตัว ควรได้รับการตรวจระบบการมองเห็นเพื่อดูว่าสาเหตุที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัด เกิดจากสาเหตุใด เพื่อทำการแก้ไขต่อไป




(รูป VA chart @ near 20/20, 20/30, 20/40)
ทดสอบการมองเห็นระยะใกล้
1.      วาง VA Chart(Near) ห่างจากดวงตา 40 เซนติเมตร ในที่ๆมีแสงสว่างเพียงพอ
2.      ใช้มือบังตาซ้าย ใช้ตาขวามองเพียงข้างเดียว
3.      พยายามอ่านตัวเลข โดยไม่หยีตามอง
4.      ทำซ้ำ โดยบังตาขวา และใช้ตาซ้ายมอง
5.      ผู้ที่สายตาปกติ ควรอ่านตัวเลข หรือตัวหนังสือ บรรทัดล่างสุดได้ทุกตัว
6.      ผู้ ที่ไม่สามารถอ่านตัวหนังสือบรรทัดกลางได้ทุกตัว ควรได้รับการตรวจระบบการมองเห็นเพื่อดูว่าสาเหตุที่ไม่สามารถมองเห็นได้ชัด เกิดจากสาเหตุใด เพื่อทำการแก้ไขต่อไป


Dial Clock Chart(Near)
ทดสอบค่าสายตาเอียง
1.      วางรูป Dial. ไว้ที่ระยะ 40 เซนติเมตร
2.      ใช้มือบังตาซ้าย ใช้ตาขวามองเพียงข้างเดียว
3.      สังเกตเส้นแต่ละเส้น ว่ามีเส้นทุกเส้นมีความเข้มหรือคมชัดเท่ากันหรือไม่
4.      ถ้าเส้นทุกเส้นมีความเข้ม หรือคมชัดไม่เท่ากัน แสดงว่าตาข้างที่ใช้มองอยู่มีสายตาเอียง
5.      ถ้าทุกเส้นมีความเข้มหรือคมชัด เท่าๆกัน แสดงว่าตาข้างที่ใช้มองอยู่ไม่มีค่าสายตาเอียง หรืออาจมีค่าสายตาเอียงอยู่น้อย
6.      ทำซ้ำโดยใช้มือบังตาขวา และใช้ตาซ้ายมองเพียงด้านเดียว
7.      ตาทั้งสองข้างไม่จำเป็นต้องเอียงเท่ากัน

Phoria @ distance
ทดสอบตาเขซ่อนเร้นที่ไกล
1.      มองวัตถุขนาดเล็ก ขนาดประมาณเหรียญสิบบาท ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 6 เมตร ตาทั้งสองข้างมองที่เหรียญ
  1. ใช้มือบังตาขวา ห่างจากตาเล็กน้อย(ประมาณ 1 นิ้ว)
  2. เลื่อนมือที่บังตาขวา มาบังตาซ้ายอย่างรวดเร็ว สังเกตรูปที่มองอยู่ว่ามีการเคลื่อนที่หรือไม่
  3. ทำซ้ำโดยเลื่อนมือที่บังตาซ้ายอยู่ ไปบังตาขวา สังเกตการเคลื่อนที่ของรูปที่มองอยู่
  4. ถ้ารูปเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันกับมือ แสดงว่าท่านมีตาเขออกชนิดซ่อนเร้นที่ระยะไกล Exophoria @ distance
  5. ถ้ารูปเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกับมือ แสดงว่าท่านมีตาเขเข้าชนิดซ่อนเร้นที่ระยะไกล Esophoria @ distance
  6. ถ้ารูปอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนที่ แสดงว่าท่านไม่มีมีตาเขซ่อนเร้นที่ระยะไกล
1.      ถ้า ภาพที่ท่านเห็นจากการสลับปิดตา มีความชัดเจนไม่เท่ากัน แสดงว่าท่านอาจมีปัญหาสายตา หรือปัญหาอื่นๆก็ได้ ถ้าสายตาสองข้างเห็นได้ชัดเจนต่างกันมาก แนะนำให้ไปรับการตรวจเพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขต่อไป


Phoria @ near
ทดสอบตาเขซ่อนเร้นที่ใกล้
2.      มองวัตถุขนาดเล็ก ขนาดประมาณเมล็ดถั่วเขียวที่อยู่ห่างจากตาประมาณ 40 เซนติเมตร ด้วยตาทั้งสองข้าง
  1. ใช้มือบังตาขวา ห่างจากตาเล็กน้อย(ประมาณ 1 นิ้ว)
  2. เลื่อนมือที่บังตาขวา มาบังตาซ้ายอย่างรวดเร็ว สังเกตรูปที่มองอยู่ว่ามีการเคลื่อนที่หรือไม่
  3. ทำซ้ำโดยเลื่อนมือที่บังตาซ้ายอยู่ ไปบังตาขวา สังเกตการเคลื่อนที่ของรูปที่มองอยู่
  4. ถ้ารูปเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันกับมือ แสดงว่าท่านมีตาเขออกชนิดซ่อนเร้นที่ระยะใกล้ Exophoria @ near
  5. ถ้ารูปเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงข้ามกับมือ แสดงว่าท่านมีตาเขเข้าชนิดซ่อนเร้นที่ระยะใกล้ Esophoria @ near
  6. ถ้ารูปอยู่นิ่งๆ ไม่เคลื่อนที่ แสดงว่าท่านไม่มีมีตาเขซ่อนเร้นที่ระยะใกล้
  7. ถ้า ภาพที่ท่านเห็นจากการสลับปิดตา มีความชัดเจนไม่เท่ากัน แสดงว่าท่านอาจมีปัญหาสายตา หรือปัญหาอื่นๆก็ได้ ถ้าสายตาสองข้างเห็นได้ชัดเจนต่างกันมาก แนะนำให้ไปรับการตรวจเพื่อหาสาเหตุ และแก้ไขต่อไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘