เรื่องเล่าจาก Banker โดย ภาววิทย์ (ตอนที่ 2)



ผ่าน เรื่องหนาวๆของเครื่องปั๊มเงิน คราวนี้มาดูจุดแข็งของธนาคารว่ามันคืออะไร!! ..ไม่เดาก็ถูกใช่ไหมครับ มันก็คือ "มั่นคง!!" เนื่องจากธนาคารเป็นเครื่องปั๊มเงินของระบบทุนนิยม ทำให้ทุก Boom & Bust จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินมีเอี่ยวด้วยเสมอ แต่ความแจ๋วก็คือ "มันเจ๊งยาก..ถึงยากสุดขีด" (ยิ่งถ้าธนาคารใหญ่ๆ ไม่ต้องพูดถึง มันเจ๊งไม่ได้!!)ถึงกับช่วงนึง อเมริกามีการออกมาตีแผ่ "รายชื่อลับ Too Big too Fail ของรัฐบาลอเมริกัน" ช่วงนั้นก็มีการฮือฮา!! กันยกใหญ่

เพราะถ้ามองจริงๆแล้วหลักการสำคัญที่สุดในการลงทุน คือค้องดูความมั่นคงของกิจการ ..ถ้าเรารู้แน่ว่ากิจการนี้มันไม่เจ๊ง "ผมบอกเลยว่า ยังไงเล่นหุ้นนี้ก็ไม่เสียเงิน!!" เพราะถ้าเราสังเกตให้ดีตลาดหุ้นก็แบ่งเป็นแค่ 2 ช่วงใหญ่ๆ ก็คือ Bull กับ Bear (ช่วง Bull มันก็คือ Bubble งั้นพูดได้เลยว่า ถ้ากิจการนั้นๆมั่นคงพอ มันก็ต้องสามารถผ่าน Bear มาเจอ Bull-- ก็อย่างที่รู้ๆกันว่า Bull Market ใครๆก็ได้กำไร "หลักการซื้อแบบ Too Big too Fail ก็คือซื้อทุกรอบ ที่มันเข้าสู่วิกฤตนั่นเอง"

ถ้าจะให้พูดกันจริงๆ บ้านผมนี่เป็นคอหุ้นธนาคาร(ก็เล่นรับใช้ธนาคารมา 3 ชั่วอายุคน ยังไงก็เกมบังคับน่ะครับ) แต่ซื้อตอนถูกเท่านั้นนะ ไอ้ตอนที่ชอบสุดๆก็ช่วงปี 2000 ที่หุ้นธนาคารกรุงเทพลงไปแตะ 20 บาท SCB เหลือ 10 กว่าบาท Kbank ก็ประมาณ 10 บาท ..เฮอะๆ!! Too Big too Fail ..บ้านผมอัดเต็มแม็ค!!(ยิ้ม) "ก็ช่วงนั้นก็อิ่มกันตามยถา กันเลยทีเดียว!!"

(แต่ มีข้อควรระวัง ช่วงต้มยำกุ้ง ตลาด Crash แบบ "W Shape"นะ คือปี 1998 หุ้น BBL ลงไปแตะ 20 กว่าๆ จากนั้นพอปี 1999 มันก็ Rebound ขึ้นถึงเกือบ 90 แล้วพอปี 2000 ก็ร่วงลงมาใหม่ที่ 20 กว่าบาท..) แต่คุณเห็นไหมละครับว่าทั้ง "W" ในครั้งนั้น--ไม่ว่าจะเข้าตรงไหนมันก็ยัง "โคตรถูก" ..ถึงคุณห่วยจริงๆดันไปเข้าปี 1999 ที่ราคา 90 บาท (คุณลองดูราคาตอนนี้ซิ 140 บาทแล้ว..ยิ้มทั้งนั้น)

จะเห็นได้ว่า W ครั้งก่อน ถูกกว่า "ตลาดหุ้นปี 2010 อีก" แต่ทำไมตอนนี้นักวิเคราะห์ออกมาฟันธงกันว่าตลาดปี 2010 ยังไปได้อีก "แพงได้อีก"-- ก็เพราะ Inflation ไงครับ!! และเจ้า inflation มันก็คือผลิตผลของ "ระบบทุนนิยม + ธนาคาร --ร่วมทุนสร้าง..ว่างั้น!!)

ประเทศ ไทยเป็นประเทศเล็กมาก ดังนั้น ระบบเศรษฐกิจทั้งหมด หากถ้าเอาสายมาลากเชื่อมกัน จะล้วนมีจุดกำเนิดจาก 3 ธนาคารใหญ่ทั้งนั้น เรียก Connect จุดนี้ว่า "ชนวนแห่งเศรษฐกิจ" ฮ่าฮ้า!! มันก็การเชื่อมโยงของระเปิดเวลานั้นเอง และเป็นที่มาของ Cycle ของธุรกิจต่างๆ ที่ผลัดกัน Boom & Bust วนเวียนกันไปเรื่อยๆ อาศัยธนาคารเป็น เครื่องกระตุ้น ผ่อนแรง หรือ ชี้ขาด

(เรื่องสมมุติ)
ภาววิทย์ : "คุณสมชาย ธุรกิจคุณแย่มากๆ เราคงไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเพิ่มให้คุณ!! ดังนั้น Go to Hell!!"
คุณ สมชาย : ""What!! the..(FucXX!!)" (ในใจคุณสมชายรู้ดีว่า ถ้าได้เงินต่อ มันก็เปรียบเสมือน การต่ออายุสายชนวนทางเศรษฐกิจของกิจการคุณสมชาย ..แต่!!ธนาคารไม่คิดเช่นนั้น-- "ตัดชนวนเศรษฐกิจเส้นนั้นทิ้งไป!!")
นี่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ เพราะถ้าเรามาวิเคราะห์กันให้ดี ไม่ว่าธุรกิจใดมันก็ย่อมมี Cycle ทั้งนั้น ดังนั้น หากคุณเป็นธนาคารจอมโหด (ฉายา:"นักล่าแห่งทุนนิยม") คุณก็สามารถใช้ทุก Downturn ของ Cycle "ตัดน้ำเลี้ยง ..ไปเชิญกลุ่มหมาป่ามา ..จากนั้นก็รุมกินโต๊ะ" สนุกสนานจริงๆ

จุด นี้หลายคนอาจ งง ว่า "หมาป่าของระบบเศษฐกิจ คือใคร" ..มันก็คือกลุ่ม Shadow Banking ไง ที่จริงๆแล้วมันก็คือ Sub set ของธนาคารซึ่งแยกตัวออกมาเพื่อหากำไร "อย่างสุดโต่ง" แล้วนำกำไรเหล่านี้กลับคือสู่ เศรษฐีผู้ชักใยอยู่ข้างหลังระบบ "ชนวนแห่งเศรษฐกิจ" (กลุ่ม Shadow Banking ที่ผมพูดถึงก็คือ Investment Banker, Private Equity , Hedge Fund ต่างๆ ..จริงๆมันก็ตั้งชื่อให้มันต่างกัน แต่สุดท้ายพวกนี้ก็คือ หมาป่าของระบบเศษฐกิจ อยู่ดี)

Goldman Sachs เป็นผู้จุดชนวน Sub prime แต่ตัวเองรอด "คนจุดมันก็รู้ซิ มันถึงหนีทัน!!" หรืออย่าง The Carlyle Group กลุ่ม private equity ที่รวมเอาผู้นำระดับสูงของโกลอย่างอดีตประธานาธิปดีไอ้กัน Bush ผู้พ่อหรืออดีต CEO ใหญ่ๆอย่าง Louis Gerstner (จริงๆช่างมันเถอะ จะเป็นใครก็ตาม ...คือสรุปว่า เป็นการรวมตัวของนักล่า
"หมาป่าของระบบเศษฐกิจ" ละกัน)

นี่ แหละครับภาพคร่าวของ "ชนวนแห่งเศรษฐกิจ" ซึ่งเข้าใจในแบบชาวบ้านว่า มันคือระเบิดเวลาที่เกือบทุกธุรกิจในโลก เชื่อมสายต่อมายัง "ธนาคาร(รวมถึง Shadow Banking)"..ฮึ ฮึ รู้สึกว่าธนาคารนี่มันมีอะไรลึกกว่า "ฝาก-ถอน-กู้" จริงๆนะครับ

เอ๋อ!! ธนาคารกรุงเทพกำลังรับสมัครพนักงานอยู่อย่างเมามันส์ ลองมาเป็นหมาป่ากันบ้างไหม!! ว่าแต่ อย่าไปมองเงินเดือนล่ะ กั๊ก กั๊ก!! เมืองไทยทำไมหมาป่ามีแต่ซี่โครงล่ะ ฮ่า ฮ่า...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘