นิสัยแห่งความสำเร็จ 7 ประการ

บทความที่นำเสนอสรุปประเด็นจากหนังสือยอดนิยมตลอดกาลเรื่อง The Seven Habits of Highly Effective People แต่งโดย Steven Covey มีใจความสำคัญ ดังต่อไปนี้
ผู้แต่งมีความเชื่อในสมมติฐานที่ว่า คุณคิดอย่างไร คุณก็จะเป็นคนเช่นนั้น (You are what you think)
วิธีคิดหรือกรอบการมองโลก (paradigm) ของคนเราจะถูกกำหนดโดยสังคมและคนรอบข้าง และน้อยคนนักที่จะรู้ว่า ตนเองมีกรอบการคิดอย่างไรหรือถ้ารู้ก็รู้เพียงบางส่วน  เพราะคนเหล่านั้นไม่เคยที่จะนั่งเงียบ ๆ สงบจิตสงบใจเพื่อลอง ทบทวนดูว่า กรอบการมองโลกที่ส่งผลให้เราพูด คิด และมีพฤติกรรมมาจนถึงทุกวันนี้มีอะไรบ้างทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ผู้แต่งเชื่อว่า ทุกครั้งที่คนเรามีความทุกข์แสดงว่า เรามีการมองโลกที่ผิดหรือฝืนกับกฎธรรมชาติ ฉะนั้น หาก เรารู้ทันตัวเองและแก้ไขการมองโลกที่ผิดนั้นเสีย เราจะมีความสุขและประสบความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงมุมมองในการมองโลก ลักษณะนิสัย หรือบุคลิกภาพของตัวเราจะต้องเปลี่ยนจากข้างใน เช่น เมื่อเราประสบปัญหาหรือทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่น ให้เรากล้าที่จะมองสถานการณ์นั้นตามความเป็นจริงว่า เรา มีส่วนในการสร้างปัญหาหรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นหรือไม่อย่างไร ในขณะที่มองจะต้องดึงตัวเองออกมาและใช้ความรู้สึกเป็นตัวมอง เมื่อนั้นเราจะเริ่มมองเห็นกรอบการมองโลกและนิสัยที่แท้จริงของตนเอง ผู้แต่งได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกข์หรือความล้มเหลวนั้นมักเกิดจากการที่มนุษย์คิดจะพึ่งพลังภายนอกตลอด เวลา เช่น การคอยให้คนมาชื่นชมหรือให้กำลังใจ ผู้แต่งได้นำเสนอหลักของนิสัย 7 ประการที่จะช่วยให้เรา (1) ปรับเปลี่ยนกรอบในการมองโลกที่ทำให้เราไม่มีความสุข (2) หัดพึ่งพลังภายใน  (3) มองเห็นข้อดีข้อเสียของตัวเอง และ (4) มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง นิสัยทั้ง 7 ประการดังกล่าว มีดังนี้

นิสัยที่หนึ่งคือ รู้และเลือก (Be proactive)
             การ รู้และเลือกในที่นี้คือ การมีสติรู้เนื้อรู้ตัวว่ากำลังคิด กำลังพูด กำลังทำอะไรอยู่ และสามารถเลือกได้ว่าจะตอบโต้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าอย่างไรที่จะ สร้างความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่นน้อยที่สุด และพร้อมที่จะรับผิดชอบกับผลที่จะเกิดขึ้นอย่างมีสติโดยไม่โยนความผิดให้ผู้ อื่น และเชื่ออยู่เสมอว่าเราสามารถสร้างชะตาชีวิตของตนเองได้ ผู้แต่งมีความเห็นว่า คนเรามีสิทธิ์ เลือก ที่จะสุขหรือทุกข์ก็ได้เช่น เมื่อเราโดนคนวิพากษ์วิจารณ์หรือติฉินนินทา เรามีสิทธิ์เลือกที่จะใส่ใจหรือไม่ใส่ใจกับคำพูดเหล่านั้นก็ได้ แต่ไม่ใช่ให้อวดดีและไม่ฟังใคร แต่ให้รับรู้ด้วยสติและพิจารณาด้วยปัญญาว่าเราเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็ควรแก้ไข แต่มนุษย์ส่วนใหญ่ทำไม่ได้เพราะไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง ไม่รู้ว่าตนเองเป็นคนมีนิสัยอย่างไร มีหลักคุณธรรมประจำใจอะไรบ้าง และมีเป้าหมายอะไรในชีวิต  เมื่อไม่มีจุดยืนในตัวเอง จิตใจจะถูกฉุดกระชากให้สุขหรือทุกข์ไปตามพฤติกรรมของคนรอบข้างและสิ่งแวด ล้อมภายนอกเช่น เมื่อได้รับคำชมก็ดีใจมีความสุข แต่เมื่อถูกด่าก็มีความทุกข์ เป็นต้น ผู้แต่งเชื่อว่าคนเรามีสิทธ์ที่มีชีวิตที่เป็นของตัวเองอย่างแท้จริงและ สร้างสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตเองได้ ถ้ามีสติรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่และรู้จักเลือกว่าจะตอบสนองอย่างไร การจะมีจุดยืนในตัวเองได้ต้องเริ่มจากการรู้จักตัวเองอย่างถ่องแท้และยอมรับ ในสิ่งที่มันเป็นเสียก่อน ผู้แต่งกล่าวเพิ่มเติมว่า มนุษย์มีสิ่งที่แตกต่างจากสัตว์คือ (1) มีสติรู้เนื้อรู้ตัว (2) มีจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (3) มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและมีคุณธรรม (4) มี ความยับยั้งชั่งใจรู้ว่าสิ่งไหนควรหรือไม่ควรทำ ฉะนั้น ให้เราลองเปรียบเทียบดูว่า เรามีคุณธรรมประจำใจมากน้อยแค่ไหน เข้าใกล้ความเป็นมนุษย์มากน้อยเพียงใด เพราะคนที่รู้และเลือกในมุมมองของผู้แต่งคือ คนที่มีสติ มีความกล้าหาญ กล้าเผชิญกับปัญหาแต่ไม่ใช่คนที่รู้มากและเลือกเอาแต่ประโยชน์ใส่ตัว ผู้แต่งเชื่อว่า คนที่กล้าเผชิญกับปัญหาคือ คนที่รู้จักวิเคราะห์ปัญหา และรู้ดีว่าตนสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเองหรือไม่ หรือต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นด้วย และจะไม่ยอมให้สิ่งแวดล้อมภายนอกมาชักจูงให้เราทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องโดย เด็ดขาด ในกรณีที่ปัญหาไม่สามารถแก้ไขได้ คนที่รู้จักรู้และเลือกจะรับรู้และทำใจวางเฉยได้  โดยไม่ตีโพยตีพายและกล่าวโทษผู้อื่น

นิสัยที่สองคือ สร้างเป้าหมายในชีวิตเป็นมโนภาพ (To begin with the end in mind)
วิธีหาเป้าหมายที่สำคัญในชีวิตที่ง่ายที่สุดคือ ให้ ลองจินตนาการว่า ถ้าเราจะต้องจากโลกไปในวันนี้ เราอยากจะให้คนข้างหลังพูดถึงตัวเราในแง่ใดบ้าง เราอยากจะทิ้งอะไรไว้ให้เป็นมรดกแก่โลกใบนี้บ้าง และให้ถามตัวเองว่า ชีวิตนี้ก่อนตายอยากทำอะไรจริง ๆ เมื่อรู้จุดมุ่งหมายที่แท้จริงในชีวิตแล้วให้เราลองจินตนาการต่อไปถึงสิ่งที่เราปรารถนาในอีก 5-10 ปีข้างหน้า โดย ภาพในจินตนาการนั้นจะต้องเต็มไปด้วยแสงสีเสียงและความรู้สึกโดยผู้แต่งแนะนำ ว่า เป้าหมายของเรานั้นจะต้องเป็นสิ่งที่เราชอบจริง ๆ และให้เชื่อมั่นว่า เราสามารถทำสิ่งนั้นได้ เมื่อคิดเสร็จแล้วให้เขียนเป้าหมายต่าง ๆ ลงในกระดาษ การเขียนให้เขียนด้วยความ รู้สึก ความมุ่งมั่น เขียนตามมโนภาพที่สร้างไว้ และติดกระดาษไว้ในที่ที่เรามองเห็นบ่อย ๆ ผู้แต่งแนะนำว่า นิสัยที่สองนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้คือ การนำไปใช้ในการร่างพันธกิจและวัฒนธรรมขององค์กร เป็นต้น หลังจากที่สร้างเป้าหมายเป็นมโนภาพแล้ว ในระหว่างที่พยายาม ทำเป้าหมายให้เป็นจริง เราจะต้องระลึกถึงภาพนั้นทุกวัน ถ้าภาพนั้นชัดเจนยิ่งขึ้นแสดงว่าเราเดินมาถูกทางแล้วและใกล้ที่จะประสบความ สำเร็จเข้าไปทุกที ๆ

นิสัยที่สามคือ ทำในสิ่งที่สำคัญจริง ๆ ก่อนเสมอ (Put first things first)
             งาน ที่สำคัญที่ต้องทำก่อนในมุมมองของผู้แต่งคือ งานที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายในชีวิตและเป็นงานที่ไม่เร่งด่วน ฉะนั้น เราจึงควรรู้จักมอบหมายงานบางอย่างให้ลูกน้องทำบ้างและจะต้องมีการตามงาน ด้วย อย่างไรก็ตาม หากงานใดที่เป็นหน้าที่รับผิดชอบของเราโดยตรง เราจะต้องทำเองแต่อาจจะหาผู้ช่วยเพื่อแบ่งเบาภาระ
เล็ก ๆ น้อย ๆ  เมื่อเรารู้แล้วว่างานชิ้นไหนควรทำก่อนหลัง ก็ให้เริ่มลงมือทำและให้พยายามสังเกตธรรมชาติในการทำงานของตนเองว่า ควรทำงานในสภาพแวดล้อมแบบใดและในช่วงเวลาไหน งานจึงจะออกมามีประสิทธิภาพมากที่สุด  

นิสัยที่สี่คือ คิดแบบต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ (Think win-win)
การคิดแบบนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างเพราะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ทั้งคู่ การจะมีแนวคิดดังกล่าวได้จะต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1)     มีความเชื่อว่า ยังมีสิ่งดี ๆ อีกมากมายที่รอเราอยู่และเราจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน  
2)     มีปากกับใจตรงกันและมีความซื่อสัตย์
3)     ด้รับความไว้เนื้อเชื่อใจจากผู้อื่น
4)      มีความชัดเจนในการมอบหมายงานหรือการทำข้อตกลงเช่น เราคาดหวังอะไรจากอีกฝ่าย งานนั้น ๆ จะต้องทำเสร็จเมื่อไหร่ มีการประเมินผลงานอย่างไร และมีการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านใดบ้าง เป็นต้น
5)     มีระบบที่สนับสนุนให้การทำงานมีความคล่องตัวและสามารถทำงานร่วมกันอยู่บนพื้นฐานของการคิดแบบต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ได้ 
6)    เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นให้มองสถานการณ์โดยการดึงตัวเองออกมา ให้มองภาพรวม และคิดหาทางออกที่ดีที่สุดโดยให้ลืมผลประโยชน์ของตนเองเสีย

นิสัยที่ห้าคือ พยายามฟังและเข้าใจคนอื่นก่อนที่จะพูดเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจเรา  (Seek first to understand and then to be understood)
การตั้งใจฟังอีกฝ่ายเพื่อทำความเข้าใจคือ การฟังเพื่อทำความเข้าใจว่า อีกฝ่ายกำลังพูดอะไร พูดไปเพื่ออะไร และ อีกฝ่ายมีความรู้สึกอย่างไร ซึ่งจะแตกต่างจากการตั้งใจฟังที่คนส่วนใหญ่เป็นคือ ตั้งใจฟังเพื่อหาข้อมูลมาหักล้างในสิ่งที่อีกฝ่ายพูดหรือเพื่อยัดเยียดความ คิดของตนเองให้อีกฝ่ายเชื่อหรือทำตาม วิธีการฝึกเพื่อเข้าใจนัยที่อีกฝ่ายต้อง การจะบอกเราคือ ในขณะที่ฟังให้เราสร้างภาพตามไปด้วย เมื่อเราฝึกเป็นผู้ฟังที่ดีและเข้าใจอีกฝ่ายแล้ว อีกฝ่ายจะรับรู้ได้ถึงความรู้สึกนั้น ๆ และจะเปิดใจยอมรับฟังข้อเสนอหรือสิ่งที่เราจะพูดเช่นเดียวกัน

นิสัยที่หกคือ สร้างทีม (Synergize)
การ สร้างทีมในที่นี้คือ การดึงเอาจุดเด่นหรือศักยภาพของคนรอบข้างหรือผู้ร่วมทีมออกมาเพื่อช่วยให้ เป้าหมายประสบความสำเร็จเช่น ถ้าลูกน้องเป็นราคะจริตจะต้องให้ทำงานทางด้านการประชาสัมพันธ์ และงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดมากนัก หรือโทสะจริตจะต้องให้เป็นผู้คุ้มกฎ ผู้รักษาเวลา และช่วยในการวางแผนและจับประเด็น เป็นต้น ผู้แต่งได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ภาพรวมของทีมหนึ่ง ๆ จะต้องประกอบด้วย (1) นักคิด (2) ผู้สมานฉันท์ และ (3) ผู้ประสานสิบทิศ เพราะนักคิดก็คือ คนที่ช่วยกันระดมสมองในการทำงานต่าง ๆ ผู้สมานฉันท์คือ คนที่ทำให้บรรยากาศราบรื่น ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง รู้สึกว่าตนเองด้อยค่า ถ้าความคิดเห็นหรือแผนงานที่เสนอไม่ได้รับการยอมรับ และผู้สมานฉันท์จะต้องแสดงให้ทุกฝ่ายเห็นว่า ทุกอย่างจะเน้นไปที่เนื้องานเป็นหลักโดยไม่เอาเรื่องส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง ส่วนผู้ประสานสิบทิศคือ คนที่จะนำแผนงานของเราไปประสานงานและเชื่อมโยงกับหน่วยงานหรือแผนกที่เกี่ยว ข้อง เพื่อให้เป้าหมายที่เราตั้งไว้ประสบความสำเร็จ

นิสัยที่เจ็ดคือ ฟื้นฟูพลังชีวิต (Sharpen the saw)
ผู้ แต่งเชื่อว่า เราคงจะประสบความสำเร็จและมีความสุขได้ยาก ถ้าเรามีสุขภาพที่เสื่อมโทรม ฉะนั้น เราจะต้องหมั่นรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากนั้น ผู้ แต่งแนะนำให้เราหมั่นทำสมาธิ ทำจิตใจให้สงบเพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด และให้หมั่นอ่านหนังสือบ้างเพื่อเสริมสร้างความรู้และเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง ขวาง เพื่อนำไปใช้พัฒนาชีวิตให้มีความสุขและประสบความสำเร็จ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้ที่ประสบความสำเร็จคือ การมีความสัมพันธืที่ดีกับคนรอบข้าง มีความเมตตา และรู้จัก ให้ผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอเช่น การให้ความสุข ให้ความเมตตาเห็นอกเห็นใจ ให้ความรู้ หรือให้ความช่วยเหลือทางด้านวัตถุ เป็นต้น 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘