สายตาช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป

สายตาวัย นี้เป็นวัยแห่งการพักผ่อนและให้รางวัลแก่ชีวิต หลังจากที่ทำงานหนักมานาน ความสุขของคนวัยนี้คือการได้อยู่กับลูกหลานและชื่นชมกับความสำเร็จของพวกเขา วัยนี้เป็นวัยที่ต้องใส่ใจเรื่องสุขภาพร่างกายเป็นพิเศษ ดังนั้นควรทำทุกอย่างให้ร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไม่ทำงานหนัก รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับสุขภาพร่างกาย ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม� พักผ่อนเพียงพอ
ความเสื่อมของเลนส์ตา ทำให้เกิดตายาวสูงอายุ และต้อกระจก
����������� ทางด้านสายตา คนวัยนี้จะมีสายตายาวสูงอายุ ที่ทำให้การปรับภาพชัดทำได้ลำบาก อวัยวะที่ทำหน้าที่ในการปรับภาพให้ชัดเจนคือเลนส์ตา(เลนส์ที่อยู่ภายในลูกตา ของเรา) ตอนเด็กๆ เลนส์จะใสและยืดหยุ่นดี ทำให้มองไกลและมองใกล้ได้อย่างชัดเจนในคนสายตาปกติ เมื่ออายุย่างเข้า 40ปี เลนส์ตาที่ช่วยในการมองระยะใกล้ชัดมีความยืดหยุ่นน้อยลงจนทำให้ต้องใช้เลนส์ แว่นตาช่วยสำหรับการทำงานระยะใกล้(เกิดสายตายาวสูงอายุ) เมื่ออายุมากขึ้นอีก เลนส์ตาที่มีความยืดหยุ่นน้อยลงจะเริ่มขุ่นมัว ทำให้เราเห็นภาพไม่ชัด เราเรียกเลนส์ตาที่ขุ่นมัวนี้ว่า “ต้อกระจก” ดังนั้นสายตายาวสูงอายุและต้อกระจกคือความเสื่อมตามธรรมชาติที่ต้องเกิดกับ ทุกคน แล้วแต่ว่าจะเกิดช้าหรือเร็ว เมื่อเลนส์ขุ่นมากจนกระทั่งบดบังการมองเห็น จักษุแพทย์จะพิจารณาผ่าเลนส์ออกและใส่เลนส์เทียมเข้าไป โดยเลนส์เทียมที่ใส่เข้าไปใหม่จะคงความใสได้ตลอดชีวิต
����������� การผ่าต้อกระจกในอดีตเป็นการผ่าแผลใหญ่ โดยแผลจะกว้างกว่า 1 เซนติเมตร เนื่องจากในขณะนั้นต้องผ่าและดึงเลนส์ตาออกมาทั้งชิ้น ต้องใช้เวลาพักฟื้นนานหลายวัน แต่ในปัจจุบันการผ่าต้อกระจกมีความทันสมัยมากขึ้น การผ่าในปัจจุบันสามารถผ่าแบบแผลเล็กโดยแผลกว้างเพียง 3 มิลลิเมตร การนำเลนส์ออกทำโดยการสลายเลนส์ให้เป็นชิ้นเล็กด้วยหัวอัลตร้าซาวน์และดูด เศษเลนส์ออกมา หลังจากนั้นจะใส่เลนส์เทียมเข้าไปแทนที่เลนส์เดิมเพื่อทำให้มองได้ชัดเจน ขึ้น เลนส์เทียมที่ใส่เข้าไปจะถูกคำนวณให้มีกำลังของเลนส์เหมาะสมกับดวงตา ทำให้หลังจากการผ่าต้อกระจกแล้ว ผู้ที่มีสายตามองไกลมากๆ จะต้องการแว่นสายตาที่บางลงหรืออาจไม่ต้องการใช้แว่นตาสำหรับมองไกลเลย การใส่เลนส์เทียมเข้าไปใหม่มักทำให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงไป ทำให้แว่นอันเดิมที่เคยใช้ได้ดีอยู่ก่อนผ่าตัด กลับใช้งานได้ไม่ดีหลังจากผ่าตัดแล้ว หลังจากการผ่าแล้วสามารถกลับบ้านได้เลยภายในวันเดียวกัน
����������� การมองเห็นหลังจากการผ่าต้อกระจกแล้ว ถ้าผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติอื่นๆนอกจากต้อกระจก หลังจากการผ่าจะทำให้การมองเห็นดีขึ้นกว่าตอนก่อนผ่า โดยสามารถเห็นรายละเอียดของภาพมากขึ้น� เห็นสีสันที่สดใสขึ้น อย่างไรก็ดีการมองเห็นจะไม่กลับไปดีเหมือนตาในช่วงวัยรุ่น ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วยก่อนการผ่าต้อกระจกเช่นเบาหวาน ขึ้นตา จอตาหลุดลอก� แพทย์อาจตรวจไม่พบความผิดปกติก่อนการผ่าต้อกระจกเนื่องจากความขุ่นของต้อ กระจกบดบังรายละเอียดของจอตาทำให้ไม่สามารถเห็นความผิดปกติได้ หลังจากการผ่าต้อกระจกนำเลนส์ที่ขุ่นมัวออกแล้วจะทำให้สามารถวินิจฉัยโรคได้ ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้นด้วย ซึ่งในกรณีที่มีความผิดปกติอื่นอยู่แล้วนอกจากต้อกระจก แม้จะผ่าต้อกระจกออกแล้วการมองเห็นก็อาจไม่ดีขึ้นก็เป็นได้ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้อกระจกใน.....เพิ่มอาการ การสังเกต การป้องกัน สิ่งอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่ทำให้เป็น)
����������� ในวัยนี้ ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีทุกปี การตรวจทำให้เราทราบถึงสภาพร่างกายว่ามีสิ่งใดผิดปกติเพื่อหาทางป้องกัน ลดความรุนแรงของโรคได้ อย่างไรก็ดี การตรวจสุขภาพประจำปีมักไม่มีโปรแกรมการตรวจสุขภาพตาร่วมด้วย ทั้งๆที่โรคทางตาส่วนใหญ่ถ้าตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆจะสามารถป้องกันและควบคุม ความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี ดังนั้นนอกจากการตรวจสุขภาพร่างกายทั่วไปแล้ว ผู้สูงอายุในวัยนี้ควรได้รับการตรวจสุขภาพตาปีละครั้งด้วย การตรวจสุขภาพตาที่มักทำเช่น การตรวจสุขภาพตาภายนอก การวัดความดันลูกตา การตรวจมุมระบายน้ำในลูกตา การขยายม่านตาเพื่อตรวจจอประสาทตา การวัดการมองเห็นและการวัดค่าสายตา เป็นต้น

����������� ผลการตรวจสุขภาพร่างกาย การเป็นโรคกายบางอย่างก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคตาตามมาได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น
เบาหวาน โรคเบาหวานเป็นโรคที่ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ รวมทั้งไขมันและคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดสูงด้วย ทำให้เกิดผลเสียตามมามากมาย ไขมันและคลอเรสเตอรอลสูงในเส้นเลือดจะทำให้เกิดปัญหาเส้นเลือดเล็กๆอุด ตัน(โดยเฉพาะที่ตา ไต และปลายเท้า) เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังเส้นเลือดใหญ่(เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และเส้นเลือดสมองแตก ตีบ ตัน) การเป็นเบาหวานโดยที่ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เบาหวานจะเริ่มขึ้นตาหลังจากเป็นเบาหวานได้ 5 ปีหรือมากกว่า อาการจะเริ่มตั้งแต่ มีเส้นเลือดฝอยที่จอตาบวมปูดเป็นกระเปาะ เส้นเลือดเล็กๆแตก มีเลือดและexudateออกในจอตา จอตาบวม เกิดการงอกของเส้นเลือดใหม่ในจอตา� จอตาหลุดรอกเพราะถูกดึงรั้งฯลฯ เมื่อเบาหวานขึ้นตาแล้ว จักษุแพทย์อาจพิจารณายิงเลเซอร์เพื่อรักษาจอตาส่วนกลางไว้ ทำให้ภาพริมๆมัวไปบ้าง ถ้าไม่ยิงเลเซอร์ เมื่อเบาหวานขึ้นตาแล้วในระยะยาวอาจทำให้ตาบอดได้
* ความดันโลหิตสูง
* โรคไต
* โคเลสเตอรอลสูง

����������� ดังที่กล่าวมา โรคทางกายหลายโรคอาจส่งผลถึงสุขภาพตาด้วย อย่างไรก็ดีแม้โรคบางโรคไม่มีผลต่อสุขภาพตาโดยตรง แต่ยาที่ใช้ในการรักษาโรคอาจมีผลข้างเคียงกับดวงตาได้ ดังนั้นการใช้ยาต่างๆโดยเฉพาะยาที่ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ การซื้อยารับประทานเองโดยไม่ยอมไปพบแพทย์อาจก่อให้เกิดผลเสียจากผลข้างเคียง ของยาชนิดนั้นๆได้ ยกตัวอย่างเช่นสเตียรอยด์ (ใช้สำหรับรักษาโรคอย่างกว้างขวาง เพราะมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ กดภูมิคุ้มกันร่างกายไม่ให้ทำงานมากเกินไป) ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เป็นต้อหินหรือต้อกระจกได้ ยาบางอย่างเมื่อใช้แล้วอาจทำให้ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงได้ ยาบางชนิดใช้แล้วอาจทำให้ตาแห้ง แสบตา น้ำตาไหลได้ ดังนั้นควรสอบถามแพทย์ด้วยว่ายาแต่ละชนิดที่ใช้มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง
การสังเกตอาการผิดปกติ
ในวัยนี้ ควรใส่ใจและสำรวจความผิดปกติของสุขภาพ รวมทั้งดวงตา เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา อาการผิดปกติทางตาและการมองเห็นเช่น
เห็นเหมือนหยากไย่ลอยไปมา : เมื่อกลอกตาไปมา เส้นหรือจุดที่เห็นจะเคลื่อนที่ตามการกลอกตาอย่างช้าๆ จะสังเกตเห็นง่ายขึ้นเมื่อมองภาพที่มีความสว่างและสีอ่อน เช่นมองก้อนเมฆบนท้องฟ้าเวลากลางวัน หรือมองจอคอมพิวเตอร์ที่มีพื้นสีขาวสว่าง อาการดังกล่าวเกิดจาก “วุ้นในตาเสื่อม” ซึ่งถือเป็นการเสื่อมของดวงตาตามอายุ โดยมากไม่มีอันตราย อย่างไรก็ดี ถ้าสังเกตเห็นหยากไย่เพิ่มขึ้นมากอย่างรวดเร็ว เช่นจากที่เคยเห็น 4 เส้นเพิ่มขึ้นเป็น 10 เส้น ควรไปพบจักษุแพทย์เนื่องจากอาจเป็นอาการเบื้องต้นของจอตาหลุดลอกได้
ตามัว : อาการตามัว เกิดได้จากหลายสาเหตุ บางสาเหตุมีความรุนแรงและควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน บางสาเหตุเป็นความเสื่อมตามธรรมชาติซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตราย ตัวอย่างสาเหตุของตามัวเช่น ต้อกระจก จอตาบวม จอตาหลุดลอก ต้อหิน ตาแห้ง ตาอักเสบ จอตาเสื่อม เบาหวานขึ้นตาฯลฯ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เมื่อสังเกตว่ามีอาการตามัวลงอย่างรวดเร็ว ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา อนึ่ง การที่ตามัวลงอย่างช้าๆ ส่วนใหญ่ไม่สามารถสังเกตได้ว่าตามัวลง ดังนั้นการตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติดังกล่าวได้ ตัวอย่างสาเหตุที่ทำให้เกิดตามัวอาจแยกเป็น การเกิดตามัวแบบเฉียบพลัน(Acute Visual loss) และการเกิดตามัวแบบค่อยเป็นค่อยๆไป(Chronic Visual loss) ดังตัวอย่างข้างล่าง
Acute Visual loss : closed angle glaucoma , retinal Detachment, Optic neuritis, Retinal Vascular occlusion, Trauma(media opacity, Retinal disorder, Optic nerve disorder,visual pathway disorder, Hypoxia)
Chronic visual loss : cataract, AMD, DR, open angle glaucoma, dry eye, refractive error
น้ำตาไหล : เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น ตาแห้ง ท่อระบายน้ำตาอุดตัน ตาอักเสบ ภูมิแพ้ที่ตา ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ตาแดง เจ็บตา มีขี้ตามาก ควรไปพบจักษุแพทย์เนื่องจากอาจเกิดจากสาเหตุที่รุนแรงเช่น ตาติดเชื้อ ต้อหินมุมปิด กระจกตาเป็นแผล ฯลฯ
มองเห็นพื้นขาวเป็นสีอื่น : เห็นแสงแฟลช : เห็นเหมือนแสงแฟลชถ่ายรูปหรือฟ้าแลบ ทั้งๆที่จริงๆแล้วไม่มีการถ่ายรูปหรือฟ้าแลบฟ้าร้อง การเห็นแสงแฟลช เกิดจากการที่จอตาถูกกระตุ้นหรือดึงรั้ง ถ้าเห็นนานๆครั้งให้สังเกตอาการ แต่ถ้าเห็นวันละหลายครั้งถึงชั่วโมงละหลายครั้ง อาจเป็นสัญญาณของจอตาถูกดึงรั้งหรือหลุดลอก ควรไปพบจักษุแพทย์ อนึ่งจอตาที่หลุดลอกออกมาแล้วจะตายใน 24 ชั่วโมงเนื่องจากขาดอาหารและอากาศ จอตาที่ตายแล้วจะไม่สามารถรักษาให้กลับมาดีดังเดิมได้และทำให้การรับภาพของ จอตาส่วนนั้นสูญเสียไปอย่างถาวร การไปพบแพทย์อย่างทันท่วงทีแพทย์จะรักษาโดยการฉีดก๊าซหรือของเหลวเข้าลูกตา เพื่อดันจอตาที่หลุดลอกให้กลับไปติดดังเดิมได้ ร่วมกับการใช้เลเซอร์เพื่อป้องกันจอตาหลุดลอกเพิ่มขึ้น
ตาไม่สู้แสง :
โดยสรุปแล้วข้อควรปฏิบัติสำหรับคนวัยนี้คือ
ตรวจสุขภาพร่างกายและสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอทุกปี
ถ้ามีโรคประจำตัว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เช่นการไปพบแพทย์ตามนัด การใช้ยา รวมถึงข้อควรปฏิบัติและข้อห้ามต่างๆ
ถ้ามีโรคประจำตัว ควรศึกษาถึงผลกระทบของโรคนั้นๆต่อระบบอื่นๆรวมถึงดวงตา และยาที่ใช้เพื่อรักษามีผลข้างเคียงอย่างไร
ถ้า มีสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาหรือร่างกาย อย่างนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์ โรคส่วนใหญ่จะรักษาได้ผลดีถ้าตรวจพบแต่เนิ่นๆ เมื่อไปพบแพทย์ ควรนำยาที่ใช้อยู่ทั้งหมดไปด้วยเสมอ และนำแว่นตาที่ใช้อยู่ไปด้วย
ดูแลสุขภาพร่างกาย กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างพอดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนเพียงพอ ไม่เครียดจนเกินไป

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘