สายตาช่วงอายุระหว่าง 39-55 ปี

สายตายาวสูงอายุ ถึงคราวเราแล้วหรือนี่?

ถ้าคุณมีอายุ 39 ปี ขึ้นไป คุณอาจรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็น สิ่งที่พบบ่อยที่สุดคือมีความลำบากมากขึ้นในการทำงานและการมองเห็นสิ่งของ ที่อยู่ระยะใกล้ซึ่งเป็นปัญหาที่สร้างความรำคาญ รบกวนการทำงาน นอกจากนี้อาจยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆที่เพิ่งจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นนาน แล้วแต่เพิ่งแสดงผลให้รู้

เมื่อ อายุเริ่มย่างเข้าเลขสี่ คนวัยนี้มักจะเริ่มพบกับประสบการณ์แปลกใหม่ที่ไม่ค่อยดีนักเกี่ยวกับการมอง เห็น เนื่องจากการมองเห็นสิ่งของที่อยู่ระยะใกล้เริ่มจะมีปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการอ่านหนังสือหรือทำงานคอมพิวเตอร์ อาการดังกล่าวเกิดจากความสามารถในการปรับโฟกัสของตาในระยะใกล้ลดลง Accommodation ซึ่ง อาการดังกล่าวมีการเรียกขานแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าจะรักษาน้ำใจผู้เป็นขนาดไหน เช่นเรียกว่าสายตายาว สายตาคนแก่ สายตายาวสูงอายุ สายตาผู้สูงอายุ สายตาผู้สูงวัย สายตาผู้ใหญ่ สายตาวัยรุ่น(ลายคราม)ฯลฯ ไม่ว่าจะมีการเรียกอย่างวิจิตรพิสดารอย่างไร ถ้าคำนั้นประกอบด้วยคำว่า สายตา(อาจมียาวหรือไม่ก็ได้) + คำที่แสดงถึงอายุที่มากเกินวัยเด็ก มันคืออาการเดียวกันคือ อาการสายตายาวสูงอายุ (Presbyopia)

ทำไม การเรียกขานจึงต้องมีการนำเอาอายุที่ไม่น่าจะมาตอกย้ำกัน มาเกี่ยวข้องด้วยเล่า แสดงว่าอาการนี้ต้องเกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่แท้ ถูกต้องแล้วครับ อาการนี้มีความเกี่ยวข้องกับอายุเต็มๆเลย เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นนอกจากจะทำให้ผมสีจางและบางลง รอบเอวเพิ่มขึ้น อาการปวดเมื่อยเหนื่อยหอบเมื่อขึ้นบันไดแล้ว ยังส่งผลต่อการมองเห็นด้วย โดยอายุที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ความสามารถในการเพ่ง(การปรับโฟกัสเพื่อดูระยะใกล้ Accommodation) ลดลง
อ่านเพิ่มเติม “รวมคำถาม การเพ่ง Accommodation”

การเพ่ง(ในความหมายทางสายตา) คือ การทำงานร่วมกันของดวงตาและสมองเพื่อให้สามารถมองสิ่งของที่อยู่ในระยะใกล้ ได้ชัดเจน มีประโยชน์คือทำให้เรามองสิ่งต่างๆที่อยู่ใกล้ตัวได้ชัดเจนขึ้น ดังนั้นถ้ากำลังการเพ่งของเราลดลง แสดงว่าความสมารถในการมองเห็นสิ่งของใกล้ๆตัวลดลงนั่นเอง

จริงๆ แล้วความสามารถในการเพ่งของเราไม่ได้เพิ่งมาน้อยลงตอนอายุย่างเข้าเลขสี่ ครับ มันลดลงมาตั้งนานแล้วโดยทีเราไม่รู้ตัว โดยความสามารถในการเพ่งของเราจะมีมากที่สุดในวัยทารกและลดลงเรื่อยๆตลอด ชีวิต ไม่เชื่อลองให้ลูก(หรือหลาน) ของ ท่านมองวัตถุที่ใกล้ที่สุดที่ยังเห็นได้ชัดอยู่ เด็กสิบขวบสายตาปกติจะมีกำลังการเพ่งสูงทำให้สามารถมองอ่านหนังสือได้แม้จะ อยู่ห่างจากดวงตาเพียง 8 เซนติเมตรเท่านั้น เมื่ออายุได้ 20ปีระยะยะใกล้สุดที่สามารถอ่านหนังสือได้อาจเพิ่มเป็น 12-15 เซนติเมตร จนกระทั่งเมื่ออายุได้ 40 ปี ระยะการอ่านหนังสือใกล้ที่สุดที่ยังชัดอยู่จะเพิ่มเป็น 40 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะมาตรฐานในการอ่านหนังสือ ดังนั้นถ้าท่านมีระยะอ่านหนังสือที่ถนัดอยู่ที่ 35 เซนติเมตร ท่านจะรู้สึกได้ถึงความไม่ชัดและรำคาณ ว่าทำไมไม่สามารถอ่านหนังสือได้ชัดเจนดังวันวาน และหนำซ้ำเมื่อยืดแขนออกถึงระยะ 40 เซนติเมตร กลับอ่านได้ชัดเจนดี

ผู้ ที่ยังไม่ประสบปัญหาการอ่านหนังสือตอนนี้อย่างเพิ่งดีใจและไปเยาะเย้ยเพื่อน ว่าแก่เร็วกว่าตนครับ ระยะการอ่านหนังสือของเราจะเพิ่มขึ้นอีกตามอายุจนกระทั่งอายุได้ 60 ปี ถึงเวลานั้นท่านอาจต้องยืดแขนออกไปที่ 1 เมตร หรือมากกว่านั้นจึงจะทำให้สามารถเห็นตัวหนังสือได้ชัดเจนได้ แต่ที่ระยะห่างขนาดนั้นแม้ว่าจะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแต่ตัวหนังสือจะมี ขนาดเล็กเกินกว่าที่จะอ่านได้ ดังนั้นไม่ว่าใครก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการลดลงของกำลังการเพ่งได้ครับ

อย่าง ไรก็ดี มีตัวช่วยบางอย่างที่อาจทำให้บางคนสามารถอ่านหนังสือและมองไกลได้โดยไม่ต้อง พึ่งแว่นตา ตัวช่วยเหล่านั้นคือ ภาวะสายตาโมโนวิชั่น(ใช้ตาด้านหนึ่งสำหรับมองไกล และอีกด้านมองใกล้) ขนาดรูม่านตาที่เล็ก
(ทำให้ Blur circle เล็กลง) และค่าสายตาเอียงเล็กน้อย(ทำให้เพิ่ม Depth of Focus ได้) สำหรับผู้ที่ไม่มีตัวช่วยดังที่กล่าวมา ในเบื้องต้นการเพิ่มแสงสว่างในการอ่านหนังสือก็สามารถช่วยให้อ่านหนังสือได้ชัดเจนขึ้นได้บ้าง(เนื่องจากแสงสว่างทำให้ความแตกต่างของพื้นกระดาษและตัวหนังสือชัดเจนขึ้น(Contrast) และช่วยให้รูม่านตาเล็กลงด้วยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน “รวมคำถาม การเพ่ง Accommodation”

เป็น ความโชคดีที่ในปัจจุบันมีตัวช่วยมากมายให้ผู้ที่มีสายตายาวสูงอายุได้มีการ มองเห็นที่ชัดเจนและสบายตาขึ้น ตั้งแต่การใช้แว่นตาอ่านหนังสือชั้นเดียว เลนส์แว่นตาสองชั้นที่เห็นได้ชัดเจนทั้งระยะใกล้และไกล เลนส์แว่นตาโปรเกรสซีฟที่ชัดเจนทั้งระยะใกล้ กลาง และไกลพร้อมทั้งความสวยงามเนื่องจากเลนส์ไร้รอยต่อ(ไม่มีใครสังเกตเห็นว่าเราแก่) หรือ คอนแทคเลนส์โมโนวิชั่น คอนแทคเลนส์สองระยะหรือหลายระยะ รวมไปถึงการผ่าตัด ฯลฯ อย่างไรก็ดี แต่ละตัวช่วยมีรายละเอียดปลีกย่อยและข้อจำกัด
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน “รวมคำถาม สายตายาว”



ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆของวัยนี้
ต้อกระจก เช่น เดียวกันกับอวัยวะส่วนอื่นๆภายในร่างกาย ดวงตาของเราก็มีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอยไปตามอายุที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน สำหรับในวัยนี้ นอกจากเลนส์ตาจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง (ทำให้ความสามารถในการเพ่งลดลง)แล้ว เลนส์จะมีความขุ่นเพิ่มขึ้นด้วย เราเรียกเลนส์ตาที่ขุ่นตัวว่า “ต้อกระจก” นั่นเอง ความขุ่นของเลนส์ตาจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆค่อยเป็นค่อยไปจนท่านไม่ทันได้สังเกต เห็น จนกระทั่งเมื่อเลนส์มีความขุ่นตัวมากท่านอาจรู้สึกว่ามองเห็นได้ไม่ชัดแม้ เปลี่ยนแว่นใหม่แล้วก็ตาม ความรู้สึกว่าเห็นไม่ชัดอาจแตกต่างกันไปแล้วแต่ละบุคคล บางคนสังเกตเห็นตั้งแต่อายุ 50 ปี แต่บางคนสังเกตเห็นตอนอายุ 70 ปี ก็มีเช่นกัน อาการของต้อกระจกอาจสังเกตได้ง่ายขณะขับรถตอนกลางคืน ถ้าเป็นต้อกระจก ในขณะที่ไฟหน้าของรถคันที่สวนมาฉายเข้าตา ท่านจะรู้สึกจ้าตาเนื่องจากแสงที่ผ่านเข้าตาเกิดการกระเจิงจากเลนส์ที่ขุ่น มัว แสงที่กระเจิงจะกระจายไปทั่วดวงตาทำให้รู้สึกว่าแสงจ้ากว่าปกติ

การมองเห็นสีแย่ลง เนื่องจากเลนส์ตาของคนวัยนี้จะเริ่มมีการเปลี่ยนสีทีละน้อย ทำให้การรับรู้สีแย่ลง ทำให้การแยกสีที่มีความใกล้เคียงกันทำได้ยากขึ้น

ตาแห้งขึ้นเนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงวัยหมดประจำเดือนแล้วจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไม่ยาก ผู้ที่ตาแห้งจะรู้สึกว่าเคืองตาเน่ืองจากน้ำตาช่วยหล่อลื่นให้การกระพริบตา มีความลื่น เป็นความจริงที่น้ำตามีความสำคัญอย่างมากกับสุขภาพตาที่ดีและการมองเห็นที่ ชัดเจน

ค่าสายตาอาจเปลี่ยนแปลงบ่อย โดยเฉพาะในช่วงอายุ 50 ถึง 60 ปี หลังจากนั้นค่าสายตามองระยะใกล้(ค่าแอดดิชั่น) จะมีแนวโน้มคงที่หรือเปลี่ยนแปลงน้อยลง

สุขภาพตา เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามของคนวัยนี้

นอก จากคนวัยนี้จะพบกับปัญหาสายตายาวสูงอายุกวนใจแล้ว ยังอาจมีปัญหาสุขภาพตามาซ้ำเติมได้อีกด้วย ดังนั้นแม้ว่าท่านจะเป็นผู้ที่ไม่มีปัญหาสายตา จะใช้แว่นตาหรือไม่ก็ตาม ก็ควรได้รับการตรวจสุขภาพตาเพื่อหาความผิดปกติจะได้ทำการแก้ไขอย่างทันท่วง ที โดยปกติแล้วแนะนำให้ตรวจตาอย่างละเอียดทุกๆ 2 ปี เพื่อค้นหาความผิดปกติ การตรวจคัดกรองทั่วไปหรือการตรวจสายตาตามร้านแว่นไม่ละเอียดพอที่จะบอกว่า ท่านเป็นโรคตาอะไรอยู่หรือไม่ ท่านควรได้รับการตรวจสุขภาพตาอย่างยิ่งถ้ามีอาการหรือเข้าข่ายดังนี้
  • โรคเรื้อรังบางโรคเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นต้อหินหรือจอตาเสื่อม
  • ทำงานที่ต้องใช้สายตามาก หรืองานที่มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของดวงตา
  • ภาวะบางอย่างเช่น โคเลสเตอรอลสูง ไทรอยด์ โรคขี้กังวลหรือซึมเศร้า โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันเช่นโรคกลุ่มรูมาตอยด์ ยาบางชนิดที่ท่านใช้เป็นประจำอาจมีผลต่อสุขภาพตาเช่น สเตียรอยด์ ยาลดน้ำมูก ยาแก้แพ้ต่างๆเป็นต้น
ใน วัยนี้ แนวโน้มของปัญหาสุขภาพตาและปัญหาสายตาจะมีเพิ่มขึ้น ดังนั้นท่านควรสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพบว่าท่านมีความผิดปกติเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยทันที ความผิดปกติดังกล่าวมีดังนี้
  • สายตาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่สายตาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือเดี๋ยวมัวเดี๋ยวชัด อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง โดยโรคทั้งสองอย่างนี้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุม ในระยะยาวอาจส่งผลเสียต่อจอตาจนถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ โรคเบาหวานขึ้นตาเป็นโรคที่ป้องกันได้ โดยถ้าท่านสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ใน ระดับที่แพทย์แนะนำ ดวงตาของท่านก็จะปลอดภัยและมองเห็นได้ดีไปอีกนาน อย่างไรก็ดี ถ้าเบาหวานได้ขึ้นตาแล้ว ท่านยิ่งต้องไปพบจักษุแพทย์เพื่อเฝ้าระวังและรักษาเนื่องจากเบาหวานขึ้นตา อาจทำให้ท่านตาบอดได้ และผู้ที่จะช่วยท่านไม่ให้ตาบอดได้คือจักษุแพทย์ (อ่านเพิ่มเติม “รวมคำถาม เบาหวานขึ้นตา” ได้ที่
  • เห็น Floater(หยากไย่ในตา)เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการดังกล่าวเป็นอาการเตือนว่าท่านอาจมีปัญหาจอตาหลุดลอก การเห็นหยากไย่ในตา(Floater) เพียงเล็กน้อยนั้นถือเป็นเรื่องปกติ หยากใย่ในตาเกิดจากน้ำวุ้นในลูกตาเสื่อม(Vitreous Degeneration) ซึ่ง น้ำวุ้นในลูกตาจะมีลักษณะคล้ายเยลลี่อยู่ในลูกตา การเสื่อมของน้ำวุ้นในลูกตาทำให้เกิดการรวมตัวกันของวุ้นเป็นก้อนหนา และหยากไย่ที่เราเห็นก็คือเงาของวุ้นที่ตกบนจอตานั่นเอง ลักษณะของ Floaterอาจเห็นเป็นจุด เป็นเส้นหรือรูปร่างอื่นๆ การมองไปยังฉากสว่างสีอ่อนเช่นท้องฟ้าหรือจอคอมพิวเตอร์สีขาว จะทำให้สังเกต Floater ง่ายขึ้น ท่านอาจสังเกตและนับจำนวน Floaterว่ามีอยู่มากเท่าไร การเห็น Floater อยู่ บ้างถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไร หยาก เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านควรไปพบจักษุแพทย์โดยทันทีเพราะนั่นคือสิ่งที่เตือนว่าอาจมีความผิด ปรกติเกิดขึ้นกับดวงตาของท่านแล้ว อ่านเพิ่มเติม “รวมคำถาม วุ้นในตาเสื่อม” ได้ที่
    อ่านเพิ่มเติมเวบนายแพทย์ยุทธนา http://dr.yutthana.com/retina.html
  • เห็นคล้ายฟ้าแลบ(Flashing) คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าท่านอาจมีปัญหาจอตาหลุดลอก การเห็นคล้ายฟ้าแลบเกิดจากการที่เซลล์ของจอตา(Photoreceptor) ถูกกระตุ้น และส่งสัญญาณไปยังสมอง เซลล์ในจอตาเป็นเซลล์รับรู้และส่งสัญญาณแสงดังนั้นเมื่อมันถูกกระตุ้นก็จะ ส่งสัญญาณไปยังสมองในรูปแสง สิ่งที่สมองรับรู้คือมีแสงโดยสมองจะไม่รับรู้ถึงความเจ็บปวดเนื่องจาก เซลล์รับแสงไม่ใช่เซลล์ที่สังสัญญาณความเจ็บปวด ดังนั้นถ้าท่านสังเกตเห็นลักษณะแสงสว่างคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชขณะถ่ายรูป ซึ่งในขณะนั้นไม่มีฟ้าแลบหรือคนถ่ายรูปอยู่จริง นั่นแสดงว่าท่านอาจมีปัญหาเกี่ยวกับจอตาหลุดลอก ถ้าฟ้าแลบเกิดขึ้นนานๆครั้งหนึ่งอาจเฝ้าดูอาการได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นบ่อยและเป็นเวลานาน เกิดขึ้นหลายครั้งต่อวัน ท่านควรไปพบจักษุแพทย์โดยด่วนเนื่องจากปัญหาจอตาฉีกขาดหรือหลุดลอกสามารถทำ ให้ท่านตาบอดได้ จักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านจอตา จะเป็นคนที่ให้ความช่วยเหลือท่านได้ดีที่สุด
  • สูญเสียลานสายตา ลานสายตาคือพื้นที่ทั้งหมดที่ตาแต่ละข้างมองเห็น โดยโรคตาบางโรคเช่นต้อหิน อาจทำให้เกิดการสูญเสียลานสายตาและตาบอดได้ในที่สุดถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ ถูกต้อง ต้อหินเป็นโรคอันดับต้นๆที่ทำให้คนตาบอดอย่างถาวรโดยต้อหินมักเกิดจากความ ดันลูกตาที่สูงผิดปกติทำให้เส้นประสาทตาเสียหาย การตรวจพบต้อหินแต่เนิ่นๆจักษุแพทย์สามารถทำการป้องกันการสูญเสียลานสายตา เพิ่มขึ้นได้ แต่ต้อหินส่วนใหญ่กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวเองว่าเป็นก็มักจะสูญเสียลานสายตาไป มากแล้วและลานสายตาที่เสียไปแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับมาดีดังเดิมได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการได้รับการตรวจคัดกรองโรคต้อหินอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยด้วยการวัดความดันลูกตาและการถ่ายภาพจอประสาทตาทุกๆปี(มีบริการฟรีแก่ลูกค้าหมอแว่น)
  • เห็นภาพบิดเบี้ยว ถ้าท่านเห็นภาพบิดเบี้ยวหรือเห็นเส้นตรงกลายเป็นเส้นที่คดงอหรือเส้นบางส่วนหายไปบริเวณศูนย์กลางการมองเห็น(ณ จุดที่ท่านมอง) นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคจอตาเสื่อม(Age-related Macular Degeneration, AMD) โรคนี้จะส่งผลต่อจอตาส่วนศูนย์กลางการมองเห็น(Macular) และ อาจทำให้ความสามารถในการมองเห็นสิ่งเล็กๆแย่ลงถ้าไม่ได้รับการรักษา การตรวจพบโรคแต่เนิ่นๆและการรักษาที่ถูกต้องจะช่วยให้ท่านรักษาสายตาให้อยู่ ในสภาพดีต่อไปได้อีกนาน
  • เห็นภาพซ้อน(Diplopia) คือ การเห็นวัตถุหนึ่งชิ้นเป็นสองภาพ เช่นเห็นเพื่อนมีสองหน้า เห็นปากกาด้ามเดียวเป็นสองด้าม การเห็นภาพซ้อนมีทั้งที่ไม่มีอันตรายและที่อันตรายร้ายแรง ที่ไม่อันตรายอาจเกิดจากความผิดปกติทางสายตาเช่นสายตาเอียงหรือสายตาสองข้าง ต่างกันมาก การเห็นภาพซ้อนที่ไม่มีอันตรายอีกอย่างคือการเห็นภาพซ้อนของวัตถุที่ไม่อยู่ ในระยะเดียวกันกับสิ่งที่มอง เช่นถ้ามองนิ้วของเราที่อยู่ห่างจากตา 30 เซนติเมตรและสังเกตแมวตัวหนึ่งที่อยู่ห่างจากเรา 4 เมตร เราจะเห็นแมวเป็นสองตัว อย่างไรก็ดีโรคที่มีความอันตรายหลายโรคก็ทำให้เห็นภาพซ้อนได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การได้รับอุบัติเหตุทำให้มีการกระทบกระเทือนทางสมองหรือดวงตา เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองแตกตีบหรือตัน ไซนัสอักเสบ ฯลฯ การที่โรคต่างๆเหล่านี้ทำให้เกิดการเห็นภาพซ้อนได้เนื่องจากโรคดังกล่าวทำ ให้เกิดทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อตาที่มีหน้าที่บังคับดวงตาทั้งสองข้างให้ มองไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นถ้าท่านเห็นภาพซ้อน ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาโดยเร็ว
  • ปวดตา น้ำตาไหล ตาแดง ตามัว อาการทั้งสี่อย่างดังกล่าวถ้าเกิดขึ้นพร้อมๆกันอาจเป็นอาการของต้อหินชนิดเฉียบพลัน ถ้าอาการดังกล่าวไม่ดีขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง ให้ท่านรีบไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน การปวดตาถ้าปวดมากอาจทำให้ให้ท่านอาเจียนได้ ปัญหานี้เป็นปัญหาเร่งด่วนและอาจทำให้ตาบอดได้ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘