ประวัติศาสตร์หุ้นไทยช่วงปี 2530

ประวัติศาสตร์มักจะมีโอกาสซ้ำรอยเสมอ การเรียนรู้จากประวัติศาสตร์จึงเป็นสิ่งที่น่าเรียนรู้ไม่เสื่อมคลาย
ผมพยายามศึกษาประวัติศาสตร์หุ้นไทย เพื่อมาเปรียบเทียบกับทางอเมริกา ซึ่งผมพบว่าหนังสือไทยส่วนมากจะออกแนววิชาการเกินไป แต่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมผ่านไปเจอร้านขายหนังสือเก่า และเจอหนังสือที่ตอบโจทย์ผมได้ส่วนหนึ่งโดยบังเอิญ
book
หนังสือเก่าหนึ่งในไม่กี่เล่มที่เป็นที่พึ่งพิงของชาวหุ้นในช่วงยุค 2530
เนื่องจากเป็นการรวบรวมบทความจากคอลัมภ์ถามตอบของคุณวีระ ธีรภัทร์ สมัยที่ทำงานเป็นหัวหน้าข่าวเศรษฐกิจที่เดลินิวส์ รวมถึงการสัมภาษณ์เซียนหลายคนในช่วงปี 2535 และอ้างอิงย้อนหลังไปถึงปี 2519 การอ่านหนังสือเล่มนี้ นอกจากผมทึ่งกับการเดินทางมาที่ไกลจากตลาดหลักทรัพย์ไทย ยังได้แง่คิดจากหนังสือเล่มนี้อีกมากมาย
ผมเกริ่นเป็นน้ำจิ้มก่อน จะเอามาเล่าแบบละเอียดสัปดาห์หน้า
1. ช่วงปีดังกล่าวเป็นช่วงที่เพิ่งมีการก่อตั้งกองทุนรวมขึ้น เพิ่งเริ่มมีพรบ.ตลาดหลักทรัพย์ฉบับ 2535 และการซื้อขายจากต่างประเทศยังมีไม่มากนัก
2. คำถามจากนักลงทุน (จริง ๆ ต้องเรียกว่านักเก็งกำไร) จะมีมาว่า
– ซื้อหุ้นแล้วขาดทุน ถ้าไม่ขายจะผิดกฎหมายหรือไม่
– เทคนิคการเล่นหุ้น อันนี้ผมต้องมาขยายความอีกที สนุกมาก ๆ
3. การซื้อและถือยาวมากในนิยามสมัยนั้นคือ 6 เดือนถึง 1 ปี เซียนหุ้น 100 ล้าน มีขนาดพอร์ตวิ่งอยู่ระหว่าง 1 – 100 ล้านหลายรอบในช่วง 5 ปี (ที่พอร์ตเปลี่ยนไปมา ไม่ได้แปลว่าถือเงินสดเพิ่มนะครับ :O)
4. เกิด IPO หุ้นการบินไทย สุดยอด Talk of the Town ประจำปี
5. หุ้น BLAND มี Market Capitalization ใหญ่ที่สุดใน SET คือ 120,000 ล้านบาท มี weight % ต่อ SET สูงเป็นสิบเปอร์เซนต์ ยิ่งใหญ่เทียบเท่าอาณาจักรปตท.ในปัจจุบัน (BLAND ณ พ.ย. 2552 มี Market Cap ไม่ถึงหมื่นล้าน)
6. ยุคที่อุตสาหกรรมสิ่งทอรุ่งเรือง ทำให้เห็นวัฎจักรของอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี
7. มีวิกฤตเกิดขึ้นหลายครั้งในช่วงนี้ ใครว่าวิกฤตนาน ๆ จะเกิดขึ้นที
มีอะไรสนุก ๆ ที่น่าคิดอีกมาก ผมขอค่อย ๆ เล่าแล้วกันครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘