รวบรวม25กฎของอาจารย์บุญชัย 06

6. Relative Clauses
ผมคิดว่าเป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดครับ เนื่องด้วยเราจะพบได้บ่อย และสังเกตง่าย
อีกทั้งยังเป็นตัวต่อไปยังเรื่อง Participial Construction ต่อไป

และในความเห็นส่วนตัวตอนที่เรียนรู้สึกถึงความสามารถในการจัดกลุ่มของ ดร.บุญชัยอย่างมาก
ทั้งยังมีความชัดเจนทั้งรูป และการใช้งานอย่างเด่นชัด หลังจากจบหัวข้อนี้แล้วจะเห็นได้ว่า
อาจารย์สามารถทำให้เรื่องยากซับซ้อนเป็นเรื่องง่าย อย่างง่ายดาย

นิยาม
Relative Clause คือ ประโยคที่มี Relative Pronoun ทำหน้าที่แทนนามด้านหน้า ซึ่งสามารถแทนได้
4 หน้าที่ คือ ประธาน กรรม แสดงความเป็นเจ้าของ (Possessive) และ กรรมที่อยู่หลังบุพบท(Object after Preposition)
มีความหมายว่า ที่,ซึ่ง,อัน 

Relative Pronoun ที่ใช้ได้แก่ who, which, that, whom, whose, where=in which เป็นต้น

เทคนิคการจำ
Relative Clauses แบ่งตามการใช้งานมี 2 กรณี คือ
   กรณีจำเป็นต้องใช้ หรือ Definite Relatives และ
   กรณีมีก็ได้ไม่มีก็ได้ หรือ Non-Defining Relatives


เทคนิคในการจำอาศัยหลักของตารางเชิง Matrix แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ รูป และ วิธีการใช้งาน

เทคนิคการจำรูป
รูปในที่นี้คือ รูปของ Relative Pronoun ที่จะนำมาใช้งาน
ให้จำเป็นตาราง ... แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยเป็นหน้าที่ของ Relative Pronoun และการแทนคำนามด้านหน้า

ว่าเป็น คน หรือสัตว์สิ่งของ
จะได้ตารางดังนี้

กรณีเป็น Definite Relatives
                                             คน                          สัตว์/สิ่งของ
Subject                             who/that                       which/that

Object                            (whom/that)                   (which/that)

Possessive                        whose+N                     N+of which+V
                                                                       of which+ประโยค

Object after Preposition   (whom/that)...prep      (which/that)...prep
                                        prep+whom                prep+which

หมายเหตุ
1. ตัว "/" = ใช้ได้ทั้งสองแบบ
เช่น who/that ---> สามารถใช้ได้ทั้ง who หรือ that
2. ในวงเล็บ = มีหรือไม่มีก็ได้


ข้อสังเกต
1. สำหรับ definite relatives นั้นกรณีทำหน้าที่เป็น object และ object after preposition
    สามารถละ relative pronoun ได้

ในการสังเกตว่ามีการละ relative pronoun นั้นดูง่าย ๆ ครับ

เมื่อเราอ่าน reading จะมีประธาน 2 ตัวต่อกัน เช่น
The car we have just bought cost 30,000 baht.
เวลาเราสังเกตจะเห็นได้ง่ายว่า มีประธานสองตัวต่อกัน แปลว่า ... รูปที่ละไว้คือ
The car which/that have just bought cost 30,000 baht.


2. ข้อสังเกต Relative pronoun
อันนี้สำหรับคนที่พื้นฐานอ่อนก็จะมีหลักการจำให้ง่าย ๆ แบบนี้ครับ
เราจะเห็นว่า Relative pronoun ของ สัตว์/สิ่งของจะอาศัย which และ that เป็นหลัก
ส่วนของคนต้องผันหน้าที่
    ---> โดยไล่จาก who (ประธาน)
    ---> whom (กรรม (จำจากเสียงทุ้มกว่าเพราะมี m=ม.))
    ---> whose (Possesive (จำง่าย ๆ ว่า who + se = prosessive)

ต่อมา ... คือรูปที่จำยากสุดคือ prossessive และ object after prep.
สำหรับ prossessive  อาจจะสับสนได้ง่าย โดยเฉพาะ N+of which+V กับ of which+ประโยค หลายคนจะชอบจำผิดเป็น N+of which+ประโยคครับ หลักการจำง่าย ๆ คือหลักตรรกะ prossessive เป็นส่วนขยายก็จะต้องมีคำนาม ... อยู่ด้านหลังหากมี N ด้านหน้า
ก็ต้องมี of เมื่อมี N ก็ต้องมี V หากไม่มี N ก็ใช้เป็นประโยคเต็มแทนครับ

object after prep. จะเหมือนกับ object ธรรมดาในรูปแรกให้ใช้ prep ต่อท้าย สำหรับอีกรูปให้นำ prep อยู่ข้างหน้าของ relative pronoun เลย
เวลาผมจำตอนเขียน ก็จะคิดว่า
เมื่อมี object after prep. ---> ตอนใช้งานก็จะสลับกัน เป็น prep อยู่หน้า whom หรือ which
ปล.ผมชอบให้ prep อยู่ข้างหน้ามากกว่า เพราะโอกาสที่ลืมใส่ prep ตอนท้ายประโยค

มันจะง่ายกว่าจับใส่ตั้งแต่ต้นเลย


กรณีเป็น Non-Defining Relatives

จะเหมือนกับ definite ralatives โดยให้ปรับรูปเป็นขั้นตอนขั้นตอน ดังนี้
1. ห้ามใช้ that ให้เอา that ออก
                                             คน                          สัตว์/สิ่งของ
Subject                                 who                            which

Object                                (whom)                        (which)

Possessive                        whose+N                     N+of which+V
                                                                       of which+ประโยค

Object after Preposition   (whom)...prep               (which)...prep
                                      prep+whom                    prep+which

2. ห้ามละ relative pronoun ที่เป็น object และ object after prep.
    โดยให้เอาวงเล็บออก ก็จะเป็นรูปของ Non-Defining Relatives
                                             คน                          สัตว์/สิ่งของ
Subject                                 who                            which

Object                                  whom                          which

Possessive                        whose+N                     N+of which+V
                                                                       of which+ประโยค

Object after Preposition     whom...prep                 which...prep
                                       prep+whom                  prep+which


เทคนิคการใช้งาน
ถึงแม้ว่า definite และ non-defining จะมีหน้าที่เหมือนกัน คือ Subject, Object, Possessive และ Object after Preposition
แต่มีข้อแตกต่างคือ ว่าเมื่อถึงใช้ Definite เมื่อไรใช้ Non-defining

1. Definite Relatives
ถ้าใช้งานหากในการเขียน หรือแต่งประโยค มีคำว่า ที่ ซึ่ง อัน ก็ให้ใส่ลงไปก็ให้ใช้ได้เลย
เพียงแต่ต้องพิจารณาหน้าที่ให้ถูกต้อง โครงสร้างของ ประโยค relative จะเป็น
S+relative pronoun+ประโยคที่เหลือของ relative pronoun+V+Object ของประธานตัวแรก
ยกเว้นของ possessive จะให้เติมต่อท้ายเลย

เช่น
กรณี Subject: People who/that eat a lot are often lazy.
กรณี Object:  The teacher (whom/that) I like was absent yesterday.
กรณี Possessive: That is the man whose son goes to my school.                         We are going to buy the house the roof of which is green.                                                                      of which the roof is green.                                                                      with the green roof. (กรณีที่เขียนแบบไม่เป็น relative clause)
กรณี Object after Preposition: The pen (which/that) I'm writing with is a cheap one.
                                                         with which I'm writing a cheap one.
                                           The man (whom/that) the book was written by is dead now.
                                                         by whom the book was written is dead now.

สรุปสำหรับ Definite Relatives จะไม่ยากเท่าไรนักเพียงแค่ให้ฝึกฝนในการเขียนนำ 2 รูปประโยคมาต่อสานกันให้เข้ารูป ...
หลักการทำ ให้พิจารณา 2 ประโยค ว่าเราต้องการใส่ ที่ ซึ่ง อัน ลงไป
ต่อมาให้พิจารณาหน้าของคำ โดยดูที่คำซ้ำ แล้วค่อยมารวมกันให้ถูกตำแหน่งและหน้าที่


2. Non-Defining Relatives

ลักษณะจะคล้ายคลึงกับของ Definite Relatives เพียงแต่จะหลักการที่ต้องจดจำ
ว่า ใช้ได้เฉพาะกรณี
1. ข้างหน้าเป็นชื่อเฉพาะ
2. นามตัวนั้นมี this, that, these, those นำหน้า
3. นามตัวนั้นมี my, your, his, her นำหน้า
4. ใช้แทน and+ประธาน
5. ใช้แทนทั้งประโยค
6. ใช้กับ Quantity word ---> โดยเป็นรูป Quantity word + of ---> whom หรือ which

ข้อสังเกต คนจะชอบจำผิดเป็น and+ประโยค ... ที่ถูกคือ and+ประธาน
โดยการใช้งานจำเป็นต้อง
1. ใส่ ,............, (comma) หน้าหลัง
2. ห้ามใช้ that
3. ห้ามละ relative pronoun ที่เป็น object และ object after preposition

ข้อควรจดจำ คือ หน้าที่หลักของ Non-Defining Relatives นั้นจะใช้เพียงแค่ส่วนขยาย
ให้มีสาระสำคัญครบถ้วน
เช่น
1. ข้างหน้าเป็นชื่อเฉพาะ
Charles Dickens, who lived in the ninetenth century, wrote novels.
Charles Dickens --> ชื่อเฉพาะ
, who lived in the ninetenth century, --> Non-Defining Relative Clause: Relative Pronoun ทำหน้าที่เป็นประธาน

2. นามตัวนั้นมี this, that, these, those นำหน้า
That old man with grey hair, who is sitting in the corner, is my uncle
That -->  มี this, that, these, those นำหน้า man
, who is sitting in the corner, Non-Defining Relative Clause: Relative Pronoun ทำหน้าที่เป็นประธาน

3. นามตัวนั้นมี my, your, his, her นำหน้า
My friend's uncle, who works at the Ministry of Foreign Affairs, has gone to America.
My --> มี my, your, his, her นำหน้านาม friend’s uncle
, who works at the Ministry of Foreign Affairs, --> Non-Defining Relative Clause: Relative Pronoun ทำหน้าที่เป็นประธาน

4. ใช้แทน and+ประธาน
The teacher praised his students and they were very pleased.
เขียนใหม่เป็น
The teacher praised his students, who were very pleased.
, who were very pleased. --> Non-Defining Relative Clause: Relative Pronoun ทำหน้าที่เป็นประธาน

5. ใช้แทนทั้งประโยค --> หาตัวอย่างไม่เจอ ถ้าผมเจอจะนำมาใส่ให้ทีหลังครับ

6. ใช้กับ Quantity word ---> โดยเป็นรูป Quantity word + of ---> whom หรือ which
There were twenty passengers in the bus and they were all injured.  ---> all = Quantity word
เขียนใหม่เป็น
There were twenty passengers in the bus, all of whom were injured.
, all of whom were injured.  --> Non-Defining Relative Clause: Relative Pronoun ทำหน้าที่เป็นกรรม

สรุป

เราจะเห็นว่าแม้ว่าในการใช้ Non-Defining Relatives นั้นจะมีได้เพียง 6 กรณีเท่านั้นที่ใช้งานได้
แต่ว่าในแต่ละกรณีก็สามารถแบ่งได้อีก 4 หน้าที่อีกทีหนึ่ง
เราจึงเห็นได้ว่ารูปแบบของ Relative Clause นั้นจะเป็น Cluster ลักษณะเชิง matrix
ซึ่งหากแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ จะแตกได้หลากกรณีมากในเบื้องต้นแบ่งได้เป็น
Definite Relatives --> 4 หน้าที่ x 2 คน หรือ สัตว์สิ่งของ = 8 กลุ่ม
Non-Defining Relatives --> 6 กรณี x 4 หน้าที่ x 2 คน หรือ สัตว์สิ่งของ = 48 กลุ่ม
รวมทั้งหมดคือ = 48+8 = 56 กลุ่ม ที่นำมาใช้พลิกแพลง ...

เรื่องต่อไป Participial Construction หัวข้อที่ 7 ผมจะทำการเสริมเพิ่มเติมจากคุณ funnal (FUNNAL) เล็กน้อย ...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘