ความฝัน 16 ประการของพระเจ้าปเสนทิโกศล ตอนที่ 3

ความเดิมจากตอนที่แล้ว... เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงฟังพระนางมัลลิกา กล่าวถึงพระบรมศาสดาเช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงตรัสสั้นๆว่า “เออ...จริงด้วย พี่ลืมพระบรมศาสดาไปได้อย่างไรกัน”-ว่าแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้เสด็จไปสู่พระวิหารของพระบรมศาสดา พร้อมด้วยพระนางมัลลิกาและเหล่าราชบุรุษทั้งหลาย ครั้นขบวนเสด็จของพระเจ้าปเสนทิโกศลได้ไปถึงพระวิหารแล้ว พระองค์ก็ได้กราบถวายบังคมพระบรมศาสดา และประทับนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
 
        จากนั้น พระบรมศาสดาทรงตรัสถามว่า “มหาบพิตร มหาบพิตรเสด็จมาหาเราเนื่องด้วยเหตุอันใด ทำไมดูราวกับว่ามหาบพิตรมีราชกิจอันเร่งด่วน”-เมื่อ พระบรมศาสดาทรงเปิดโอกาสเช่นนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงไม่รอช้า และรีบกราบทูลในทันทีว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อใกล้รุ่งของวันนี้ หม่อมฉันตกใจตื่นเพราะฝันเห็นถึงนิมิต 16-ประการ เมื่อนำนิมิตแห่งความฝันทั้งหมดไปเล่าให้พวกพราหมณ์ปุโรหิตฟัง พราหมณ์ทั้งหลายต่างก็บอกให้หม่อมฉันจัดพิธีบูชายัญด้วยวัตถุสิ่งของ ทุกอย่างและสัตว์ทุกชนิด ชนิดละสี่อย่าง และในขณะนี้...พวกพราหมณ์ก็กำลังจัดเตรียมสิ่งของและสถานที่ ในการทำพิธีบูชายัญให้แก่หม่อมฉันอยู่ พระเจ้าข้า”
 
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเล่าความฝัน 16 ประการ และการบูชายัญให้พระบรมศาสดาทรงทราบ
 
        ครั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบอกเหตุผลในการเสด็จเดินทางมาในครั้งนี้จบแล้ว พระองค์ก็ทรงกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาต่อในทันทีว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรงเป็นบุคคลผู้เลิศที่สุดในโลกและเทวโลก เพราะพระองค์ทรงรู้เหตุที่เป็นไปทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เหตุที่พระองค์ทรงไม่รู้ ไม่มีเลย ฉะนั้น...ขอพระองค์ทรงเมตตาทำนายความฝันทั้ง 16-ประการให้หม่อมฉันด้วยเถิด พระเจ้าข้า” 
 
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดา
 
        เมื่อ พระบรมศาสดาได้ฟังเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงตรัสด้วยอาการอันสงบเสงี่ยมสง่างามว่า “ขอถวายพระพร...มหาบพิตร ที่มหาบพิตรตรัสนั้นถูกต้องแล้ว ผู้อื่นที่จะรู้ผลของความฝันนี้ไม่มีเลย ฉะนั้น...เราจะทำนายฝันทั้ง 16-ประการให้แก่มหาบพิตร ขอมหาบพิตรทรงเล่าความฝันเหล่านั้นตามที่ทรงเห็นเถิด” 
 
(หมายเหตุ ที่พระบรมศาสดาทรงตรัสเช่นนี้ ไม่ใช่เพราะพระองค์ทรงมีความปรารถนาอยากที่จะยกตัวเองสูงกว่าผู้อื่นแต่ อย่างใด แต่ที่พระองค์ทรงตรัสไปเช่นนั้น ก็เพราะมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ ดังนั้น...เมื่อเป็นเรื่องจริง พระองค์จึงทรงตรัสไปตามนั้น) 
 
 พระบรมศาสดาเท่านั้นที่จะทำนายความฝัน ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลได้
 
        จากนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงเล่านิมิตแห่งความฝันประการแรก ให้พระบรมศาสดาฟังว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันฝันว่า...มีโคตัวผู้ที่มีสีเหมือนดอกอัญชันสี่ตัว กำลังวิ่งมาสู่ท้องพระลานหลวงจากทิศทั้งสี่ ราวกับมันจะพุ่งชนใส่กัน ในความฝันมหาชนต่างก็พากันมามุงดูโคที่กำลังจะชนกัน แต่โคก็ไม่ชนกันสักที ได้แต่ขู่คำรามแล้วก็ถอยกลับออกไป นิมิตแห่งความฝันนี้จะมีผลเป็นอย่างไรหรือ พระเจ้าข้า” 
 
ความฝันประการที่หนึ่งของพระเจ้าปเสนทิโกศล
 
        เมื่อ พระบรมศาสดาได้สดับตรับฟังนิมิตแห่งความฝันประการแรกของพระเจ้าปเสนทิโกศลจบ แล้ว พระองค์ก็ทรงพยากรณ์ความฝันว่า “มหาบพิตร ผลของความฝันนี้จะยังไม่เกิดขึ้นในสมัยของพระองค์และในยุคสมัยที่พระศาสนา ของเราเจริญรุ่งเรืองอยู่ แต่จะบังเกิดขึ้นในอนาคตกาล เมื่อโลกถึงยุคเสื่อม (หมายถึงในยุคที่มนุษย์เสื่อมจากศีลธรรม เห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด อีกทั้ง เป็นยุคที่พวกอลัชชีหรือภิกษุนอกรีตมีจำนวนมากกว่าภิกษุผู้เคร่งครัดในศีลและข้อวัตรปฏิบัติ)-ซึ่งอยู่ในรัชสมัยที่พระราชากำพร้า ผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมขึ้นครองราชย์ (ในอรรถกถาไม่ได้ระบุว่า...กำพร้าอะไร)-กุศลกรรมของผู้คนจะน้อยลง และอกุศลกรรมจะหนาแน่นขึ้น...
 
 ความฝันประการที่หนึ่งของพระเจ้าปเสนทิโกศล
 
        ในกาลที่โลกเสื่อมลงนี้เอง จะเกิดฝนแล้ง จนทำให้ข้าวกล้าเหี่ยวแห้งและผู้คนหาอาหารได้ยาก มหาเมฆจะตั้งขึ้นจากทิศทั้งสี่ปานประหนึ่งว่าฝนกำลังจะตก เมื่อผู้คนเห็นเช่นนั้น...พวกผู้หญิงจะรีบเก็บข้าวเปลือกที่กำลังผึ่งแดด ส่วนพวกผู้ชายก็จะพากันถือจอบถือตะกร้าออกไปก่อคันกั้นน้ำ ส่วนฟ้าก็จะร้องกระหึ่มเหมือนฝนจะตกแต่ก็ไม่ตก จนในที่สุด มหาเมฆก็จะลอยหายไป เหมือนดั่งโคที่มหาบพิตรฝันเห็นว่า...กำลังจะชนกันแต่ก็ไม่ชนกันสักที
 
 ความฝันประการที่หนึ่งของพระเจ้าปเสนทิโกศล
 
        ฉะนั้น ความฝันนี้จะไม่ทำให้เกิดภัยใดๆแก่มหาบพิตรอย่างแน่นอน เพราะนิมิตที่มหาบพิตรทรงฝันเห็นนั้น จะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยความที่พวกพราหมณ์ต้องการทรัพย์ของมหาบพิตร พวกพราหมณ์จึงได้ทำนายไปอย่างนั้น เชิญมหาบพิตรตรัสเล่าความฝันประการที่สองต่อไปเถิด”
 
พระบรมศาสดาทรงทำนายความฝันประการที่หนึ่ง ของพระเจ้าปเสนทิโกศล

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘